ภาษีโรงเรียนกวดวิชา ไม่ใช่อุปสรรคขวางทางธุรกิจโต




เรื่อง  ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์

    แม้ว่าภาครัฐจะเริ่มหันมาเก็บภาษีกับโรงเรียนกวดวิชา แต่ว่ากันในเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวกับโรงเรียนกวดวิชาในไทยแล้ว ยังถือว่าไม่เข้มงวดเมื่อเทียบกับต่างประเทศ ซึ่งเอื้อต่อการขยายตัวของธุรกิจ 

    สำหรับประเทศไทย ถือว่ารัฐบาลยังเห็นความสำคัญของโรงเรียนกวดวิชาต่อระบบการศึกษาทำให้กฎหมายยังเปิดกว้างต่อการทำธุรกิจ และเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศชั้นนำในเอเชียที่มีการเก็บภาษีโรงเรียนกวดวิชาแล้ว ยังถือว่าการประกอบธุรกิจของโรงเรียนกวดวิชาของไทยนั้นยังมีข้อจำกัดน้อย 

    โดยปัจจุบันประเทศไทยมีข้อปฏิบัติกำหนดให้โรงเรียนกวดวิชามีกำไรจากการประกอบธุรกิจได้ประมาณ 20% ซึ่งเมื่อประกอบกับกฎหมายที่ไม่เข้มงวดมากนักแล้ว จึงไม่น่าแปลกใจที่โรงเรียนกวดวิชาในไทยมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว  

    อย่างก็ตาม การเก็บภาษีโรงเรียนกวดวิชาอาจทำให้มีแนวโน้มการปรับขึ้นค่าเรียน ทั้งที่ตั้งแต่ปี 2010 จนถึงปัจจุบัน ค่าเรียนพิเศษก็มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 30% อยู่แล้ว ซึ่งแฟรนไชส์โรงเรียนกวดวิชา ที่ค่าเฉลี่ยการขึ้นค่าเรียนไม่สูงมากนัก เพราะใช้กลยุทธ์ขยายสาขา เน้นสร้างรายได้จากจำนวนนักเรียน เมื่อเจอกับภาระด้านภาษีก็จำเป็นต้องขยับราคาขึ้นตาม

    สำหรับสัดส่วนนักเรียนกวดวิชาต่อนักเรียนในระบบที่ยังไม่มากทำให้ธุรกิจโรงเรียนกวดวิชายังมีโอกาสขยายตัวอีกมากในอนาคต โดยรายได้ของธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาทั้งระบบมีประมาณ 10,000 ล้านบาท จากจำนวนนักเรียนราว 535,000 คน ซึ่งถ้าคิดเป็นสัดส่วนเทียบกับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาทั่วประเทศ จะพบว่าสัดส่วนนักเรียนกวดวิชามีเพียง 14% อีกทั้ง แต่ละครอบครัวใช้จ่ายค่าเรียนพิเศษเพียง 2% - 3% ต่อค่าใช้จ่ายทั้งหมด 

    จุดนี้จึงสะท้อนให้เห็นว่าธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาในประเทศไทยยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก โดยเฉพาะในต่างจังหวัดที่มีการขยายตัวของจำนวนโรงเรียนและนักเรียนกวดวิชาแบบก้าวกระโดด ซึ่งช่วงปี 2007 - 2013 โรงเรียนกวดวิชาในต่างจังหวัดเติบโต 139% เมื่อเทียบกับกรุงเทพฯ ที่เติบโต 69% และจำนวนนักเรียนที่เรียนพิเศษในต่างจังหวัดขยายตัว 58% เทียบกับในกรุงเทพฯ ที่ขยายตัว 42% แสดงให้เห็นว่าศักยภาพการขยายตัวในต่างจังหวัดนั้นมีมากกว่า และเมื่อคำนึงถึงสัดส่วนต่อจำนวนประชากรแล้วโอกาสการเติบโตในต่างจังหวัดยังมีอยู่มาก

