ส่งออก...คุณพร้อมหรือยัง

 



เรื่อง : สิทธิโชค ชัยวรรณ

     การขายสินค้าและบริการให้กว้างไกลขึ้น ฐานลูกค้าและคู่ค้าที่มากขึ้น หมายถึงผลกำไรและสภาพคล่องที่ดูน่าตื่นเต้นเร้าใจสำหรับเจ้าของธุรกิจ ในบทความนี้ เราขอนำเสนอ “เช็คลิสต์” ทีจะคอยเป็นเพื่อนคู่ใจให้คุณได้พิจารณาให้ถี่ถ้วน และมั่นใจมากขึ้น มีเครื่องมือที่จะช่วยให้คุณก้าวขึ้นเป็นผู้ส่งออกสินค้าที่ประสบความสำเร็จมากมายหลายแง่หลายมุม โดยการเตรียมความพร้อมของคุณให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงและมั่นใจ

“8 ความพร้อมที่คุณควรพิจารณาก่อนส่งออกสินค้า”

การก้าวขยายพื้นที่สำหรับธุรกิจให้กว้างขึ้นหมายถึงการปรับตัวในทุกๆมิติของกลไกการทำงานในองค์กร

1. เป้าหมายและการยอมรับ

     ปราชญ์ได้กล่าวไว้ว่า “สิ่งที่แน่นอนก็คือสิ่งที่ไม่แน่นอน” สิ่งแรกที่ผู้ประกอบการต้องพร้อม นั่นคือสินค้าและบริการจะต้องมีกลุ่มเป้าหมายคู่ค้าที่แน่นอน และสามารถเข้าถึงได้

         นอกจากนี้ ผู้ประกอบการจะต้องสามารถขับเคลื่อน พัฒนาความสัมพันธ์การค้าให้เกิดความแน่นอนชัดเจน และปรับตัวเพื่อเตรียมรับรูปแบบธุรกิจใหม่ที่อาจจะไม่เหมือนเดิม

2. ความพร้อมของบุคลากร

     บุคลากร ถือว่าเป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจของคุณให้มุ่งไปสู่เป้าการผลิตและการขายที่ตั้งไว้  ฉะนั้น ความพร้อมของพนักงานในการรองรับความท้าทายที่เกี่ยวเนื่องกับการติดต่อสื่อสารและตลาดใหม่จึงสำคัญ เพราะการเชื่อมต่อกันระหว่างคู่ค้าจำเป็นต้องมีความฉับไวและชัดเจน ปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมในการสื่อสารได้ดี ความพร้อมเช่นนี้ถือ


3.เงินทุนและแหล่งทุนที่ดี 

     สิ่งนี้ถือว่าเป็นแหล่งน้ำทิพย์ที่คอยบรรเทาดับกระหายในยามยาก การซื้อขายแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศต้องถือกฎหมายและความน่าเชื่อถือเป็นหลัก เงินตราต่างสกุลอาจส่งผลในเรื่องของกำไรขาดทุนได้โดยง่าย ความน่าเชื่อถือของแหล่งทุนทั้งของเราและคู่ค้าก็ต้องได้รับการตรวจสอบถึงความแน่ใจ ดังนั้น จึงต้องตรวจสอบธุรกิจของคุณว่ามีแผนรองรับ และสามารถบริหารความเสี่ยงได้มากน้อยขนาดใด โดยเฉพาะเรื่องภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆเป็นระบบที่ต้องศึกษาอย่างถ้วนถี่

4. ความสามารถในการแข่งขัน

     ผู้ประกอบการมีความมั่นใจในคุณภาพและบริการของสินค้ามากเพียง  เพราะการเข้าไปกระโจนเข้าไปในตลาดใหม่นั้น จำเป็นต้องหาช่องว่างให้สินค้าของผู้ประกอบการแทรกตัวเข้าไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ท้าทายและน่าตื่นเต้น อีกทั้งผู้ประกอบการจะต้องทำการบ้านเพิ่มเติม เช่น การศึกษาตลาด วัฒนธรรม คู่แข่ง สิ่งเหล่านี้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องรู้ เพื่อช่วยให้เห็นโอกาส และรับรู้ถึงความเสี่ยงว่ามีมากน้อยแค่ไหน

5. การปรับแต่งสินค้าให้เหมาะสม

     เนื่องจากผลิตภัณฑ์และบริการของผู้ประกอบการเป็นสินค้าหน้าใหม่ในโลกใบใหญ่ ความยืดหยุ่นในการปรับลักษณะและคุณภาพสินค้า จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้สินค้าของผู้ประกอบการเข้าได้กับกลุ่มผู้บริโภคกลุ่มใหม่ เพราะตลาดที่มีการแข่งขันนี้ อาจไม่ใช่ตลาดที่คุ้นเคย สินค้าบางชนิดจึงจำเป็นต้องมีฉลากข้อมูลสินค้าที่ชัดเจน หรือต้องมีคุณลักษณะที่ตรงตามกฎหมายที่ควบคุมไว้

