ความต่างของผู้บริโภค Gen Y และ Gen Z ที่แบรนด์ต้องรู้ก่อนวางแผนการตลาด

               

        วางแผนการตลาดสำหรับปีหน้ากันหรือยัง?


          ช่วงนี้ผู้บริหาร นักการตลาด และเจ้าของแบรนด์จะต้องเร่งค้นคว้าและหาข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภคสำหรับการวางแผนการตลาดสำหรับปี พ.ศ 2565


          ซึ่ง ณ เวลานี้กลุ่มคนมิลลิเนียล หรือ Gen Y กลายเป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีจำนวนมากที่สุดในโลกแล้ว คือมีถึง 1.8 พันล้านคนทั่วโลก หรือคิดเป็น 23 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมด แต่บางครั้งก็มีความเชื่อผิดๆ คิดว่าคน Gen Y กับ Gen Z จะคล้ายคลึงกัน เพราะต่างก็เป็นคนยุคดิจิทัลทั้งคู่ แต่ความจริงแล้วคน 2 รุ่นนี้มีลักษณะเฉพาะที่ต่างกันหลายอย่างเลยล่ะ





         พัชรี พันธุมโน กรรมการผู้จัดการ บริษัท แบรนด์นาว เอเชีย ได้อธิบายว่า "ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างคนรุ่นก่อนๆ คือคนรุ่นมิลเลนเนียล (Gen Y) เติบโตขึ้นมาในช่วงที่เศรษฐกิจเฟื่องฟู และ Gen Z เติบโตขึ้นในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และสิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมผู้บริโภคของคนรุ่นต่อไป"
 

          และนี่คือข้อสรุปความต่างของคน 2 รุ่น ที่ แบรนด์นาว เอเชีย ได้ทำวิจัยเอาไว้
 

Gen Y
 

  • ให้ความสำคัญกับการค้นหาหรือลองประสบการณ์ใหม่ๆ ยอมจ่ายแพงกว่าถ้าได้รับการบริการลูกค้าระดับพรีเมียม

 

  • มักจะชอบทำงานเป็นกลุ่ม สนุกกับการเข้าสังคม รักครอบครัว และต้องการการตอบสนองความของพ่อแม่

 

  • ต้องการเสรีภาพ ความยืดหยุ่น และโอกาสในการทำงาน

 



 
Gen Z
 

  • ให้ความสำคัญกับการประหยัดเงินและค้นหาข้อเสนอที่ดีที่สุด

 

  • มีความสามารถเฉพาะตัว รักอิสระมากขึ้นเนื่องจากชอบการแข่งขัน

 

  • ต้องการจัดการและควบคุมสภาพแวดล้อมรอบๆ ตัวได้

 

  • ต้องการความมั่นคงในการทำงาน ตั้งเป้าว่าต้องได้รับเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 


 

           แต่ก็ใช่ว่าคน 2 รุ่นนี้จะไม่มีความเหมือนกันเลย สิ่งที่คล้ายคลึงกัน คือ ทั้ง Gen Y และ Gen Z มีกรอบความคิดของผู้ประกอบการ ซึ่งหมายความว่าพวกเขามีความคิดสร้างสรรค์ มีการสื่อสาร และมีแรงขับเคลื่อนสูง ในขณะที่อีกด้านยังเปิดรับความเสี่ยงและยอมรับความล้มเหลวได้ นอกจากนี้ทั้งสองรุ่นยังมีความปรารถนาที่สร้างธุรกิจของตัวเอง ในฐานะที่เป็นตัวแทนยุคดิจิทัล ทั้งสองกลุ่มมีความสามารถในการทำอะไรหลายๆ อย่างได้พร้อมๆ กัน
 

          คำแนะนำสำหรับผู้ประกอบการก็คือ แบรนด์ควรให้ความสำคัญในความยั่งยืนมากกว่ามุ่งเน้นการขาย และควรส่งเสริมภาพลักษณ์ของแบรนด์และจริยธรรมให้มากขึ้น รวมถึงความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร แบรนด์ที่มีความสอดคล้องกับค่านิยมเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จมากขึ้นในการดึงดูดทั้งสองกลุ่มนี้
 
 

 
 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MARKETING

วิกฤตสูงวัย เด็กเกิดใหม่น้อย กรณีศึกษาธุรกิจญี่ปุ่น ปรับตัวผลิตสินค้าผู้ใหญ่แทนสินค้าเด็ก

Oji Holdings ผู้ผลิตผ้าอ้อมในญี่ปุ่นประกาศยุติผลิตผ้าอ้อมเด็ก หันไปเพิ่มปริมาณการผลิตผ้าอ้อมผู้ใหญ่แทน สาเหตุมาจากอัตราการเกิดที่ลดลงและจำนวนประชากรสูงวัยของญี่ปุ่นที่เพิ่มสูงขึ้น

โอกาสโกอินเตอร์ของแบรนด์ไทย ทำงานกับนักธุรกิจระดับโลก งาน Gifts & Premium Fair ฮ่องกง

ฮ่องกงขึ้นชื่อว่าเป็นดินแดนที่มีการจัดงานแสดงสินค้าที่ยิ่งใหญ่ของโลกแห่งหนึ่ง และหนึ่งในนั้นคืองานแสดงสินค้าของขวัญและของพรีเมียมภายใต้ชื่อ Hong Kong Gifts & Premium Fair ซึ่งกำลังจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 27-30 เมษายน 2024