ทำไมถึงขายของไม่ได้ เศรษฐกิจไม่ดี หรือ แค่เงินเปลี่ยนที่อยู่?

TEXT: Mr. Doubt


 


          ช่วงสองปีนี้ประโยคหนึ่งที่ผู้เขียนได้ยินจนชินหูคือ “เศรษฐกิจไม่ดี” ได้ยินบ่อยจนเหมือนโดนสะกดจิตความคิดคล้อยตามสิ่งที่ได้ยิน บวกกับการมาเยือนของโควิดที่ไม่ได้เพียงเข้ามาทำร้ายชีวิตมนุษย์โลกเท่านั้น ความน่ากลัวของไวรัสร้ายนี้ยังทำให้กิจกรรมทุกอย่างต้องหยุดชะงักอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เมื่อทุกคนต้องเว้นระยะห่างทางสังคมเพื่อความปลอดภัย ทำให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดหลายอย่าง อาทิ

  • กัปตัน สจ๊วต แอร์โฮสเตส กลายเป็นอาชีพที่มีผู้คนตกงานจำนวนมากในชั่วพริบตา

 

  • ห้างสรรพสินค้าที่ต้องใช้เวลาขับรถวนหาที่จอดรถร่วมชั่วโมง วันหนึ่งแทบจะไม่มีคนเดิน

 

           แต่ถ้าจะให้เชื่อว่าเศรษฐกิจไม่ดีก็คงเชื่อได้ไม่สนิทใจ เพราะในช่วงเวลาเดียวกันนี้ก็ยังได้เห็นเศรษฐีป้ายแดงเกิดขึ้นสามารถหารายได้เป็นกอบเป็นกำทางออนไลน์ จากการขายต้นไม้ อาหาร ฯลฯ



 

ทุกอย่างล้วนมีอายุขัย



          จากเหตุการณ์นี้ก็ทำให้ผู้เขียนย้อนกลับไปคิดถึงสินค้าประเภท ฟิล์มถ่ายรูป เทป ซีดี ฯลฯ ที่ยุคหนึ่งสินค้าประเภทนี้เคยสร้างรายได้ให้กับคนที่ทำธุรกิจนี้ แต่เมื่อมาถึงยุคดิจิทัลคนมีโทรศัพท์มือถือที่ถ่ายรูปได้ ฟิล์มถ่ายรูปก็ถึงกาลอวสานไปตามกาลเวลา เป็นภาพสะท้อนว่าคนที่ทำธุรกิจที่ไม่ตอบโจทย์หรือเข้ากับสถานการณ์ก็ยากจะไปต่อ

 

          จากบทเรียนในวันนั้นสะท้อนให้คิดถึงการทำธุรกิจวันนี้อาจต้องเปลี่ยนรูปแบบวิธีการทำธุรกิจ ให้เข้ากับสถานการณ์ตอบโจทย์ผู้บริโภค
               

          เมื่อมือถือแทบจะเป็นทุกอย่างให้กับมนุษย์ยุคนี้ โดยเฉพาะการซื้อสินค้าที่ทำได้เพียงแค่ปลายนิ้วสัมผัส เราจึงได้เห็นร้านขายของไม่ว่าแบรนด์เล็กหรือแบรนด์ใหญ่ต่างก็ย้ายร้านไปขายของบนมือถือ
               

          ยิ่งการเว้นระยะห่างยิ่งทำให้การค้าขายออนไลน์ยิ่งเติบโตทั้งยอดขายและจำนวนผู้ใช้งาน บางคนที่ไม่เคยซื้อของทางออนไลน์ก็หันมาใช้บริการทางนี้ และยิ่งทางรัฐออกมาตรการสนับสนุนต่างๆ ผ่านมือถือ เช่น โครงการคนละครึ่ง ปัจจัยเหล่านี้ล้วนผลักดันให้เงินไปอยู่ในโลกออนไลน์




                               

เงินอยู่ตรงไหนธุรกิจก็ควรอยู่ตรงนั้น

           

