ส่งออกดี-ท่องเที่ยวซบ-การบริโภคเอกชนยังเหนื่อย เศรษฐกิจไทยในคลื่นโควิดไตรมาส 1 ตัวคุมเกมธุรกิจที่ SME ต้องจับตา

TEXT : รุจรดา วัฒนาโกศัย





       ในช่วงที่ทั่วโลกประสบปัญหาการระบาดของโควิด-19 ซึ่งส่งผลให้การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงัก เพราะหลายประเทศต้องล็อกดาวน์ งดการเดินทาง ไปจนถึงปิดด่านศุลกากร ทำให้เศรษกิจในปี 2563 หดตัวลง ซึ่งในปี 2564 นี้ แนวโน้มสภาวะเศรษฐกิจโลกปรับตัวดีขึ้น และเมื่อมีวัคซีนโควิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจด้านการบริโภคในระดับโลกก็กลับมา ประกอบกับนโยบายการค้าของประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ และเศรษฐกิจจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทยฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว


       ซึ่งสำหรับประเทศไทยแล้ว ภาคการส่งออกสินค้าได้ฟื้นตัวตามทิศทางเศรษฐกิจและการค้าโลก แต่ภาคการผลิตที่เกี่ยวข้องกับการบริการและการท่องเที่ยวยังคงซบเซาอย่างต่อเนื่อง จึงเรียกได้ว่าการส่งออกจึงยังเป็นความหวังสำหรับเศรษฐกิจไทยตอนนี้



 

ส่งออกและการลงทุน พระเอกของเศรษฐกิจไทยต้นปี ’64
               
               
       เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2564 หดตัวชะลอลง -2.6 เปอร์เซ็นต์ (YOY) หลังจากที่หดตัว -4.2 เปอร์เซ็นต์ (YOY) ในไตรมาสก่อนหน้านี้ การหดตัวที่ลดลงนี้ได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคส่งออกสินค้าที่ฟื้นตัวตามทิศทางเศรษฐกิจและการค้าโลก ซึ่งภาคอุตสาหกรรมก็ฟื้นตัวตามการส่งออก และ ซึ่งได้ส่งผลทำให้การลงทุนภาคเอกชนในส่วนของเครื่องมือเครื่องจักรฟื้นตัวตามไปด้วย และยังรวมถึงการลงทุนภาครัฐที่ขยายตัวได้ดี ด้านการผลิตมีการฟื้นตัวในหลากหลายสาขา โดยเฉพาะภาคเกษตรที่ดีขึ้นตามปริมาณผลผลิต
               

       ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวยังคงซบเซาอย่างต่อเนื่อง เพราะได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิดระลอกที่ 2 ภาคการผลิตที่เกี่ยวข้องกับการบริการและการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็น โรงแรมและภัตตาคาร รวมไปถึงธุรกิจเกี่ยวกับการเดินทางยังคงซบเซาต่อเนื่อง ด้านการฟื้นตัวการบริโภคภาคเอกชนเองก็สะดุดและกลับมาหดตัวลง -0.4 เปอร์เซ็นต์



 

ไตรมาสที่ 2 การบริโภคภาคเอกชนเจ็บหนัก
 
               
        สำหรับช่วงไตรมาสที่ 2 EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ได้คาดการณ์เอาไว้ว่าเศรษฐกิจจะทรุดตัวลงอย่างชัดเจนจากการระบาดระลอกที่ 3 ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนเมษายนเป็นต้นมา ที่เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจทรุดตัวลงอย่างชัดเจน โดยเฉพาะการบริโภคภาคเอกชนในส่วนที่เป็น face-to-face service เช่น โรงแรม ร้านอาหาร แหล่งท่องเที่ยว และกิจกรรมสันทนาการอื่นๆ นอกจากนี้ ผลกระทบการระบาดระลอก 3 ที่เกิดขึ้นยังรวมไปถึงการสร้างแผลเป็นเศรษฐกิจที่ลึกกว่าเดิม ทั้งในส่วนของการเปิดปิดกิจการ และภาวะตลาดแรงงานที่เป็นปัญหามาก่อนหน้า
               

        การบริโภคภาคเอกชนซึ่งถือเป็นภาคเศรษฐกิจหลักของประเทศยังคงเจ็บหนัก แม้จะมีเม็ดเงินจากภาครัฐเข้ามาช่วยกว่า 2.9 แสนล้านบาทผ่านหลายมาตรการ เช่น เราชนะ ม.33 เรารักกัน คนละครึ่งเฟส 2 เป็นต้น ก็ยังไม่มีแนวโน้มดีขึ้นที่ชัดเจน ขณะที่เม็ดเงินพยุงเศรษฐกิจจากภาครัฐก็ยังมีน้อย (8.5 หมื่นล้านบาท จากการเพิ่มวงเงินมาตรการเราชนะและเรารักกันไปอีก 2 สัปดาห์) เมื่อเทียบกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการระบาดรอบใหม่ในช่วงไตรมาส 2



