สำรวจธุรกิจครอบครัวแดนเอเชียอยากให้ลูกหลานสืบทอด

 

 
 
 
ดีลอยท์เผยผลสำรวจ ธุรกิจครอบครัวในเอเชียยังให้ความสำคัญกับการสืบทอดกิจการภายในครอบครัว แต่ยอมรับต้องพึ่งพาองค์ความรู้จากบุคคลภายนอกที่ไว้ใจได้เพื่ออุดช่องว่างกิจการ
 
ดีลอยท์ร่วมกับสถาบันธุรกิจครอบครัวแห่งมหาวิทยาลัยการจัดการของสิงคโปร์ (Business Family Institute, Singapore Management University) ได้ทำการสำรวจหา แนวทางของธุรกิจ ของครอบครัวในภูมิภาคเอเชียเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ในหัวข้อ Asian Business Families Succession – Going the Distance with the Next Generation (การสืบทอด ธุรกิจครอบครัวเอเชีย –สืบต่อความสำเร็จในรุ่นต่อไป) 
 
โดยการศึกษาเชิงเปรียบ เทียบครั้งนี้ดำเนินการระหว่าง เดือน สิงหาคมถึง ตุลาคม 2556 ครอบคลุมประเทศสำคัญๆทั่วเอเชีย ได้แก่ สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ไทย, ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม เป็นต้น
 
“เมื่อเปรียบเทียบกับกิจการครอบครัวในสหรัฐอเมริกาและในยุโรป กิจการครอบครัวในเอเชีย จัดว่ายังอยู่ในยุคเริ่มต้นเท่านั้น ข้อมูลหรือองค์ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจครอบครัวในเอเชียก็มีอยู่จำกัด ดังนั้น ผลการสำรวจครั้งนี้จึงมีคุณค่าและให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับธุรกิจครอบครัวในเอเชีย และยังเผยให้เห็น แง่มุมสำคัญที่ไม่เคยเปิดเผยมาก่อนรวมทั้งก่อให้เกิดการเรียนรู้ รวมถึง วิธีการในการพัฒนา ซึ่งจะช่วยให้ การสืบช่วงต่อธุรกิจประสบความสำเร็จต่อเนื่องยิ่งๆขึ้นไป” ผู้ช่วยศาสตราจารย์แอนนี โกะ รองอธิการบดี ฝ่ายพัฒนาธุรกิจและสื่อสารภายนอกองค์กรของ มหาวิทยาลัยการจัดการของสิงคโปร์  และผู้อำนวยการ ฝ่ายวิชาการของสถาบันธุรกิจครอบครัว แห่งมหาวิทยาลัยการจัดการของสิงคโปร์ กล่าว
 
ผลการสำรวจพบว่า 89% ของธุรกิจครอบครัวที่เป็นกลุ่มตัวอย่างลงความเห็นว่า การสืบทอดกิจการภายในครอบครัวมีความสำคัญ นอกจากนี้ 81% มั่นใจว่าคนรุ่นต่อไปมีความรู้ความสามารถที่จะสามารถสืบทอดกิจการต่อไปได้ และยังมีความเห็นตรงกันว่าอายุที่เหมาะสำหรับการเข้ามามีบทบาทในการบริหารธุรกิจครอบครัว คือในวัย 30 ถึง 40 ปี
 
เมื่อถามถึงเรื่องที่มีความสำคัญต่อกิจการในระยะสั้น (3-5ปี) กลุ่มตัวอย่างระบุว่า การขยายตลาดใหม่ (80%), เพิ่มไลน์สินค้าใหม่ (70%), เน้นเรื่องการวิจัยและพัฒนา (61%), ขณะเดียวกัน กว่าครึ่งหนึ่ง (51%) ยอมรับว่ามีแผนควบรวมกิจการในระยะยาว (5-10 ปี)  
 
