หรือหยวนจะไปไม่ถึงฝันที่จะขึ้นเป็นเสาหลักของโลก




 



    ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ประเมินว่า IMF อาจจะเลื่อนเวลาการอนุมัติให้เงินหยวนเข้าสู่ตะกร้าสิทธิพิเศษถอนเงิน (SDR) ออกไปก่อน ถึงแม้ว่าจีนจะมีความพยายามที่จะทำให้ค่าเงินหยวนสามารถถูกใช้ได้อย่างเสรีในเวทีเศรษฐกิจโลกมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมาแต่อาจยังไม่พอตามเงื่อนไขของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) 

    หนึ่งในเหตุผลหลักที่จีนลดค่าเงินลงร้อยละ 4.5 ในช่วงกลางเดือนสิงหาคมเพื่อให้เงินหยวนสามารถเข้าสู่ตะกร้าสิทธิพิเศษถอนเงิน หรือ Special Drawing Rights หรือ SDR ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF ซึ่งปัจจุบันประกอบไปด้วย ดอลลาร์ ยูโร เยน และปอนด์ ซึ่งอาจเป็นทางลัดสู่การขึ้นเป็นเงินสกุลหลักของโลก 

    โดย SDR เป็นสกุลเงินสมมติที่สร้างขึ้นโดย IMF และจัดสรรไปให้ประเทศที่เป็นสมาชิกของกองทุนเพื่อใช้เป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ โดยมูลค่าของ SDR จะคิดจากมูลค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของเงินในตะกร้า ซึ่งปัจจุบัน 1 SDR มีค่าเท่ากับ 1.4 ดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 50 บาท (ณ วันที่ 21 สิงหาคม) ประเทศสมาชิกสามารถนำเงิน SDR ที่ตนถืออยู่ไปแลกเป็นเงินสกุลหลักทั้งสี่สกุลจากประเทศสมาชิกอื่นๆ ได้ในยามเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ

    อย่างไรก็ตาม การจะเข้าตะกร้าเงิน SDR ได้นั้นมีเงื่อนไขหลักคือประเทศนั้นต้องมีมูลค่าการส่งออกมาก และสกุลเงินของประเทศนั้นมีการใช้และซื้อขายอย่างกว้างขวางนอกประเทศ จากมติของ IMF เมื่อปี 2010 ประเทศจีนผ่านเงื่อนไขแรกเนื่องจากมีสัดส่วนการส่งออกมากเป็นอันดับสองของโลกที่ 11% รองจากสหรัฐฯที่ 14% แต่ไม่ผ่านเงื่อนไขสองเพราะจีนยังควบคุมการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนหยวนอยู่ และยังไม่อนุญาตให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนเข้าออกประเทศได้อย่างเสรีจึงทำให้เงินหยวนไม่ถูกใช้เป็นสกุลเงินหลักอย่างกว้างขวางนอกประเทศ ข้อมูลล่าสุดของ IMF ชี้ให้เห็นว่าสัดส่วนการใช้เงินหยวนในการชำระเงินข้ามพรมแดนมีอยู่เพียง 1% เทียบกับดอลลาร์ที่ 42%, ยูโรที่ 37%, เยนที่ 4% และ ปอนด์ที่ 3% ในขณะที่การซื้อขายเงินหยวนในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ 1.1% เทียบกับดอลลาร์ที่ 44%, ยูโรที่ 17%, เยนที่ 12% และ ปอนด์ที่ 6% 

    IMF จะมีการปรับเปลี่ยนตะกร้าเงิน SDR ทุก ๆ 5 ปี และ IMF จะตัดสินใจว่าจะนำหยวนเข้าตะกร้า SDR หรือไม่อีกครั้งในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาจีนได้พยายามลดการแทรกแซงค่าเงินหยวนและผ่อนคลายข้อจำกัดของการเคลื่อนย้ายเงินทุนเข้าออกประเทศลง นอกจากนี้จีนได้ทำข้อตกลงกับหลาย ๆ ประเทศคู่ค้าเช่น รัสเซีย บราซิล อาเจนติน่า ให้มีการซื้อขายสินค้าในรูปเงินหยวน ผลที่ตามมาก็คือการใช้เงินหยวนในเวทีการค้าการลงทุนระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ดีเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักทั้งสี่โดยเฉพาะอย่างยิ่งดอลลาร์และยูโร บทบาทของหยวนยังถือว่าน้อยมาก 

    ทางศูนย์วิเคราะห์ฯ จึงประเมินว่า IMF อาจจะยังไม่อนุมัติให้เงินหยวนเข้าสู่ตะกร้าเงิน SDR ได้ในปีนี้เนื่องจากจีนยังต้องพยายามทำให้ประเทศอื่นหันมาสนใจใช้และซื้อขายเงินหยวนมากขึ้นก่อน ถ้าจีนสามารถทำได้ IMF อาจจะอนุญาตให้หยวนเข้าตะกร้าเงิน SDR ได้ในการพิจารณารอบถัดไปในอีก 5 ปีข้างหน้า

SME Thailand เพื่อนคู่คิด ธุีรกิจเอสเอ็มอี
ติดตามข้อมูลดีๆ สำหรับ SME ได้ที่ www.smethailandclub.com

RECCOMMEND: MARKETING

ย้อนตำนาน มาสคอตไทย ก่อน "น้องหมีเนย" มีแบรนด์ไหนทำมาร์เก็ตติ้งนี้บ้าง

หลายคนมี Brand Love ในใจ ที่ไม่ใช่แค่สินค้าต้องดี จนเรากลายเป็นลูกค้าประจำ ยังต้องมี Brand Characters ที่จะช่วยให้คนจดจำได้ อีกหนึ่งทางเลือกที่ถ้าอยากสร้างแบรนด์ให้ปัง

ขายสินค้าออร์แกนิกให้เป็นแมส จากแนวคิดแบรนด์ KING Organic

KING Organic ผู้ผลิตผัก ผลไม้ และสินค้าแปรรูปออร์แกนิก จ.สมุทรสาคร ได้คิดกลยุทธ์การทำธุรกิจที่เรียกว่า “Mass Premium” ขึ้นมา เพื่อทำของพรีเมียม ให้สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้กว้างขวางมากขึ้น ในราคาที่ใครๆ ก็สามารถจับต้องได้ มีวิธีการยังไง ไปดูกัน