    นอกจากนี้ ระบบการศึกษาที่ยังเน้นการวัดผลจากการสอบ โดยเฉพาะการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยนั้นจะเป็นตัวช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาเติบโตยิ่งขึ้น อีกทั้งการสมัครเข้าทำงานก็มักจะถูกคัดกรองจากผลการศึกษาและอันดับของสถาบันที่ผู้สมัครได้รับการศึกษามาในอดีต 
                
    แต่หากผู้ประกอบการโรงเรียนกวดวิชาต้องการที่จะเติบโตไปได้อย่างมีเสถียรภาพ จำเป็นที่จะต้องลงทุนทำระบบบัญชีและวางแผนภาษีเพิ่มขึ้นเมื่อเข้าระบบภาษี อีกทั้ง วางแผนการบริหารเป็นธุรกิจมากขึ้น เนื่องจากโรงเรียนกวดวิชาส่วนใหญ่ยังไม่มีระบบบัญชีที่มีประสิทธิภาพนัก โรงเรียนกวดวิชาควรศึกษาข้อมูลเพื่อจัดการวางรากฐานให้แข็งแกร่งสำหรับการขยายตัวของธุรกิจในอนาคต 

    ขณะนี้โรงเรียนหลายแห่งยังคงไม่มีประสบการณ์ด้านภาษี ซึ่งปัจจุบันการจัดตั้งโรงเรียนส่วนมากยังเป็นแบบบุคคลธรรมดาและถ้าไม่ขอเปลี่ยนการจดทะเบียนมาเป็นแบบนิติบุคคล จะทำให้มีฐานภาษีสูงขึ้นเมื่อมีรายได้มากขึ้น นอกจากนี้ระบบการจัดเก็บเอกสารที่เป็นระเบียบจะช่วยให้การบริหารงานสะดวกขึ้น เนื่องจากเอกสารจำพวกใบเสร็จต่างๆนั้นสามารถนำไปหักภาษีได้และจะช่วยลดต้นทุนได้อีกทาง
     
    โรงเรียนกวดวิชาควรมีการวางแผนธุรกิจให้แตกต่าง เพื่อสร้างความได้เปรียบในภาวะต้นทุนที่เพิ่มขึ้นและการแข่งขันในธุรกิจที่ค่อนข้างสูง การแข่งขันที่สูงอยู่แล้วจากการมีผู้เล่นรายหลักที่มีชื่อเสียงอยู่ในระบบ ประกอบกับต้นทุนที่จะเพิ่มขึ้นจากการเข้าระบบภาษีทำให้โรงเรียนกวดวิชา โดยเฉพาะรายเล็กๆ จะต้องหากลยุทธ์ที่แตกต่างออกไปในการแข่งขันมากขึ้นนอกเหนือจากจุดขายด้านเทคนิคการสอนหรือการทำข้อสอบ




RECCOMMEND: MARKETING

ย้อนตำนาน มาสคอตไทย ก่อน "น้องหมีเนย" มีแบรนด์ไหนทำมาร์เก็ตติ้งนี้บ้าง

หลายคนมี Brand Love ในใจ ที่ไม่ใช่แค่สินค้าต้องดี จนเรากลายเป็นลูกค้าประจำ ยังต้องมี Brand Characters ที่จะช่วยให้คนจดจำได้ อีกหนึ่งทางเลือกที่ถ้าอยากสร้างแบรนด์ให้ปัง

ขายสินค้าออร์แกนิกให้เป็นแมส จากแนวคิดแบรนด์ KING Organic

KING Organic ผู้ผลิตผัก ผลไม้ และสินค้าแปรรูปออร์แกนิก จ.สมุทรสาคร ได้คิดกลยุทธ์การทำธุรกิจที่เรียกว่า “Mass Premium” ขึ้นมา เพื่อทำของพรีเมียม ให้สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้กว้างขวางมากขึ้น ในราคาที่ใครๆ ก็สามารถจับต้องได้ มีวิธีการยังไง ไปดูกัน