​ส่องกลยุทธ์ suspened coffee ส่งผ่านน้ำใจไปกับกาแฟ




 

     หลายวันก่อนอาจบทความสั้นๆ ของ “สมจุ้ย เจตนาน่าสนุก” ซึ่งเป็นนามแฝงของพี่จุ้ย ศุ บุญเลี้ยง อดีตสมาชิกวงเฉลียงนั่นเอง พี่เขาเขียนถึงเรื่องที่ไปร้านกาแฟบ้านๆ ร้านหนึ่งในตำบลบางระกำ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนคนปฐมแล้วสะดุดกับตู้รับบริจาคขนาดใหญ่เหมือนตู้รับบริจาคตามวัด แต่ตู้นี้ตั้งวางอยู่บนเคาน์เตอร์ ข้างในกระจกใสมองเห็นเหรียญและธนบัตรจำนวนหนึ่ง ไม่ใช่ตู้บริจาคขององค์กรการกุศลใดๆ เข้าใจว่าเป็นของทางร้านเอง ด้านหน้าตู้มีกระดาษ A4 เขียนด้วยลายมือหวัดๆ “กองทุนเลี้ยงกาแฟเพื่อน.”  แปะไว้ แนวคิดก็คือคนที่ผ่านไปมา อยากจิบกาแฟแต่ด้วยเหตุขัดสนกลใดทำให้ไม่มีปัจจัยพอจะซื้ อกาแฟสักแก้ว ก็สามารถล้วงเอาเงินในตู้นั้นออกมาเติมคาเฟอีนให้ตัวเอง
               

     พออ่านบทความจบ สิ่งที่ลอยเข้ามาในหัวของผู้เขียนคือ นี่มันกลยุทธ์ suspened (หรือ pending) coffee ที่เคยเป็นกระแสตามคาเฟ่ต่างๆ ในต่างประเทศนี่นา กระแสที่ว่าเกิดขึ้นเมื่อสักสี่ซ้าห้าปีก่อน เหมือนจะเริ่มในอังกฤษหรือไอร์แลนด์นี่แหละแล้วลามไปทั่วยุโรป อเมริกาเหนือและเอเชีย จนถึงตอนนี้มีร้านกาแฟหลายพันแห่งทั่วโลกที่นำวัฒนธรรมนี้มาใช้
               

     ว่ากันว่า suspended coffee นี้มีมานานมากแล้ว บางข้อมูลก็ว่าเกิดขึ้นครั้งแรกที่เมืองเนเปิ้ลในประเทศอิตาลี ตั้งแต่ยุคสงครามโลกโน่นแน่ะ ต้นเหตุมาจากสภาพสังคมที่ขัดสนทำให้ผู้คนต้องการแบ่งปันกัน วัฒนธรรมนี้หายไปนานและเพิ่งกลับมาอยู่ในกระแสอีกครั้งประมาณปี 2012-2013 มาถึงยุคปัจจุบัน suspended coffee ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากเหตุผลด้านความรู้สึกและอารมณ์ เช่น วันไหนเป็นวันดี เป็นวันที่เพิ่งได้รับโชค มีข่าวมงคล กระทั่งแค่ปลอดโปร่งโล่งใจมีความสุข หรือมีความทุกข์ในใจก็จะสั่งกาแฟ 2 แก้ว แต่รับมาแค่แก้วเดียว อีกแก้วฝากไว้ก่อน เป็นกาแฟรอกินที่เก็บไว้ให้คนจรจัด คนยากไร้ คนที่ไม่สามารถจ่ายได้ได้รื่นรมย์กับรสชาติกาแฟ
               

    ตัวโครงการ suspended coffee มีหลักเดียวกันคือการแบ่งปันน้ำใจให้คนแปลกหน้าผ่านกาแฟ 1 แก้ว แต่วิธีการของแต่ละร้านอาจจะแตกต่าง เช่น หลายร้านขึ้นป้าย suspended coffee เป็นการแจ้งคนให้ (ลูกค้า) และคนที่รอรับน้ำใจทราบ จะได้แสดงความประสงค์ใช้บริการ บ้างก็ใช้วิธีแจกใบปลิวให้รู้ว่าที่ร้านมีบริการกาแฟรอกิน และบางร้านแปรเงินค่ากาแฟที่ลูกค้าจ่ายเกินเป็นบัตรแลกกาแฟฟรี แล้วนำบัตรนั้นไปฝากองค์กรการกุศลหรือหน่วยงานสังคมสงเคราะห์ให้ช่วยแจกคนที่ต้องการ เป็นต้น
               

