SME ค้าปลีกปรับตัวยังไง เมื่อความต้องการลูกค้าไร้ขีดจำกัด



TEXT  : กองบรรณาธิการ



    เห็นแนวโน้มมาพักใหญ่ๆ แล้วสำหรับเทรนด์ธุรกิจค้าปลีกโลก ที่เริ่มเห็นการทยอยปิดตัวของร้านค้าปลีกต่างๆ จากอิทธิพลของโลกออนไลน์ ล่าสุดบริษัท เอ็นไวโรเซล ประเทศไทย จำกัด ได้มีการเปิดเผยถึงเทรนด์ธุรกิจค้าปลีกปี 2560โดยระบุว่า ด้วยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค ในการจับจ่ายซื้อสินค้าและบริการที่ข้ามข้อจำกัด ทั้งในเรื่องของเวลา สถานที่ รูปแบบ และวิธีการซื้อ พูดง่ายๆ คือ ผู้บริโภคมีความต้องการแบบไร้ขีดจำกัด ที่เห็นได้ชัดในเวลานี้ มี 3 ลักษณะด้วยกัน 


     1.ผู้บริโภคไม่ได้ต้องการสินค้าที่อยู่บนชั้นวางเท่านั้น แต่อาจจะต้องการสินค้าที่ไม่มีในประเทศ (Consumer Demand is more globalization) 


    2.แทนที่จะเลือกซื้อสินค้าที่วางอยู่ในร้าน แต่กลับเลือกซื้อด้วยวิธีการคลิก ยกตัวอย่าง เสื้อผ้า แทนที่ลูกค้าจะเลือกซื้อเสื้อผ้าที่แขวนอยู่ในร้าน แต่กลับใช้การซื้อออนไลน์ เพื่อที่จะสามารถหาชุดที่เข้ากัน ทั้งเสื้อผ้า กระเป๋า และรองเท้าจากหลายๆ แหล่งได้ในเวลาเดียวกัน


    3.วันนี้ผู้บริโภคไม่ต้องรอเวลาเลิกงาน หรือห้างเปิด เพื่อที่ช้อปสินค้า หากดูจากผลการวิจัยจะพบว่า ชาวอเมริกัน 43 เปอร์เซ็นต์เลือกซื้อสินค้าบนเตียงนอน ขณะที่ 23 เปอร์เซ็นต์ เลือกบนโต๊ะทำงาน ดังนั้นเรื่องของสถานที่  (Location) อาจจะไม่ได้เป็นจุดแข็งของร้านค้าปลีกอีกต่อไป แต่ราคากลับเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้บริโภคแทน และเชื่อว่าพฤติกรรมดังกล่าวคนไทยเองก็เริ่มเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ


     จะเห็นได้ว่า จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภคยุคใหม่ โดยเฉพาะคนกลุ่มมิลเลเนียมที่วันนี้กำลังเติบโตและมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นทั่วโลก และกำลังเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพในการจับจ่ายที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ธุรกิจร้านค้าปลีกกดั่งเดิม ไม่สามารถที่จะตอบความต้องการของผู้บริโภคได้ 


     สำหรับแนวทางการปรับตัวของธุรกิจค้าปลีกนั้น จำเป็นต้องฉีกกรอบจาก shelf space เป็น air space คือ สามารถสั่งซื้อสินค้าแบบใด ที่ใดในโลกก็ได้ แต่ต้องยอมรับว่าปัจจุบันประเทศไทยยังไปไม่ถึงจุดที่เรียกว่า air space เต็มรูปแบบ ดังนั้นในมุมมองของเอ็นไวโรเซล แนะนำว่าสิ่งที่ผู้ประกอบการค้าปลีกต้องเร่งทำในเวลานี้ นั่นคือ การปรับตัวเข้าสู่รูปแบบการขายที่ผสมผสานระหว่างช่องทางออนไลน์และออฟไลน์เข้าด้วยกัน หรือ Omnichannel คือ ต้องไม่ยึดว่าจะขายอย่างไร ขายที่ไหน แต่ยึดว่าผู้บริโภคจะซื้อตอนไหน ซื้อที่ไหน ซื้อด้วยวิธีใดก็ได้ เพียงแต่ขอให้ซื้อเท่านั้น 

 
    ทั้งนี้ หากดูจากผลการวิจัยของสหรัฐอเมริกา บอกว่า การทำ Omnichannel ย่อมดีกว่าการไม่ทำอะไรเลยแน่นอน เพราะ 59 เปอร์เซ็นต์ของร้านค้าปลีกในสหรัฐอเมริกาบอกว่า Omnichannel ช่วยทำรายได้ให้ธุรกิจมากกว่า ที่สำคัญสามารถสร้างการมีส่วนร่วม (Engagement ) กับลูกค้าได้มากถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ร้านค้าปลีกที่ไม่ทำ Omnichannel สามารถสร้างการมีส่วนร่วมกับลูกค้าได้เพียง 33 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น 

 
     นับเป็นโจทย์สำคัญสำหรับผู้ประกอบการค้าปลีกของไทยเช่นกันที่ต้องคิดแล้วว่าจะผสานออฟไลน์กับออนไลน์ เพื่อสร้าง Omnichannel ที่มีศักยภาพได้อย่างไร และจะกลายเป็นทางรอดให้กับธุรกิจค้าปลีกในเวลานี้ด้วย ก่อนที่ธุรกิจค้าปลีกอาจจะกลายเป็น air space เต็มรูปแบบในอนาคตก็ได้


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

RECCOMMEND: MARKETING

วิกฤตสูงวัย เด็กเกิดใหม่น้อย กรณีศึกษาธุรกิจญี่ปุ่น ปรับตัวผลิตสินค้าผู้ใหญ่แทนสินค้าเด็ก

Oji Holdings ผู้ผลิตผ้าอ้อมในญี่ปุ่นประกาศยุติผลิตผ้าอ้อมเด็ก หันไปเพิ่มปริมาณการผลิตผ้าอ้อมผู้ใหญ่แทน สาเหตุมาจากอัตราการเกิดที่ลดลงและจำนวนประชากรสูงวัยของญี่ปุ่นที่เพิ่มสูงขึ้น

โอกาสโกอินเตอร์ของแบรนด์ไทย ทำงานกับนักธุรกิจระดับโลก งาน Gifts & Premium Fair ฮ่องกง

ฮ่องกงขึ้นชื่อว่าเป็นดินแดนที่มีการจัดงานแสดงสินค้าที่ยิ่งใหญ่ของโลกแห่งหนึ่ง และหนึ่งในนั้นคืองานแสดงสินค้าของขวัญและของพรีเมียมภายใต้ชื่อ Hong Kong Gifts & Premium Fair ซึ่งกำลังจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 27-30 เมษายน 2024