 

ความหวังของไทยในครึ่งปีหลัง และความเสี่ยงที่ต้องจับตา

 
               
        ในช่วงครึ่งปีหลัง คาดว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างช้าๆ จากภาคการส่งออกยังมีแนวโน้มฟื้นตัวดีต่อเนื่องโดยเฉพาะการส่งออกไปยังประเทศพัฒนาแล้วที่จะมีความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนระดับสูง รวมถึงการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐ ในส่วนของเศรษฐกิจในประเทศ คาดว่าในช่วงครึ่งหลังของปี ผู้บริโภคและภาคธุรกิจจะมีความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นตามความคืบหน้าในการฉีดวัคซีน รวมถึงได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐเพิ่มเติม ซึ่งมีวงเงินตามแผนเบื้องต้นกว่า 1.4 แสนล้านบาท อย่างไรก็ดี ในภาพรวม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยยังเป็นไปอย่างช้า ๆ


        แต่เวลาเดียวกันนั้นภาคท่องเที่ยวก็ยังคงมีแนวโน้มซบเซาต่อเนื่อง โดย EIC คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไทยเพียง 1.5 ล้านคนในปีนี้ นอกจากนี้ ผลของแผลเป็นเศรษฐกิจในช่วงก่อนหน้าโดยเฉพาะในช่วงไตรมาส 2 ได้แก่ การเปิดปิดกิจการที่อาจปรับแย่ลง ภาวะตลาดแรงงานที่เปราะบางมากขึ้น รวมถึงพฤติกรรมออมเงินที่เพิ่มสูงขึ้นจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ ก็จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ฉุดรั้งความเร็วในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า



       

       ซึ่ง EIC คาดการณ์ว่าไทยจะขยายตัวอย่างช้าๆ ที่ 2.0 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็ยังมีความเสี่ยงที่ต้องจับตาก็คือ
 

  1. ระยะเวลาในการควบคุมการระบาดระลอกที่ 3 โดยในช่วงปัจจุบันจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันยังคงไม่ปรับตัวดีขึ้น และยังมีคลัสเตอร์ใหม่ ๆ เกิดขึ้นรายวัน จึงมีความเสี่ยงทำให้การควบคุมโรคอาจใช้เวลานานกว่าที่เคยคาดไว้ที่ 3 เดือน ซึ่งจะกระทบต่อการฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชน รวมถึงการระบาดรอบใหม่ที่อาจเกิดขึ้นได้ ตราบใดที่ยังมีการฉีดวัคซีนในระดับต่ำ
 
  1. ความล่าช้าในการฉีดวัคซีน และประสิทธิภาพของวัคซีนที่อาจไม่สูงพอโดยเฉพาะกับไวรัสสายพันธุ์ใหม่
 
 
      เรียงเรียงข้อมูลจาก EIC ธนาคารไทยพาณิชย์
 
 



www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจSME
 

RECCOMMEND: MARKETING

วิกฤตสูงวัย เด็กเกิดใหม่น้อย กรณีศึกษาธุรกิจญี่ปุ่น ปรับตัวผลิตสินค้าผู้ใหญ่แทนสินค้าเด็ก

Oji Holdings ผู้ผลิตผ้าอ้อมในญี่ปุ่นประกาศยุติผลิตผ้าอ้อมเด็ก หันไปเพิ่มปริมาณการผลิตผ้าอ้อมผู้ใหญ่แทน สาเหตุมาจากอัตราการเกิดที่ลดลงและจำนวนประชากรสูงวัยของญี่ปุ่นที่เพิ่มสูงขึ้น

โอกาสโกอินเตอร์ของแบรนด์ไทย ทำงานกับนักธุรกิจระดับโลก งาน Gifts & Premium Fair ฮ่องกง

ฮ่องกงขึ้นชื่อว่าเป็นดินแดนที่มีการจัดงานแสดงสินค้าที่ยิ่งใหญ่ของโลกแห่งหนึ่ง และหนึ่งในนั้นคืองานแสดงสินค้าของขวัญและของพรีเมียมภายใต้ชื่อ Hong Kong Gifts & Premium Fair ซึ่งกำลังจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 27-30 เมษายน 2024