จับเทรนด์บริโภคสิ่งทอในตลาดโลก





เรื่อง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

      ผ่านไปแล้วกับไตรมาสแรกของปี 2558 ดูเหมือนว่าธุรกิจสิ่งทอยังเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่ได้รับแรงกดดันทั้งจากปัจจัยภายในประเทศและนอกประเทศ จากภาวะเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญที่อยู่ในช่วงชะลอ และเพื่อความอยู่รอดในธุรกิจสิ่งทอในระยะข้างหน้า ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมองเทรนด์ความต้องการที่เกิดขึ้น 

     โดยในขณะนี้เทรนด์การบริโภคในตลาดโลกที่น่าจับตา และผู้ประกอบการสิ่งทอไทยมีความสามารถเพียงพอที่จะปรับกลยุทธ์การผลิตสินค้าเพื่อรับกับกระแสดังกล่าว ส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มสินค้าประเภท ดังต่อไปนี้

     สิ่งทอที่ใช้เป็นวัตถุดิบในสายการผลิตธุรกิจต่อเนื่อง อย่าง “ธุรกิจเครื่องนุ่งห่ม” รองลงมาคือ ธุรกิจยานยนต์ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ รวมไปถึงธุรกิจอื่นๆ อาทิ ธุรกิจท่องเที่ยว 

     โดยมีตลาดปลายทางที่สำคัญคือ กลุ่มประเทศผู้ผลิตในอาเซียน ซึ่งเป็นตลาดสิ่งทอสำคัญที่สุดของไทย มีสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 30 ของการส่งออกสิ่งทอของไทยทั้งหมดไปยังตลาดโลก

     ทั้งนี้ ผู้บริโภคในอาเซียนมีกำลังซื้อสูงขึ้น อีกทั้งยังมีรสนิยมใกล้เคียงกับไทย มีความต้องการสินค้าที่ดีมีคุณภาพ ดีไซน์ทันสมัย หากผู้ประกอบการสิ่งทอไทยจะเจาะตลาดกลุ่มนี้ นอกเหนือจากกลุ่มลูกค้าในท้องถิ่น ยังสามารถเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจต่างชาติได้อีกด้วย โดยปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวจำนวนไม่น้อยให้ความสนใจเข้ามาท่องเที่ยวและลงทุนในอาเซียนเพิ่มขึ้น

    นอกจากนี้ อีกหนึ่งตลาดที่น่าเข้าไปแสวงหาโอกาสสำหรับสินค้าประเภทนี้ก็คือ กลุ่มประเทศในแถบตะวันออกกลาง เนื่องจากการผลิตในประเทศมีข้อจำกัด ซึ่งเป็นผลมาจากการขาดแคลนแรงงานในประเทศ ทำให้ค่าจ้างในธุรกิจสิ่งทออยู่ในระดับสูง สินค้าที่ผลิตได้ในประเทศจึงมีราคาแพงหากเทียบกับสินค้าสิ่งทอที่นำเข้ามา ทำให้สินค้าประเภทสิ่งทอก็ยังเป็นที่ต้องการ 

     สิ่งทอที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Eco-Textile) ที่ผลิตจากเส้นใยหรือสีย้อมจากธรรมชาติ หรือใช้การผลิตแบบออร์แกนิค 100% ที่ไร้สารเคมีตกค้าง ซึ่งสามารถทำตลาดได้ดีในตลาดสหรัฐฯ สหภาพยุโรป เพราะสังคมผู้บริโภคโลกตะวันตกกำลังอยู่ในยุค Go Green หรือกำลังอยู่ในเทรนด์ของการรักษ์สุขภาพและสิ่งแวดล้อม 

     และหากพิจารณาถึงโอกาสของผู้ประกอบการสิ่งทอไทยในตลาดนี้ อาจจะต้องให้ความสำคัญกับกลุ่มลูกค้า Niche Market อย่างเช่น กลุ่มผู้สูงอายุหรือเด็ก เพราะลูกค้ากลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับคุณภาพมากกว่าราคา

     รวมไปถึงผลิตภัณฑ์สิ่งทอไลฟ์สไตล์ที่เน้นฟังก์ชั่นการใช้งานสำหรับกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่เปิดรับนวัตกรรมของสินค้าเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้ชีวิต เช่น สิ่งทอนาโนที่สามารถซัก รีดง่าย ไม่ยับ กันน้ำ ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น 

