ผักและผลไม้แปรรูป…โอกาส SMEs ตีตลาดสุขภาพ




เรื่อง : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

     จากความต้องการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในกลุ่มผู้บริโภคสูงอายุและผู้บริโภคยุคใหม่ที่หันมาใส่ใจกับสุขภาพมากขึ้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ตลาดสินค้าผักและผลไม้แปรรูปมีแนวโน้มเติบโตสูง เนื่องจากเป็นสินค้าเกาะกระแสรักสุขภาพของผู้บริโภคทุกกลุ่มได้เป็นอย่างดี

     ซึ่งที่ผ่านมา ผู้ประกอบการก็ได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผักและผลไม้ที่หลากหลายและสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคได้ รวมทั้งมีช่องทางการจำหน่ายที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงสินค้าได้ง่ายกว่าแต่ก่อน และส่งผลให้ผู้บริโภคเปิดรับผักและผลไม้แปรรูปในฐานะขนมขบเคี้ยวเพื่อสุขภาพกันมากขึ้น ซึ่งนับเป็นโอกาสของผู้ประกอบการ SMEs ที่จะเข้ามามีส่วนแบ่งในตลาดผักและผลไม้แปรรูปที่มีศักยภาพในการเติบโตสูงนี้ โดยอาศัยความได้เปรียบของไทยที่เป็นแหล่งวัตถุดิบผักและผลไม้หลายชนิดตลอดทั้งปี สามารถนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดได้อย่างหลากหลาย



    เมื่อวิเคราะห์ถึงการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการและสภาวะการแข่งขันของในปัจจุบัน ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า สินค้าที่น่าสนใจและยังมีช่องว่างให้ผู้ประกอบการ SMEs เข้ามาเติมเต็มและต่อยอดธุรกิจได้คือ ขนมขบเคี้ยวเพื่อสุขภาพจากผักและผลไม้ โดยมีจุดเด่นคือเป็นขนมขบเคี้ยวแบบไทยๆ ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ผู้บริโภคสามารถทานได้ทุกที่ทุกเวลา น่าจะตอบโจทย์ผู้บริโภคกลุ่มคนรักสุขภาพได้ดีทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ

  อีกทั้งเป็นสินค้าที่สามารถพัฒนาได้หลากหลาย มีมูลค่าสูง กรรมวิธีการผลิตหรือเทคโนโลยีที่ใช้สามารถยืดหยุ่นได้ตามความพร้อมด้านเงินทุนของผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งผู้ประกอบการก็จำเป็นต้องพิจารณาสภาวะการแข่งขันในตลาดด้วยเช่นกัน 
 


    สำหรับแนวทางการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จของผู้ประกอบการ SMEs คือ การใช้กลยุทธ์การสร้างความแตกต่างของสินค้าให้มีความโดดเด่นจากคู่แข่งและสร้างตราสินค้าของตนเอง การมุ่งผลิตสินค้าเพื่อตอบโจทย์กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย โดยศึกษาความต้องการของผู้บริโภคอยู่เสมอและหาวิธีสื่อสารทางการตลาดให้ผู้บริโภครับรู้ถึงจุดเด่นของสินค้า 
    
    อีกทั้ง การยกระดับมาตรฐานการผลิตด้านคุณภาพและความปลอดภัยในทุกขั้นตอนการผลิตเพื่อการตรวจสอบย้อนกลับได้ทั้งสายการผลิต ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า และทำให้มีโอกาสขยายช่องทางการจำหน่าย การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ดึงดูดใจผู้บริโภคในยุคปัจจุบันและมีความหลากหลาย ตลอดจนการสร้างเครือข่ายธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยไม่พึ่งพาแหล่งวัตถุดิบและแหล่งกระจายสินค้าน้อยราย และการบริหารจัดการวัตถุดิบเพื่อให้สามารถผลิตสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ได้รับผลกระทบจากปัจจัยด้านฤดูกาล 
 

    นอกจากนี้ ผู้ประกอบการรายใหม่อาจตระเวนออกบูธตามงานแสดงสินค้า เพื่อทำให้สินค้าเป็นที่รู้จักและหาลูกค้าใหม่ๆ รวมทั้งขยายช่องทางการจำหน่ายไปในช่องทางค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade) ค้าปลีกออนไลน์ (E-Commerce) และช่องทางที่มีศักยภาพอื่นๆ อาทิ ร้านขายของฝากตามแหล่งท่องเที่ยว ร้านอาหาร ร้านค้าในสถานีบริการน้ำมัน สนามบิน โรงพยาบาล สถานที่ออกกำลังกายหรือฟิสเนต เป็นต้น 


RECCOMMEND: MARKETING

ย้อนตำนาน มาสคอตไทย ก่อน "น้องหมีเนย" มีแบรนด์ไหนทำมาร์เก็ตติ้งนี้บ้าง

หลายคนมี Brand Love ในใจ ที่ไม่ใช่แค่สินค้าต้องดี จนเรากลายเป็นลูกค้าประจำ ยังต้องมี Brand Characters ที่จะช่วยให้คนจดจำได้ อีกหนึ่งทางเลือกที่ถ้าอยากสร้างแบรนด์ให้ปัง

ขายสินค้าออร์แกนิกให้เป็นแมส จากแนวคิดแบรนด์ KING Organic

KING Organic ผู้ผลิตผัก ผลไม้ และสินค้าแปรรูปออร์แกนิก จ.สมุทรสาคร ได้คิดกลยุทธ์การทำธุรกิจที่เรียกว่า “Mass Premium” ขึ้นมา เพื่อทำของพรีเมียม ให้สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้กว้างขวางมากขึ้น ในราคาที่ใครๆ ก็สามารถจับต้องได้ มีวิธีการยังไง ไปดูกัน