ยิ่งไปกว่านั้นผลการวิจัยยังชี้ชัดว่าบรรดาเจ้าของกิจการในครอบครัวยอมรับว่า ที่ปรึกษาซึ่งเป็น บุคคลภายนอกที่ไว้ใจได้นั้น มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการทำให้การสืบทอดกิจการราบรื่นและประสบ ความสำเร็จ ตัวอย่างบทบาทของที่ปรึกษาที่ไว้ใจได้ คือกรณีที่สมาชิกในครอบครัวขาดความรู้ ความชำนาญในบางเรื่องที่ปรึกษาก็สามารถเติมเต็มให้ได้ บางครั้งช่วยลดหรือขจัดความขัดแย้ง ระหว่างสมาชิกในครอบครัว ตลอดจนช่วยผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในระบบบริหารกิจการ 
 
กลุ่มสำรวจส่วนใหญ่เห็นว่าการมีบุคคลภายนอกที่ไว้ใจได้มาดูแลการทำงานของสมาชิกครอบครัวรุ่นถัดไปที่มีตำแหน่งที่มีความสำคัญกับธุรกิจของครอบครัวนั้นเป็นประโยชน์อย่างมาก โดยการให้ความ เห็นหรือตัดสินใจแบบตรงไปตรงมาโดยไม่มีอารมณ์ความรู้สึกมาเกี่ยวข้อง การช่วยเหลือให้การสืบทอด กิจการเป็นไปอย่างราบรื่น และลด ความขัดแย้ง กล่าวโดยสรุปคือ 77% ของกลุ่มตัวอย่างระบุว่า เปิดกว้าง และยอมรับให้ บุคคลภายนอกเข้ามามีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดกิจการ    โดยสมาชิกครอบครัวรุ่น ถัดไป และบุคคลภายนอกที่ไว้ใจได้ควรมีส่วนร่วมในการพัฒนาแผนการสืบทอดกิจการ ที่ชัดเจน เพื่อทำให้ กระบวนการถ่ายทอดกิจการประสบความสำเร็จได้สะดวกและราบรื่นยิ่งขึ้น 
 
“ข้อมูลตรงนี้ย้ำชัดว่าเราตอบสนองความต้องการของธุรกิจในครอบครัวในแง่การปรับปรุงคุณ ภาพการดำเนินงาน ตลอดจนเสริมให้ธุรกิจของครอบครัวให้ยืนยาวและแข็งแกร่งต่อไปในอนาคต” ผู้ช่วย ศาสตราจารย์แอนนี  โกะ กล่าว 
 
“หลายปีที่ผ่านมา ดีลอยท์มีโอกาสร่วมงานกับกิจการในครอบครัวจำนวนมาก ซึ่งผล ประกอบการ มีคุณูปการต่อการขยายตัวและความเข้มแข็งของเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย ในส่วนของดีลอยท์เรา ไม่เพียงให้บริการด้านภาษีและการตรวจสอบบัญชีเท่านั้น แต่เรายังเข้าใจถึงอุปสรรคและเป้าหมาย ของธุรกิจ ครอบครัว กล่าวโดยสรุปคือ ดีลอยท์ดำเนินบทบาทของบุคคลภายนอก ที่กิจการภายในครอบครัว สามารถไว้วางใจได้นั่นเอง”  แทม ชี ชอง ก รรมการผู้จัดการของ บริการที่ปรึกษาทางการเงิน ดีลอยท์ เซาท์อีสต์เอเชีย กล่าว
 

RECCOMMEND: MARKETING

ย้อนตำนาน มาสคอตไทย ก่อน "น้องหมีเนย" มีแบรนด์ไหนทำมาร์เก็ตติ้งนี้บ้าง

หลายคนมี Brand Love ในใจ ที่ไม่ใช่แค่สินค้าต้องดี จนเรากลายเป็นลูกค้าประจำ ยังต้องมี Brand Characters ที่จะช่วยให้คนจดจำได้ อีกหนึ่งทางเลือกที่ถ้าอยากสร้างแบรนด์ให้ปัง

ขายสินค้าออร์แกนิกให้เป็นแมส จากแนวคิดแบรนด์ KING Organic

KING Organic ผู้ผลิตผัก ผลไม้ และสินค้าแปรรูปออร์แกนิก จ.สมุทรสาคร ได้คิดกลยุทธ์การทำธุรกิจที่เรียกว่า “Mass Premium” ขึ้นมา เพื่อทำของพรีเมียม ให้สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้กว้างขวางมากขึ้น ในราคาที่ใครๆ ก็สามารถจับต้องได้ มีวิธีการยังไง ไปดูกัน