     อย่างไรก็ดี เทคนิคสำหรับการเข้าสู่ตลาดนี้ที่ผู้ประกอบการจะต้องให้ความสำคัญอย่างมากก็คือ สินค้าจะต้องได้รับการรับรองมาตรฐานสากลทางด้านความปลอดภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม อาทิ EU Flower, REACH, Carbon Footprint ซึ่งจะสร้างความเชื่อมั่นและมีโอกาสสูงในการเจาะตลาดผู้บริโภค 

     สิ่งทอเทคนิค (Technical Textile) เป็นสิ่งทอที่มีคุณสมบัติพิเศษ/ ประโยชน์ทางด้านเทคนิคมากกว่าความสวยงาม อาทิ ด้านสุขภาพ/การแพทย์ (ผ้าพันแผล/ด้ายเย็บแผล) สิ่งแวดล้อม/การเกษตร (ผ้าคลุมดิน) การกีฬา (ร่มชูชีพ/ผ้ารองเท้ากีฬา) ยานยนต์ (พรม ผ้าหุ้มเบาะ เข็มขัดนิรภัย) เป็นต้น ซึ่งสินค้ากลุ่มนี้สามารถทำกำไรให้ผู้ประกอบการในระดับสูง เนื่องจากอรรถประโยชน์ในการใช้งานมีมากกว่าสิ่งทอที่วางจำหน่ายทั่วไปในท้องตลาด

     ทั้งนี้ สำหรับสิ่งทอเทคนิคของไทยที่มีแนวโน้มขยายตัวดี ได้แก่ 1) สิ่งทอเทคนิคที่ใช้ในอุตสาหกรรมประเภทยานยนต์ เพราะปัจจุบันผู้ผลิตยานยนต์เริ่มหันมาใช้สิ่งทอเป็นส่วนประกอบในยานยนต์มากขึ้นเป็นลำดับ     

     2) สิ่งทอเทคนิคทางการกีฬาและนันทนาการ อาทิ ประเภทเสื้อผ้ากีฬาที่มีคุณสมบัติในการดูดซับเหงื่อ ระบายอากาศ หรือเพิ่มสมรรถภาพขณะที่สวมใส่เล่นกีฬา โดยกลุ่มประเทศที่มีความต้องการสูง 

     ผลิตภัณฑ์สำหรับสังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ด้วยปัจจุบันจำนวนประชากรผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งประชากรกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง ซึ่งลูกค้ากลุ่มนี้ต้องการสินค้าที่จะเอื้อประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต ให้ความสำคัญกับความพึงพอใจ คุณประโยชน์มากกว่าราคา 

     โดยสินค้าสิ่งทอที่เป็นที่ต้องการของคนกลุ่มนี้ ได้แก่ สิ่งทอประเภทไลฟ์สไตล์ (เครื่องแต่งกาย/ ของตกแต่งบ้าน) สินค้าสิ่งทอประเภท Fashion with Function ที่สามารถสวมใส่ง่าย ดูมีรสนิยม อาทิ ผ้าพันคอ หรือผลิตภัณฑ์สิ่งทอสำหรับผู้สูงวัยที่มีปัญหาด้านสุขภาพ เช่น อุปกรณ์พันเข่าที่ทำจากผ้าเพื่อให้สามารถเดินได้สะดวก เป็นต้น


RECCOMMEND: MARKETING

ย้อนตำนาน มาสคอตไทย ก่อน "น้องหมีเนย" มีแบรนด์ไหนทำมาร์เก็ตติ้งนี้บ้าง

หลายคนมี Brand Love ในใจ ที่ไม่ใช่แค่สินค้าต้องดี จนเรากลายเป็นลูกค้าประจำ ยังต้องมี Brand Characters ที่จะช่วยให้คนจดจำได้ อีกหนึ่งทางเลือกที่ถ้าอยากสร้างแบรนด์ให้ปัง

ขายสินค้าออร์แกนิกให้เป็นแมส จากแนวคิดแบรนด์ KING Organic

KING Organic ผู้ผลิตผัก ผลไม้ และสินค้าแปรรูปออร์แกนิก จ.สมุทรสาคร ได้คิดกลยุทธ์การทำธุรกิจที่เรียกว่า “Mass Premium” ขึ้นมา เพื่อทำของพรีเมียม ให้สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้กว้างขวางมากขึ้น ในราคาที่ใครๆ ก็สามารถจับต้องได้ มีวิธีการยังไง ไปดูกัน