เจาะ 4 พฤติกรรมผู้ซื้อ ที่ผู้ประกอบการควรรู้



 


เรื่อง กองบรรณาธิการ


    ในวันนี้ต้องยอมรับว่าเฟซบุ๊กได้กลายเป็นแพลตฟอร์มอันดับ 1 ของผู้ใช้งานอี-คอมเมิร์ซ ที่แซงหน้าช่องทางอื่นๆ ที่ผู้บริโภคใช้ในการเข้าถึงข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือในการค้นหาข้อมูลและการบอกต่อแบบปากต่อปาก  

    ขณะเดียวกัน เฟซบุ๊กยังได้รับการจัดอันดับว่าเป็นช่องทางอันดับ 1 ของการซื้อสินค้าบนมือถืออีกด้วย ซึ่งด้วยจำนวนผู้ใช้งานเฟซบุ๊กในประเทศไทยถึง 30 ล้านคนต่อเดือน  ย่อมแสดงให้เห็นถึงโอกาสมหาศาลที่ผู้ประกอบการจะสามารถใช้เฟซบุ๊กในการทำธุรกิจได้เป็นอย่างดี
 
    อย่างไรก็ตาม การที่ผู้บริโภคจะตัดสินใจซื้อสินค้าสักชิ้นนั้นไม่ได้เกิดขึ้นเมื่อแรกเจอในทันที แต่เส้นทางของนักช้อปปิ้งที่เกิดขึ้นบนเฟซบุ๊ก คือการค้นพบสินค้าผ่าน new feed  จากนั้นก็ลงมือค้นหาข้อมูลและพิจารณา  แล้วจึงตัดสินใจคลิก Page Post Link เพื่อไปสั่งซื้อบนเว็บไซต์หรือสั่งซื้อทาง Messenger

   และสุดท้ายเมื่อถูกใจในสินค้าหรือบริการก็จะสนับสนุนต่อด้วยการโพสต์รีวิวสินค้าบน Timeline ดังนั้น หากคิดจะขายของบนเฟซบุ๊กก็ต้องจับพฤติกรรมผู้บริโภคในแต่ละขั้นตอนด้วย
  
    1. การค้นพบ จากการสำรวจของ TNS ประเทศไทย พบว่ามีถึง 92 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามทีเดียวที่ใช้เฟซบุ๊กทุกวัน และ 1 ใน 4 นั้น ค้นพบสินค้าครั้งแรกบนเฟซบุ๊ก ด้วยเหตุนี้ผู้ประกอบการจึงต้องพยายามเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายบน new feeds อยู่ตลอดเวลา

    2. การค้นหาข้อมูล โดย 70 เปอร์เซ็นต์จะค้นคว้าหาข้อมูลบนออนไลน์ก่อนการตัดสินใจซื้อสินค้าหนึ่งชิ้น ซึ่งในขั้นตอนนี้อาจกล่าวได้ว่าเฟซบุ๊กมีอิทธิพลมากที่สุด ดังนั้น จึงควรเสนอข้อมูลด้วยอัลบั้มรูปภาพ วิดีโอ  เชื่อมโยงอินสตาแกรมและเว็บไซต์

    ทั้งนี้ มีผลสำรวจเพิ่มเติมว่า 66 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริโภคซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่และมีการค้นคว้าข้อมูลสินค้าขณะอยู่ในร้านค้าด้วย โดยสมาร์ทโฟนเป็นตัวเลือกที่นิยมสูงสุดสำหรับใช้ในการค้นหาสินค้าและค้นคว้าข้อมูล ไปจนถึงการชำระเงินซื้อสินค้า

    3. การพิจารณา พบว่า 41 เปอร์เซ็นต์ ซื้อสินค้าภายใน 30 วัน  (หมวดจองการท่องเที่ยว) ดังนั้น จึงควรให้เวลาลูกค้าตัดสินใจ โดยทำการ retarget  ระหว่างช่วงพิจารณา และส่งสารด้วยข้อความกระตุ้นการตัดสินใจ 

    4. การตัดสินใจ โฆษณาบนเฟซบุ๊กเพจของแบรนด์ หรือความคิดเห็นเชิงบวกและแชร์ เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้คนไทยตัดสินใจซื้อสินค้า  ดังนั้น ควรเพิ่มคอนเทนต์ ในลักษณะรีวิวสินค้า  ทำโฆษณานำเสนอโปรโมชั่น ปิดการขายพร้อมปุ่มคลิกไปยังเว็บไซต์ ที่สำคัญ ลูกค้าชาวไทยชอบแสดงความคิดเห็นและถามคำถามผ่านเฟซบุ๊กจึงควรให้ความสำคัญในการดูแลเพจเพื่อการตอบคำถามที่รวดเร็วและทันท่วงที

SME Thailand เพื่อนคู่คิด ธุรกิจเอสเอ็มอี
ติดตามข้อมูลดีๆ เพื่อ SME ได้ที่ www.smethailandclub.com

RECCOMMEND: MARKETING

ย้อนตำนาน มาสคอตไทย ก่อน "น้องหมีเนย" มีแบรนด์ไหนทำมาร์เก็ตติ้งนี้บ้าง

หลายคนมี Brand Love ในใจ ที่ไม่ใช่แค่สินค้าต้องดี จนเรากลายเป็นลูกค้าประจำ ยังต้องมี Brand Characters ที่จะช่วยให้คนจดจำได้ อีกหนึ่งทางเลือกที่ถ้าอยากสร้างแบรนด์ให้ปัง

ขายสินค้าออร์แกนิกให้เป็นแมส จากแนวคิดแบรนด์ KING Organic

KING Organic ผู้ผลิตผัก ผลไม้ และสินค้าแปรรูปออร์แกนิก จ.สมุทรสาคร ได้คิดกลยุทธ์การทำธุรกิจที่เรียกว่า “Mass Premium” ขึ้นมา เพื่อทำของพรีเมียม ให้สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้กว้างขวางมากขึ้น ในราคาที่ใครๆ ก็สามารถจับต้องได้ มีวิธีการยังไง ไปดูกัน