           ขณะนี้แม้สถานการณ์ยังไม่กลับมาเหมือนเดิม แต่จากคลายล็อกดาวน์หลายๆ กิจการในความคิดของผู้เขียนเชื่อว่ามีผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยที่อึดอัดกับการอยู่บ้านนานๆ รอโอกาสเตรียม “ช้อปเอาคืน” ใช้จ่ายเพื่อหาความสุขให้ตัวเองเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะผู้หญิงที่ไม่ได้แต่งตัวมานานมีแนวโน้มความต้องการซื้อสินค้าประเภทสกินแคร์และเครื่องสำอางที่เพิ่มสูงขึ้นติดอันดับ 1 ใน 5 สินค้าต้องการมากที่สุด จากผลสำรวจสถาบันวิจัยความเป็นอยู่ฮาคูโฮโด อาเซียน (ประเทศไทย) ร่วมมือกับบริษัท สไปซี่ เอช จำกัด ช่วงตุลาคม 2564
               

            ผู้บริโภคพร้อมจะจ่ายก็คงอยู่ที่ผู้ขายว่าจะหาวิธีทำให้ผู้บริโภคยอมจ่ายได้อย่างไร


            ร้านผัดไทประตูผีที่นักท่องเที่ยวเคยเข้าแถวต่อคิวยาว วันนี้ก็ต้องปรับตัวหันไปขายทางออนไลน์


            ปางช้าง เอลลิแฟนท์ เฮเว่น ที่รายได้หดหายไปพร้อมกับนักท่องเที่ยวก็หันมาปรับตัวรังสรรค์เค้กช้างก้อนใหญ่ ตอบโจทย์ลูกค้าที่ต้องการทำบุญมอบเค้กวันเกิดให้ช้างในยุคโควิด ทำยอดขายทะลุ 1 แสนบาทต่อวัน



               

            นี่คือตัวอย่างธุรกิจขนาดเล็กที่ได้เปรียบในเรื่องความยืดหยุ่นและสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ได้
สิ่งที่ผู้ประกอบการจะหลีกเลี่ยงไม่ได้คือ การใช้การตลาดออนไลน์ แม้ว่าอาจไม่ใช่เรื่องถนัดสำหรับหลายๆ ธุรกิจแต่คงไม่อยากเกินไป ถ้าหากว่ายังไม่รู้จะเริ่มตรงไหนก็ลองทำตามนี้ดู

 
       1. เตรียมบุคลากรในอออฟฟิศให้พร้อมกับเรื่อง Digital หรือการตลาดออนไลน์
 

       2. ปรับกระบวนการต่างๆ ให้รวดเร็วทันต่อสถานการณ์

 
       3. เลือกเทคโนโลยีให้สอดคล้องกับธุรกิจ

 
       4. ที่สำคัญคือ mind set ต้องกล้าที่จะเปลี่ยน หากไม่กล้าจะเสียโอกาส
 

          ท้ายสุดต่อให้โควิดจะอยู่หรือไป แต่สิ่งที่ผู้บริโภคคุ้นเคยและเริ่มทำจนชินแล้วคือการซื้อของทางออนไลน์ ลองดูครับปรับธุรกิจไปตรงที่มีเงินอยู่อย่างน้อยก็เป็นการเริ่มต้นใหม่ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างไปจากเดิม
 



 
www.smethailanclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MARKETING

ฟังก์ชันแยกบิลจ่ายได้ เทรนด์ใหม่ที่ร้านอาหารต้องรู้ ลูกค้ายุคใหม่อยากจ่ายเท่าที่กินโดยไม่รู้สึกผิด

ไม่ใช่เรื่องต้องรู้สึกผิดอีกต่อไป หากไปกินอาหารกับเพื่อน แล้วอยากแยกรับผิดชอบจ่ายเฉพาะในส่วนที่ตัวเองสั่ง เทรนด์พฤติกรรมใหม่ของผู้บริโภคชาวอเมริกาที่หันมาใช้แอปพลิเคชันแยกจ่ายบิลกันมากขึ้น

ต่อยอดธุรกิจยังไงให้อยู่นานและขายดี กรณีศึกษา ALDI ซูเปอร์มาร์เก็ต ที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ALDI คือ ซูเปอร์มาร์เก็ตสัญญาติเยอรมัน มีต้นกำเนิดมาจาก 2 พี่น้องตระกูล Albrecht คือ “คาร์ล และ ธีโอ อัลเบรชต์” ที่รับช่วงต่อกิจการมาจากแม่ของเขาที่เปิดร้านขายของชำตั้งแต่ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2