เทคนิคใช้ Customer Journey Map ให้ได้ผล พร้อมตัวอย่างวิธีทำนำไปใช้ได้จริง

 

 

     คงไม่มีใครที่จะสามารถเอาใจทุกคนได้หมด หลายธุรกิจจึงเลือกที่จะปล่อยผ่านลูกค้าที่หงุดหงิดง่าย หรือคุยด้วยยากไป แต่เคยลองวิเคราะห์กันไหมว่าการที่ลูกค้าเป็นแบบนั้นเกิดจากสาเหตุอะไร เพราะข้อมูลที่ได้กลับมาบางทีจะเป็นโอกาสช่องทางในการทำตลาดก็เป็นได้ หนึ่งในวิธีที่จะทำให้รู้ได้ข้อมูลเหล่านั้นก็คือการทำ Customer Journey Map

     วันนี้เราก็เลยจะพาไปดูว่าทำไมลูกค้าถึงอารมณ์เสียง่าย หรือเข้าใจยาก เครื่องมือ Customer Journey Map ส่วนวิธีการจะเป็นอย่างไรไป เมษ์ ศรีพัฒนาสกุล CEO & Founder บริษัท ลูกคิด จํากัด จะเป็นผู้เฉลยคำตอบ

Customer Journey Map คืออะไร

Customer Journey Map คือ เครื่องมือที่ใช้ออกแบบผลิตภัณฑ์ บริการ ประสบการณ์ของลูกค้า เพื่อดูว่าพฤติกรรมผู้บริโภคทั้งก่อนและหลังใช้สินค้าหรือบริการของเราแล้วเป็นอย่างไร โดยสามารถเขียนออกมาได้ว่าในช่วงจังหวะเวลาก่อนที่ลูกค้าที่จะตัดสินใจเลือกซื้อเขาทำอะไรมาบ้าง เช่น มีการหาข้อมูลก่อนตัดสินใจซื้อสินค้าไหมซื้อสินค้าไปแล้วมีปัญหาหรือไม่ หลังจากที่ได้ใช้สินค้าแล้วเป็นอย่างไร ข้อมูลเหล่านี้จะทำให้เราเห็นทุกช่วงเวลาของลูกค้าตั้งแต่ก่อนซื้อไปจนถึงใช้สินค้าจะทำให้เราเห็นปัญหาขณะเดียวกันก็โอกาสในการทำตลาดให้เข้ากับแต่ละช่วงเวลา เพื่อปิดช่องว่างของปัญหาเหล่านั้น

ขั้นตอนในการเขียน Customer Journey Map

  • What ลูกค้าทำกิจกรรมอะไร
  • Where & Who ปฏิสัมพันธ์กับเราผ่านช่องทางไหน
  • How ลูกค้ารู้สึกอย่างไร
  • Why ทำไมรู้สึกอย่างนั้น
  • Opportunities โอกาสในการต่อยอดพัฒนา

 

ตัวอย่างการเขียน Customer Journey Map ของร้านขายเสื้อ

What ลูกค้าทำกิจกรรมอะไร

ก่อน

  • อากาศหนาวอยากได้เสื้อแจ็คเก็ต
  • หาข้อมูลจากร้านต่างๆ
  • เปรียบเทียบแต่ละร้านที่สนใจ
  • ตัดสินใจเลือกร้าน

 

ระหว่างตัดสินใจ

  • เข้ามาเลือกสินค้าที่ร้าน
  • ลองสวมใส่
  • ศึกษาโปรโมชันก่อนชำระเงิน
  • ชำระเงิน

 

หลัง

  • นำมาใช้งาน
  • รีวิวความพึงพอใจ

 

Where & Who ปฏิสัมพันธ์กับเราผ่านช่องทางไหน

ก่อน

  • หาข้อมูลผ่าน Website, Social media
  • ดูรีวิวใน Website

 

ระหว่างตัดสินใจ

  • ชั้นวาง พนักงาน ป้ายแนะนำ
  • ห้องลองสินค้า
  • ป้ายโปรโมชัน
  • พนักงานแคชเชียร์

 

หลัง

  • ช่องทางรับคอมเมนต์ผ่านโซเชียล

 