     การส่งน้ำใจให้คนในสังคมในรูปแบบ suspended coffee ได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจอื่น ๆ ด้วย อาทิ ร้านอาหาร และร้านพิซซ่าหลายแห่ง แม้กระทั่งโรงละคนก็ยังมี เช่นที่โรงละคร Teatro delle Muse ในกรุงโรม เมื่อครั้งที่จัดการแสดงละครตลกเรื่อง You are not Napolitans เป็นเวลาครึ่งเดือนก็เชิญชวนผู้ชมให้ซื้อตั๋วเผื่อคนที่ไม่มีค่าตั๋วจุดประสงค์เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการชมละครมากขึ้น   
               

     suspended coffee นอกจากเป็นกลยุทธ์ที่บรรดาร้านกาแฟนำมาใช้เพื่อเพิ่มยอดขายแล้วยังสร้างอารมณ์ feel good ให้กับลูกค้าอีกด้วย เพราะการจ่ายเงินค่ากาแฟเผื่อคนอื่นที่ไม่รู้ว่าเป็นใคร ไม่เพียงเป็นการแสดงน้ำจิตน้ำใจ ได้ทำดีในสังคม ถ้าเป็นชาวพุทธกรให้โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนยังเสมือนได้ทำทานเล็ก ๆ
               

     แต่กลยุทธ์นี้เวิร์กจริงหรือ ในไทยมีร้านกาแฟที่ทำโครงการ suspended coffee มากน้อยแค่ไหนไม่แน่ใจ แต่ในต่างประเทศ ปัญหาหนึ่งที่ประสบคือมีคนให้มากกว่าคนรับ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะคนยากไร้บางคนอาย ไม่กล้าเข้ามาถามที่ร้าน แต่หนึ่งมาจากการประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง กลุ่มเป้าหมายที่เป็นคนรับจึงไม่รู้มากกว่า จนเจ้าของร้าน ค่ากาแฟที่ลูกค้าจ่ายเผื่อคนอื่นสะสมพอกพูนมากต้องออกปล่าวประกาศให้คนไร้ทรัพย์มารับกาแฟฟรีกันบ้างก็มี ถามว่าโครงการนี้ดีหรือไม่ เชื่อว่าไม่เลวร้ายอะไรเพราะทางร้านไม่เสียอะไร แถมยังได้ยอดขายเพิ่ม ภาพลักษณ์ของร้านก็ดูดีด้วย ส่วนลูกค้า หากการสั่งค่ากาแฟเพิ่มอีก 1 แก้วไม่สร้างความเดือดร้อนเงินในกระเป๋า แลกกับความรู้สึกอิ่มใจ ก็คงคุ้มแหละ
  
 
 
ที่มา : http://blog.etundra.com/tundra-restaurant-supply/suspended-coffee-dream-big-start-small/
www.bbc.com/news/blogs-news-from-elsewhere-38968616
 


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

RECCOMMEND: MARKETING

วิกฤตสูงวัย เด็กเกิดใหม่น้อย กรณีศึกษาธุรกิจญี่ปุ่น ปรับตัวผลิตสินค้าผู้ใหญ่แทนสินค้าเด็ก

Oji Holdings ผู้ผลิตผ้าอ้อมในญี่ปุ่นประกาศยุติผลิตผ้าอ้อมเด็ก หันไปเพิ่มปริมาณการผลิตผ้าอ้อมผู้ใหญ่แทน สาเหตุมาจากอัตราการเกิดที่ลดลงและจำนวนประชากรสูงวัยของญี่ปุ่นที่เพิ่มสูงขึ้น

โอกาสโกอินเตอร์ของแบรนด์ไทย ทำงานกับนักธุรกิจระดับโลก งาน Gifts & Premium Fair ฮ่องกง

ฮ่องกงขึ้นชื่อว่าเป็นดินแดนที่มีการจัดงานแสดงสินค้าที่ยิ่งใหญ่ของโลกแห่งหนึ่ง และหนึ่งในนั้นคืองานแสดงสินค้าของขวัญและของพรีเมียมภายใต้ชื่อ Hong Kong Gifts & Premium Fair ซึ่งกำลังจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 27-30 เมษายน 2024