ยักษ์โซเชียลมีเดียลงสนามอีคอมเมิร์ซเอเชีย

 


เรื่อง : นเรศ เหล่าพรรณราย

   ผลจากตลาดอีคอมเมิร์ซในเอเชียที่ขยายตัวรวดเร็วส่งผลให้ผู้เล่นในตลาดโซเชียลมีเดียรายใหญ่อย่าง เนเวอร์ไลน์รวมถึงทวิตเตอร์ ได้ให้ความสำคัญกับการเข้าสู่ตลาดซื้อขายสินค้าออนไลน์อย่างจริงจัง

    ยูบีเอส สถาบันการเงินระดับโลกได้ทำการสำรวจอัตราการเติบโตของธุรกิจอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคอาเซียนพบว่ามีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ประเมินว่าอาเซียนน่าจะมีจำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เนตกว่า 199 ล้านราย  คาดการณ์ว่ามูลค่าธุรกิจค้าขายออนไลน์ในอาเซียนน่าจะมีมูลค่าแตะ 20,000 ล้านดอลลาร์ภายในสามปีข้างหน้า ตัวเลขดังกล่าวนี้ทำให้การแข่งขันในธุรกิจอีคอมเมิร์ซในภูมิภาคนี้มีการแข่งขันอย่างดุเดือดโดยเฉพาะการเข้ามาของ ไลน์ แอพลิเคชั่นแชทชื่อดังที่หันเหเข้ามาลงทุนในธุรกิจนี้ด้วย

    นอกจากนี้ ยังมีตัวเลขสถิติจากยูบีเอสว่าสัดส่วนการซื้อสินค้าออนไลน์ของชาวอาเซียนยังมีตัวเลขอยู่ที่ 0.2% ของยอดค้าปลีกทั้งหมดเท่านั้น คาดการณ์ว่าตัวเลขดังกล่าวน่าจะเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 5% ได้ในอนาคต ทั้งนี้ประเทศที่มีอัตราการเติบโตของอีคอมเมิร์ซมากที่สุดคือประเทศจีนซึ่งมีสัดส่วนซื้อสินค้าออนไลน์อยู่ที่ 8% ของยอดค้าปลีก ปัจจัยสนับสนุนมาจากการเข้าถึงอินเทอร์เนตของชาวเอเชียและอาเซียนที่เติบโตรวดเร็ว

    อย่างไรก็ตามปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้อีคอมเมิร์ซในเอเชียไม่เติบโตเท่าที่ควรคือเรื่องของระบบการขนส่งที่ยังไม่ได้มาตราฐานและข้อจำกัดเรื่องของการทำธุรกรรมทางการเงิน แต่คาดว่าปัญหาดังกล่าวน่าจะได้รับแก้ไขให้ดีขึ้นในอนาคตได้

    ขณะที่ตัวเลขจาก Global WebIndex ซึ่งสำรวจผู้ใช้งานอินเทอร์เนตในเดือนพฤษภาคมปี 2557 พบว่ากว่า 2ใน3 ยอมรับว่าเคยสั่งซื้อสินค้าทางอินเทอร์เนต โดยเป็นคนเอเชียที่มีสัดส่วนสูงที่สุดถึงกว่า 70% ซึ่งสูงกว่าประชากรในทวีปอเมริกา สาเหตุที่อีคอมเมิร์ซเติบโตมาจากความเร็วของอินเทอร์เนตที่สูงขึ้น อุปกรณ์ไอทีที่มีราคาถูกลงรวมถึงผู้ประกอบการได้ออกแบบให้ใช้งานได้ง่ายเป็นแรงจูงใจให้ซื้อของอออนไลน์