How ลูกค้ารู้สึกอย่างไร

     แต่ละช่วงเวลาลูกค้ารู้สึกอย่างไร มีความพึงพอใจทุกช่วงเวลาที่ตัดสินใจซื้อหรือเปล่า ซึ่งตรงนี้ก็จะเขียนเป็นกราฟว่าช่วงไหนที่ลูกค้าพึงพอใจหรือว่าไม่พึงพอใจ

Why ทำไมรู้สึกอย่างนั้น

  • อ่านโปรโมชันแล้วไม่เข้าใจ ถามพนักงานก็ตอบไม่ได้
  • ในเว็บไซต์มีคนรีวิวน้อย
  • ข้อมูลน้อย
  • อยากลองหลายครั้งแต่ต้องเดินออกไปหยิบบ่อย

 

Opportunities โอกาสในการต่อยอดพัฒนา 

     เมื่อได้เขียนออกมาแล้วเราก็จะรู้ว่าควรจะปิดช่องว่างในการทำตลาดแบบไหน กรณีของร้านเสื้อผ้าข้างต้นนี้มีปัญหาคือ

  • รีวิวน้อย

วิธีแก้ จัดโปรโมชั่นให้ลูกค้ามารีวิวเพิ่ม อาจจะจัดแคมเปญประมาณว่าถ้ารีวิวเพิ่มจะได้คะแนนไปลดราคาต่อ

  • อ่านโปรโมชันแล้วไม่เข้าใจ ถามพนักงานก็ตอบไม่ได้

วิธีแก้ อบรมพนักงานให้รู้จักวิธีการสื่อสาร ต้องมีป้ายสื่อสารการตลาดชัดเจนมากขึ้น

      เมษ์ อธิบายเพิ่มว่า แต่ปัญหาส่วนใหญ่ของคนทำธุรกิจคือ ไม่ค่อยได้นำข้อมูลที่มีไม่ว่าจะเป็นจากหน้าร้าน เว็บไซต์ ไลน์ เฟซบุ๊ก ฯลฯ มาวิเคราะห์ เช่น เวลาที่ลูกค้าทักแชทมีคนตอบทันทีไหม หรือปล่อยให้รอนานจนลูกค้าอารมณ์เสียและไปร้านอื่น ทั้งหมดเหล่านี้เป็นประสบการณ์และก็ภาพลักษณ์ทางการตลาดทั้งสิ้น

      ดังนั้นหากคุณมีข้อมูลเหล่านี้ ลองไปทำความเข้าใจกับกลุ่มคนที่ไม่ใช่ลูกค้า มันอาจจะทำให้คุณเจอโอกาสสำคัญของการสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ และการสร้างการตลาดที่ตอบโจทย์คนในวงที่กว้างขึ้นก็ได้

 

TEXT : เรียบเรียงจากงานสัมมนา “10 Ways  to improve your business”

ตอน : “ Creative Marketing คิดต่างให้ธุรกิจ Win ด้วยกลยุทธ์ Wow! ”

 

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MARKETING

วิกฤตสูงวัย เด็กเกิดใหม่น้อย กรณีศึกษาธุรกิจญี่ปุ่น ปรับตัวผลิตสินค้าผู้ใหญ่แทนสินค้าเด็ก

Oji Holdings ผู้ผลิตผ้าอ้อมในญี่ปุ่นประกาศยุติผลิตผ้าอ้อมเด็ก หันไปเพิ่มปริมาณการผลิตผ้าอ้อมผู้ใหญ่แทน สาเหตุมาจากอัตราการเกิดที่ลดลงและจำนวนประชากรสูงวัยของญี่ปุ่นที่เพิ่มสูงขึ้น

โอกาสโกอินเตอร์ของแบรนด์ไทย ทำงานกับนักธุรกิจระดับโลก งาน Gifts & Premium Fair ฮ่องกง

ฮ่องกงขึ้นชื่อว่าเป็นดินแดนที่มีการจัดงานแสดงสินค้าที่ยิ่งใหญ่ของโลกแห่งหนึ่ง และหนึ่งในนั้นคืองานแสดงสินค้าของขวัญและของพรีเมียมภายใต้ชื่อ Hong Kong Gifts & Premium Fair ซึ่งกำลังจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 27-30 เมษายน 2024