เจาะพฤติกรรมนักช้อปฯ ออนไลน์เมืองไทย กำลังซื้อ 2022 ยังดีอยู่ไหม?

TEXT : กองบรรณาธิการ

 

     จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กินเวลายาวนานมากว่า 2 ปีที่ผ่านมานี้ ซึ่งเข้ามาเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คนมากมายให้ไม่เหมือนเก่า ต้องมีการเว้นระยะห่าง ต้องนั่งทำงานอยู่ที่บ้าน การติดต่อสื่อสารกันผ่านช่องทางออนไลน์เข้ามามีบทบาทมากขึ้น โดยจากสถิติล่าสุดปี 2564 คนไทยโดยเฉลี่ยใช้เวลาบนอินเตอร์เน็ตมากขึ้นกว่า 8 ชั่วโมง 44 นาทีต่อวัน สูงสุดเป็นอันดับ 9 ของโลก โดยพบข้อมูลน่าสนใจว่าการช้อปปิ้งออนไลน์เป็นกิจกรรมที่คนไทยนิยมทำสูงสุดมากเป็นอันดับ 3 ของการใช้งานอินเตอร์เน็ต จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าอีคอมเมิร์ซได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการทำธุรกิจยุคปัจจุบันนี้มากเพียงใด

   ลองมาฟัง ธนาวัฒน์ มาลาบุปผา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด ให้คำแนะนำจากงานสัมมนา 10 Ways To Improve In Covid World ตอน : "สร้างจุดแข็งให้เหนือคู่แข่งบนโลกอีคอมเมิร์ช"

 

พฤติกรรมการใช้งานอินเตอร์เน็ตของคนไทย

  • คนไทยโดยเฉลี่ยใช้เวลาบนอินเตอร์เน็ต 8 ชม. 44 นาที /วัน สูงสุดเป็นอันดับ 9 ของโลก (ค่าเฉลี่ยทั่วโลกอยู่ที่ 6 ชม. 54 นาที /วัน)
  • โดยคิดเป็นการใช้งานผ่านสมาร์ทโฟน 5 ชม. 7 นาที / วัน สูงสุดเป็นอันดับ 3 ของโลก (ค่าเฉลี่ยทั่วโลก 3 ชม. 39 นาที /วัน)
  • ปี 2564 คนไทย 3 ใน 4 หรือราว 74 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตทั้งหมด มีการใช้เวลาอยู่บนโลกออนไลน์มากขึ้นเฉลี่ย 1 – 2 ชม./วัน

 

5 กิจกรรมที่คนไทยใช้บนอินเตอร์เน็ตมากที่สุด

     83 % ความบันเทิง

     68 % โซเชียลมีเดีย และการสื่อสาร

     64 % ช้อปปิ้ง

     64 % ธุรกรรมการเงิน

     42 % การศึกษาและการทำงาน

พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของคนไทย

     พบว่าคนไทยมากกว่า 9 ใน 10 มักหาข้อมูลและเปรียบเทียบก่อนตัดสินใจสินค้าเสมอ ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

     55 % เช็คข้อมูลผ่านออนไลน์

     28 % เช็คข้อมูลออนไลน์ และไปดูที่หน้าร้าน

     10 % ไปดูที่หน้าร้าน

     8 % ซื้อเลยไม่หาข้อมูล

     จากสถิติจึงสรุปได้ว่า Omni Channel หรือการผสมผสานการค้าทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ เป็นลักษณะโดดเด่นของผู้บริโภคชาวไทย

3 ขั้นตอนการเลือกซื้อสินบนออนไลน์ของคนไทย

Discovery

     แรงบันดาลใจในการซื้อ มีสิ่งที่ต้องการซื้ออยู่แล้ว แต่ไม่รู้ว่าจะซื้อเจ้าไหนดี

     แพลตฟอร์มที่เข้ามามีบทบาทสำคัญ ได้แก่ 1. โซเชียลมีเดีย ได้แก่ วิดีโอ และรูปภาพ 2. E-commerce Marketplace ได้แก่ Lazada, Shopee ซึ่งมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าสูงถึง 26 เปอร์เซ็นต์