    ผลจากการที่อีคอมเมิร์ซกำลังขยายตัวส่งผลให้ผู้เล่นในตลาดโซเชียลมีเดียซึ่งมีฐานผู้ใช้งานหลักร้อยล้านรายขึ้นไปมองเห็นโอกาสดังกล่าวและได้กระโดดเข้ามายังสนามแห่งนี้ โดยมีข่าวลือว่าทวิตเตอร์ได้ทดสอบฟังชั่น Buy Now อย่างลับๆ โดยปรากฎปุ่มดังกล่าวบนไทม์ไลน์ในช่วงสั้นๆ ทำให้คาดการณ์ได้ว่าทวิตเตอร์กำลังเข้ามาเล่นในตลาดอีคอมเมิร์ซอย่างจริงจังในอนาคต

    ขณะเดียวกัน Pinterest ซึ่งเป็นสื่อสังคมออนไลน์ที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานติดตามเรื่องราวที่ตนสนใจในรูปแบบของรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อผ้า  แฟชั่น ฯลฯ ได้เพิ่มฟังชั่น Follow ขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถติดตามแบรนด์ที่ตนเองชื่นชอบได้โดยตรงและนำไปสู่การสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ได้ทันที

    สำหรับ เนเวอร์ไลน์ ซึ่งเป็นแอพลิเคชั่นแชทที่มีการเติบโตรวดเร็วโดยเฉพาในเอเชียซึ่งได้เปิดตัว Line Shop ขึ้นตั้งแต่ปีที่แล้วในต่างประเทศก่อนที่จะเริ่มทดลองให้บริการในประเทศไทยเมื่อปลายปีที่แล้วและมีการสั่งซื้อสินค้าจริงขึ้นแล้วซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

    แม้ว่าตอนนี้จะยังไม่เห็นความคืบหน้าว่าจะมีผู้ประกอบการรายใดที่เข้ามาร่วมธุรกิจอีคอมเมิร์ซกับไลน์ แต่จากการที่มีฐานลูกค้าองค์กรที่ใช้บริการสติ๊กเกอร์ไลน์ในประเทศไทยกว่า 250 รายโดยเฉพาะแบรนด์ขนาดใหญ่ ถ้าหากองค์กรเล่านี้จะหันมาเปิดบริการซื้อสินค้าผ่านไลน์ในอนาคตน่าจะมีส่วนทำให้ตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยเติบโตและแข่งขันอย่างดุเดือดมากขึ้นแน่นอน ปัจจุบันเริ่มเกิดกระแสในวงการอีคอมเมิร์ซประเทศไทยแล้วว่าการมาของ Line Shop ทำให้ผู้เล่นรายเดิมต้องหวั่นไหว เนื่องจากฐานผู้ใช้งานไลน์ในประเทศไทยกว่า 20 ล้านรายถือว่าไม่น้อยเลยทีเดียว

    กล่าวได้ว่าในอนาคตอันใกล้ตลาดอีคอมเมิร์ซในเอเชีย อาเซียน รวมถึงไทยจะมีความคึกคักมากขึ้นอย่างแน่นอนจากากรที่ผู้เล่นรายใหญ่ที่มีฐานผู้ใช้จำนวนมากลงมาจับตลาดด้วยตัวเอง

Create by smethailandclub.com

 

RECCOMMEND: MARKETING

ย้อนตำนาน มาสคอตไทย ก่อน "น้องหมีเนย" มีแบรนด์ไหนทำมาร์เก็ตติ้งนี้บ้าง

หลายคนมี Brand Love ในใจ ที่ไม่ใช่แค่สินค้าต้องดี จนเรากลายเป็นลูกค้าประจำ ยังต้องมี Brand Characters ที่จะช่วยให้คนจดจำได้ อีกหนึ่งทางเลือกที่ถ้าอยากสร้างแบรนด์ให้ปัง

ขายสินค้าออร์แกนิกให้เป็นแมส จากแนวคิดแบรนด์ KING Organic

KING Organic ผู้ผลิตผัก ผลไม้ และสินค้าแปรรูปออร์แกนิก จ.สมุทรสาคร ได้คิดกลยุทธ์การทำธุรกิจที่เรียกว่า “Mass Premium” ขึ้นมา เพื่อทำของพรีเมียม ให้สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้กว้างขวางมากขึ้น ในราคาที่ใครๆ ก็สามารถจับต้องได้ มีวิธีการยังไง ไปดูกัน