​เขตเศรษฐกิจพิเศษ ความหวังของเศรษฐกิจภูมิภาค





    ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ชี้ความสำเร็จของการจัดตั้ง SEZ อยู่ที่ความสามารถดึงดูดการลงทุนภาคเอกชน แนะรัฐให้ความสำคัญกับการให้สิทธิประโยชน์แก่เอกชนและการบริหารจัดการ SEZ อย่างมีประสิทธิภาพ

    “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” (Special Economic Zone หรือ SEZ) เป็นนโยบายของรัฐบาลที่ได้รับการกล่าวถึงจากนักธุรกิจจำนวนมากและถูกคาดหวังว่าจะเป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภูมิภาค หลังจากราคาสินค้าเกษตรส่วนใหญ่อยู่ในช่วงขาลง เพราะจะเกิดการลงทุนใหม่ๆ กระจายรายได้สู่พื้นที่แต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐเพื่อรองรับธุรกิจใน SEZ

    รัฐบาลตั้งเป้าหมายจะจัดตั้ง SEZ ระหว่างปี 2558-2559 ในพื้นที่บางส่วนของ 5 จังหวัดชายแดน คือ สงขลา ตาก มุกดาหาร สระแก้ว ตราด ครอบคลุมพื้นที่กว่า 1.8 ล้านไร่ โดยจัดสรรงบประมาณสำหรับพัฒนาระบบคมนาคม ศุลกากรและด่านชายแดน นิคมอุตสาหกรรมและสาธารณูปโภค รวมประมาณ 10,443 ล้านบาท โดยจังหวัดที่ได้รับงบประมาณมากที่สุดคือ จังหวัดตาก จำนวน 3,695 ล้านบาท งบประมาณดังกล่าวถือเป็นเงินลงทุนที่ไม่สูงนัก กระจายลงทุนใน 5 จังหวัด และลงทุนยาวถึง 2 ปี จึงช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภูมิภาคได้ไม่มากนัก 

    เม็ดเงินลงทุนที่น่าสนใจมากกว่าเงินลงทุนของรัฐ คือการลงทุนของภาคเอกชนที่จะเกิดขึ้นหลัง SEZ เกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรมและมีข้อกำหนดต่างๆ ที่ชัดเจน ภาครัฐดึงดูดเม็ดเงินลงทุนภาคเอกชนผ่านการให้สุทธิประโยชน์โดยบีโอไอ ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่เอกชนที่ลงทุนใหม่ใน SEZ เช่น ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด ไม่เกิน 8 ปี สิทธิประโยชน์อื่นๆ การยกเว้นอากรขาเข้า และการใช้แรงงานต่างด้าว 

    หากเอกชนไม่ได้รับการส่งเสริมจากบีโอไอ ยังขอรับผลประโยชน์อื่นได้ เช่น รัฐลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 20 เหลือร้อยละ 10 จำนวน 10 รอบบัญชี และ เงินกู้ดอกเบี้ยผ่อนปรน รายละ 1-20 ล้านบาท ซึ่งผลประโยชน์เหล่านี้เพื่อจูงใจให้ภาคเอกชนเข้ามาลงทุนใน SEZ ทั้ง 5 แห่ง จึงคาดว่านอกจากกิจการเป้าหมายที่จะลงทุนใน SEZ แล้ว กิจการที่เกี่ยวเนื่องและเป็นกิจการต้นน้ำหรือปลายน้ำจะมีการลงทุนใน SEZ หรือพื้นที่ใกล้เคียงด้วยเช่นกัน เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายการผลิตให้ครบถ้วน





    TMB Analytics มองว่า ช่วงก่อนมีการประกาศจัดตั้ง SEZ อย่างเป็นทางการ ภาคเอกชนก็เริ่มมีการลงทุนกันบ้างแล้ว โดยเอกชนกลุ่มนี้ไม่ได้ให้ความสำคัญกับพื้นที่หรือสิทธิประโยชน์ของ SEZ แต่กลับมองเห็นพื้นที่บริเวณชายแดนเป็นจุดยุทธศาสตร์ใหม่ทางธุรกิจ โดยมุ่งเน้นกำลังซื้อของคนในพื้นที่และของประชาชนในประเทศเพื่อนบ้าน และการท่องเที่ยวข้ามพรมแดนเป็นหลัก 

    เช่น กลุ่มธุรกิจ ค้าปลีก ค้าส่งสินค้าอุปโภคบริโภค ห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงพยาบาล เป็นต้น ขณะที่ระหว่างปี 2558-2559 ซึ่งมีการลงทุนของภาครัฐเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับ SEZ กลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างและธุรกิจสนับสนุนจะเป็นกลุ่มหลักได้รับผลบวก และหากการจัดตั้ง SEZ บรรลุตามแผนที่กำหนดไว้ ธุรกิจที่ได้ประโยชน์คือ ธุรกิจที่รัฐได้กำหนดให้เป็นธุรกิจเป้าหมายในแต่ละ SEZ จะมีการลงทุนและขอรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ อย่างไรก็ตาม เรามองว่าธุรกิจกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ค้าปลีก-ค้าส่งวัสดุก่อสร้าง บริการขนส่งและโลจิสติกส์ จะได้รับประโยชน์มากที่สุดจากการเกิดขึ้นของนโยบาย SEZ

    ดังนั้น ความสำเร็จของ SEZ ในการเป็นเครื่องยนต์กระตุ้นเศรษฐกิจภูมิภาค มิใชเม็ดเงินลงทุนภาครัฐ แต่อยู่ที่ภาคเอกชนจะสนใจลงทุนใน SEZ มากน้อยเพียงใดมากกกว่า 

     ดังนั้น รัฐจึงควรมุ่งเน้นการให้ความสำคัญกับการดึงดูดเม็ดเงินลงทุนภาคเอกชน โดยเฉพาะการให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ การอำนวยความสะดวก และประสิทธิภาพในการบริหารจัดการในพื้นที่ SEZ เพราะเป็นสิ่งที่ภาคเอกชนให้ความสำคัญ หาก SEZ สามารถดึงดูดการลงทุนภาคเอกชนได้จริง กิจกรรมทางเศรษฐกิจ ทั้งการผลิตและการบริโภคจะเกิดขึ้นในพื้นที่เป็นจำนวนมากและต่อเนื่อง เป็นเครื่องยนต์หลักอีกส่วนที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจภูมิภาคให้ขยายตัวได้ในระยะยาว


RECCOMMEND: MARKETING

ย้อนตำนาน มาสคอตไทย ก่อน "น้องหมีเนย" มีแบรนด์ไหนทำมาร์เก็ตติ้งนี้บ้าง

หลายคนมี Brand Love ในใจ ที่ไม่ใช่แค่สินค้าต้องดี จนเรากลายเป็นลูกค้าประจำ ยังต้องมี Brand Characters ที่จะช่วยให้คนจดจำได้ อีกหนึ่งทางเลือกที่ถ้าอยากสร้างแบรนด์ให้ปัง

ขายสินค้าออร์แกนิกให้เป็นแมส จากแนวคิดแบรนด์ KING Organic

KING Organic ผู้ผลิตผัก ผลไม้ และสินค้าแปรรูปออร์แกนิก จ.สมุทรสาคร ได้คิดกลยุทธ์การทำธุรกิจที่เรียกว่า “Mass Premium” ขึ้นมา เพื่อทำของพรีเมียม ให้สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้กว้างขวางมากขึ้น ในราคาที่ใครๆ ก็สามารถจับต้องได้ มีวิธีการยังไง ไปดูกัน