6. การขนส่ง

     เป็นที่แน่นอนว่าการขนส่งในปัจจุับันมีบริการและทางเลือกมากมาย จึงเป็นที่น่าสนใจและจำเป็นที่จะต้องเลือกให้แน่ใจว่าการขนส่งในแบบที่ผู้ประกอบการเลือกเป็นสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับคุณภาพสินค้าและความคล่องตัวของการบริการ และที่แน่นอนที่สุดก็คือผลกำไรที่ได้จากการประกอบธุรกิจ

7. ตัวแทนจัดจำหน่ายสินค้า

     การทำความรู้จักและมอบหมายให้มีตัวแทนกระจายสินค้าและดูแลการค้าในตลาดใหม่เป็นเรื่องที่คลายความปวดหัวให้กับผู้ส่งออกไปเปราะหนึ่ง เพราะผู้แทนกระจายและจำหน่ายสินค้าสามารถติดต่อกับผู้บริโภคและคู่ค้าโดยตรง และหมายรวมไปถึงในเรื่องการให้บริการหลังการขาย อีกทั้งความรู้และเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับตัวสินค้าและบริการสามารถทำการถ่ายทอดให้กับตัวแทนเพื่อบริการลูกค้าได้รวดเร็วและให้ความมั่นใจกับลูกค้ามากขึ้น

8. จำนวนการส่งออก

     ปริมาณการผลิตสินค้าของธุรกิจเป็นดัชนีตัวหนึ่งที่บ่งบอกได้ว่า สินค้าของผู้ประกอบการพร้อมแล้วหรือยังที่จะส่งออกไปขายยังต่างแดน และเป็นที่น่าสนใจว่า หากตลาดในประเทศต้องการสินค้ามากขึ้นจะมีแผนรองรับความต้องการของต่างประเทศอย่างไร 

      ทั้ง 8 ความพร้อมที่นำเสนอนี้ ถือว่าเป็นข้อมูลที่สำคัญเบื้องต้นสำหรับผู้ที่ต้องการค้นหาตลาดใหม่ๆ โดยเฉพาะการรวมตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อาจไม่ต้องคิดไกลถึงอินโดนีเซีย แต่พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซียและสิงคโปร์เป็นหมู่ประเทศที่เราสามารถติดต่อกันได้ทางบกอย่างสะดวกสบาย อีกทั้งการเปิดประเทศของพม่าก็ยังส่งผลให้เกิดอุปสงค์ที่มากล้นสำหรับผู้ประกอบการไทยอย่างเราๆ 

     ท้ายนี้ การเปลี่ยนแปลงของตลาดแรงงานในเมืองไทยมีผลต่อผลประกอบการอย่างมาก การที่จะมีฐานการผลิตในประเทศที่มีประสิทธิภาพและคุณภาพเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการไทยควรตระหนักอย่างยิ่ง ราคาสินค้าสะท้อนคุณภาพเป็นสำนวนที่เราทราบตลอดเวลา ฉะนั้นแม้จะมีฐานการผลิตในหรือนอกประเทศ การส่งออกสินค้าข้ามประเทศจึงเป็นหนทางที่น่าท้าทายในการทำกำไรและความมั่งคั่งให้กับธุรกิจของคุณ

Create by smethailandclub.com

RECCOMMEND: MARKETING

ย้อนตำนาน มาสคอตไทย ก่อน "น้องหมีเนย" มีแบรนด์ไหนทำมาร์เก็ตติ้งนี้บ้าง

หลายคนมี Brand Love ในใจ ที่ไม่ใช่แค่สินค้าต้องดี จนเรากลายเป็นลูกค้าประจำ ยังต้องมี Brand Characters ที่จะช่วยให้คนจดจำได้ อีกหนึ่งทางเลือกที่ถ้าอยากสร้างแบรนด์ให้ปัง

ขายสินค้าออร์แกนิกให้เป็นแมส จากแนวคิดแบรนด์ KING Organic

KING Organic ผู้ผลิตผัก ผลไม้ และสินค้าแปรรูปออร์แกนิก จ.สมุทรสาคร ได้คิดกลยุทธ์การทำธุรกิจที่เรียกว่า “Mass Premium” ขึ้นมา เพื่อทำของพรีเมียม ให้สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้กว้างขวางมากขึ้น ในราคาที่ใครๆ ก็สามารถจับต้องได้ มีวิธีการยังไง ไปดูกัน