Evaluate

     การวิเคราะห์ ประเมินก่อนซื้อ

     แพลตฟอร์มที่เข้ามามีบทบาทสำคัญ ได้แก่ Google, เว็บไซต์แบรนด์

Buy

     ช่องทางการเลือกซื้อ

     แพลตฟอร์มที่เข้ามามีบทบาทสำคัญ ได้แก่

  • E-commerce marketplace 32 % เช่น Shopee Lazada
  • Social commerce 21 % เช่น เฟซบุ๊ก, อินสตาแกรม, ไลน์, ติ๊กต๊อก
  • Super apps (ฟู้ดเดลิเวอรี) 13% เช่น Grab, Line Man, FoodPanda
  • เว็บไซต์จากแบรนด์ใหญ่ 12 %
  • เว็บไซต์ค้าปลีกต่างๆ 12% เช่น เซ็นทรัล, โลตัส, คิงพาวเวอร์
  • เว็บไซต์รายย่อย 11 เปอร์เซ็นต์

 

อีคอมเมิร์ซไทย 2022 ยังโตไม่หยุด

     โดยก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 อีคอมเมิร์ซไทยจะเติบโตอยู่ที่ราว 50 เปอร์เซ็นต์ ออฟไลน์ 5 เปอร์เซ็นต์ แต่หลังจากปี 2019 – 2021 ที่โรคโควิด-19 เริ่มแพร่ระบาดเข้ามาในเมืองไทย ยอดตลาดอีคอมเมิร์ซไทยมีการเติบโตพุ่งสูงขึ้น

     ปี 2019 มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 165,000 ล้านบาท

     ปี 2020 มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 396,000 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 140 เปอร์เซ็นต์)

     ปี 2021 มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 693,000 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 75 เปอร์เซ็นต์)

     จากมูลค่ารวมของตลาดอีคอมเมิร์ซไทยที่กล่าวมานั้น จึงอาจกล่าวได้ว่าในปี 2022 นี้ ยอดการเติบโตของอีคอมเมิร์ซไทยยังเป็นขาขึ้น จาก 5 ปัจจัยสนับสนุน ได้แก่

  • Covid-19 restrictions

โควิดยังคงอยู่ การซื้อขายผ่านช่องทางออนไลน์ยังมีความจำเป็นสำหรับผู้บริโภคยุคปัจจุบัน

  • Deals & Promotion

แบรนด์สินค้าต่างๆ ยังมีดีล และโปรโมชั่นดีๆ ออกมาเสมอ

  • Shop 24/7

การช้อปปิ้งออนไลน์ยังมีเอกลักษณ์ คือ สะดวกสบายสามารถเลือกช้อปได้ตลอด 24 ชั่วโมง ที่ไหนก็ได้

  • Save time

การซื้อขายผ่านช่องทางอีคอมเมิร์ซ ยังเป็นวิธีที่ช่วยประหยัดเวลาให้แก่ผู้ซื้อได้

  • Ease of price comparison

ผู้ซื้อสามารถเลือกซื้อสินค้าได้ง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก และหาข้อมูลวิเคราะห์เปรียบเทียบได้ตลอดเวลา

ขอเชิญผู้ประกอบการ SME ร่วม “สัมมนา ยกระดับ-ปรับกลยุทธ์-ฟื้นฟูธุรกิจ 10 Ways to improve your business“ กับ 10 กูรูมืออาชีพชั้นนำ โดยกองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม อมรบฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย!!! ผ่านระบบ Zoom Meeting

สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.smethailandclub.com/10waystoimproveyourbusiness/

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 08-4555-0802

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี 

RECCOMMEND: MARKETING

ฟังก์ชันแยกบิลจ่ายได้ เทรนด์ใหม่ที่ร้านอาหารต้องรู้ ลูกค้ายุคใหม่อยากจ่ายเท่าที่กินโดยไม่รู้สึกผิด

ไม่ใช่เรื่องต้องรู้สึกผิดอีกต่อไป หากไปกินอาหารกับเพื่อน แล้วอยากแยกรับผิดชอบจ่ายเฉพาะในส่วนที่ตัวเองสั่ง เทรนด์พฤติกรรมใหม่ของผู้บริโภคชาวอเมริกาที่หันมาใช้แอปพลิเคชันแยกจ่ายบิลกันมากขึ้น

ต่อยอดธุรกิจยังไงให้อยู่นานและขายดี กรณีศึกษา ALDI ซูเปอร์มาร์เก็ต ที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

ALDI คือ ซูเปอร์มาร์เก็ตสัญญาติเยอรมัน มีต้นกำเนิดมาจาก 2 พี่น้องตระกูล Albrecht คือ “คาร์ล และ ธีโอ อัลเบรชต์” ที่รับช่วงต่อกิจการมาจากแม่ของเขาที่เปิดร้านขายของชำตั้งแต่ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2