เปิดวาร์ป ฮีโร่พันธุ์ใหม่สายกรีน เมล็ดข้าวโพดคั่ว เปลี่ยนความอร่อย เป็นบรรจุภัณฑ์ลดโลกร้อน

TEXT : กองบรรณาธิการ
PHOTO : Göttingen University





        การหาวัสดุทดแทนจากพืชเพื่อลดการใช้พลาสติกที่ย่อยสลายได้ดูจะเป็นเทรนด์ที่นับวันจะยิ่งได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น ทั้งจากผู้บริโภคเองไปจนถึงผู้ประกอบการธุรกิจที่อยากมีส่วนร่วมช่วยรับผิดชอบต่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจออนไลน์


         ซึ่งอย่างที่รู้กันดีว่าในการซื้อขายแต่ละครั้งจะต้องมีการจัดส่งพัสดุจำนวนมากไปให้กับลูกค้า ส่งผลต่อการใช้บรรจุภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น จนกลายเป็นปัญหาขยะล้นแถมหลายชิ้นยังย่อยสลายได้ยาก หนึ่งในนั้น ก็คือ โฟมกันกระแทกหรือตัวซัพพอตเพื่อใช้ปกป้องสินค้าภายในไม่ให้แตกหักเสียหาย ซึ่งหลังจากส่งถึงมือผู้รับแล้วเศษจากวัสดุดังกล่าว ก็ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์อะไร นอกจากถูกทิ้งให้กลายเป็นขยะ


         ด้วยเหตุนี้ “Alireza Kharazipour” ศาสตราจารย์หัวหน้าวิจัยอุตสาหกรรมพลาสติกจาก  Göttingen University ประเทศเยอรมนี จึงได้พยายามเฟ้นหาวัสดุจากธรรมชาติมาใช้ทดแทนบรรจุภัณฑ์จากโพลีสไตรีน พลาสติกชนิดหนึ่งหน้าตาละหม้ายคล้ายกับโฟมชนิดหนึ่ง ปกติมักนำมาใช้เป็นผนังกันความร้อน ความเย็น ไปจนถึงผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ต่างๆ เช่น กล่อง ถาด เพื่อใช้ปกป้องสินค้า เช่น ขวดไวน์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เพราะมีความยืดหยุ่นที่ดีและแข็งแรงระดับหนึ่ง รูปร่างหน้าตาก็คล้ายกับแผ่นโฟมนั่นแหละ ซึ่งกว่าจะใช้เวลาย่อยสลายได้หมดใช้เวลานับหลายร้อยปี จนถึงหลักพันปีได้กันเลยทีเดียว และในแต่ละปีเฉพาะแค่สหรัฐอเมริกาประเทศเดียวมีการผลิตโพลีสไตรีนใช้ประมาณ 3 ล้านตันต่อปี เพื่อใช้สำหรับบรรจุภัณฑ์และบริการด้านอาหาร
               


               

        หากย้อนไปเมื่อหลายปีก่อนในขณะที่เขากำลังเพลิดเพลินกับการกินข้าวโพดคั่วพร้อมกับรับชมภาพยนตร์เรื่องหนึ่งนึ่ง ก็เกิดปิ้งไอเดียขึ้นมาโดยสังเกตเห็นลักษณะของข้าวโพดคั่วในมือว่าจริงๆ แล้วหากนำมาคั่วหรือโดนความร้อนให้พองก็จะมีลักษณะคล้ายโฟมซึ่งมีน้ำหนักเบา แต่ขณะเดียวกันก็ยึดหยุ่น และมีความหนามากพอที่จะนำมาใช้ทดแทนบรรจุภัณฑ์จากโพลีสไตรีน เพื่อใช้ปกป้องสินค้าได้


        ในที่สุดเขาจึงได้ทดลองโดยนำข้าวโพดมาบดเป็นเม็ดเล็กๆ จากนั้นนำไปอบไอน้ำและขึ้นรูปในโมเดลสามมิติรูปทรงต่างๆ เมื่อโดนความร้อนเมล็ดข้าวโพดจะพองและอัดแน่นไปด้วยอากาศอยู่ด้านในเหมือนรวงผึ้งสามารถขยายตัวได้เพิ่มขึ้นกว่า 15 – 20 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว โดยเจ้าบรรจุภัณฑ์ชนิดใหม่นี้มีชื่อเรียกว่า “Abocorn”





        โดยเจ้า Abocorn นี้มีความแข็งแรงพอๆ กับโพลีสไตรีน โดยสามารถนำมาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แผงฉนวนกันเสียง บานประตู และแม้แต่เบาะรองนั่งก็ได้ แถมเพื่อเพิ่มประโยชน์การใช้งานได้ดียิ่งขึ้นยังมีการนำมาเคลือบด้วยพลาสติกชีวภาพบางๆ เพื่อให้กันน้ำได้ แต่ข้อสำคัญ คือ มันสามารถนำกลับมาใช้งานใหม่ได้ ไปจนถึงนำเอาไปทำเป็นปุ๋ยหมักเพื่อให้ย่อยสลายตามธรรมชาติก็ได้ด้วย
               

        นับเป็นตัวช่วยบรรจุภัณฑ์ชนิดใหม่อีกอย่างที่มีความน่าสนใจ นอกจากจะช่วยให้สามารถขนส่งสินค้าได้อย่างปลอดภัยแล้ว ยังไม่ก่อให้เกิดขยะเป็นภาระทิ้งไว้ให้กับโลกใบนี้ด้วย แว่วมาว่าอีกไม่นานนี้จะมีการผลิตออกมาทดลองจำหน่ายในท้องตลาด พ่อค้าแม่ค้าคนไหนสนใจลองติดตามข่าวสารและหามาทดลองใช้กันได้เลย









www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MARKETING

Generation UnGap ช็อกโกแลตแปลภาษา    ช่วยคนต่างวัยเข้าใจความหมายคำศัพท์ต่าง Gen     

Milka แบรนด์ช็อกโกแลตสาขาในประเทศโรมาเนีย คิดแคมเปญสุดคูลอย่าง “Generation UnGap” หรือ “คำเขา เรารู้” ขึ้นมา เพื่อลดช่องว่างระหว่างวัยของคนยุค Boomer, Gen X, Gen Y และ Gen Z ให้สามารถสื่อสารกันได้อย่างเข้าใจกันมากขึ้น

โพสต์ให้ปังด้วยพลัง AI! 6 เทคนิคสร้างคอนเทนต์ที่ขายของได้จริง

ไม่ว่าคุณจะเป็นแม่ค้าออนไลน์ เจ้าของแบรนด์ ทีมการตลาด หรือครีเอเตอร์มือใหม่ AI ก็สามารถช่วยคุณสร้างสรรค์คอนเทนต์ปังที่จะช่วยในการเจาะตลาดเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำขึ้น

ไทยเที่ยวไทยปี 68 'เมืองรอง' คือขุมทรัพย์ใหม่ เมื่อคนไทยเที่ยวถี่ขึ้น เน้นไป-กลับ

เจาะลึก "เทรนด์ไทยเที่ยวไทย ปี 2568" ว่าทำไมตลาดไม่ถอยเสียทีเดียว แต่เปลี่ยนเกม และคุณต้องเปลี่ยนตามให้ไว ก่อนจะตามไม่ทัน