5 กลยุทธ์แบรนด์ตัวท็อป ที่ทำให้ลูกค้าหลงรัก โดยไม่เลียนแบบใคร

Text: Neung Cch.


     แบรนด์ที่ยืนหนึ่งในตลาด ไม่จำเป็นต้องถูกที่สุด หรือดีที่สุดในเชิงผลิตภัณฑ์ แต่มักเป็นแบรนด์ที่ กล้าคิดต่าง ทำต่าง และเข้าใจผู้คนลึกกว่าคู่แข่ง

     เส้นทางสู่การเป็น “ตัวท้อป” ไม่ได้เกิดจากการเล่นตามกติกาเดิมแต่มาจากการกล้าคิดใหม่ สร้างเกมใหม่ และลงมือก่อนที่ตลาดจะตั้งตัวทัน ธุรกิจที่โตไว มักไม่เดินตามเทรนด์... แต่มักเป็น “คนเขียนกติกาใหม่” แทน

     หากเป้าหมายการทำธุรกิจคุณอยากเป็นแบรนด์แบบนั้น นี่คือ 5 แนวคิดฉีกกรอบจากแบรนด์ระดับโลก  Spotify, TikTok, Google, ChatGPT (OpenAI) และ Netflix พร้อมแง่คิดที่เจ้าของกิจการทุกระดับสามารถหยิบไปใช้ เพื่อเร่งสปีดสู่จุดสูงสุด

1. อย่าขายแค่ของ ขายอารมณ์ด้วย – Spotify

     หลายคนมอง Spotify เป็นเพียงแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งเพลงขนาดใหญ่ มีบทเพลงนับล้าน แต่ Spotify ไม่ได้ก้าวขึ้นมาเป็นตัวท้อปเพราะมีเพลงมากที่สุด หากแต่พวกเขาเข้าใจว่าผู้ฟังแต่ละคนมีรสนิยมเฉพาะตัว มีอารมณ์และความต้องการที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลา จึงเน้นมอบประสบการณ์พิเศษ ให้ลูกค้าสามารถสร้างเพลย์ลิสต์ส่วนตัว กลายเป็นแม่เหล็กดึงดูดและรักษาผู้ใช้งานได้อย่างเหนียวแน่น โดยเฉพาะในยุคที่ทุกคนอยากรู้สึก “พิเศษ” การสร้างประสบการณ์ทำให้ลูกค้ารู้สึกเป็นส่วนตัว ไม่ใช่แค่กลยุทธ์ แต่เป็นหนึ่งในหัวใจของความสำเร็จ Spotify ทำให้ผู้ใช้รู้สึกเหมือนแบรนด์ “เข้าใจเขา” มากกว่าขายของ

     แง่คิด: ลูกค้าไม่จำแบรนด์ที่ดีสุด แต่จำแบรนด์ที่ เข้าใจเขามากสุด

2. ให้ลูกค้าสร้างแบรนด์ร่วมกับคุณ – TikTok

     ความสำเร็จอันถล่มทลายของ TikTok ส่วนหนึ่งมาจากการให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับวิดีโอ ที่สำคัญเป็นวิดีโอที่ใครๆ ก็สามารถสร้างคอนเทนต์ได้ ด้วยเครื่องมือถ่าย ตัดต่อ และฟิลเตอร์ที่ใช้ง่ายสุดๆ มันคือแพลตฟอร์มที่ ปลดล็อกพลังสร้างสรรค์ของคนทั่วไป จึงทำให้ Tiktok เติบโตด้วยพลังของชุมชน

     แง่คิด: การให้ลูกค้ามีส่วนร่วมกับแบรนด์ ช่วยเสริมพลังและสร้างความผูกพันที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น

3. คิดไกลกว่าเดิม ไม่ยึดแค่สิ่งที่ทำได้ดี Google

     Google เคยมีแค่ search engine แต่ไม่หยุดพัฒนา: ซื้อ YouTube, พัฒนา Android, ปั้น AI ผ่าน Google Cloud ทุกอย่างคือการขยับก่อนที่โลกจะเปลี่ยน

     Google ไม่เคยหยุดที่สิ่งที่ตัวเอง “ทำได้ดี” แต่กล้าขยับก่อนที่ตลาดจะเปลี่ยน เพราะรู้ว่า ถ้าไม่เปลี่ยนตัวเอง คนอื่นจะเปลี่ยนคุณแทน

     แง่คิด: อย่ารอให้ตลาดเปลี่ยนก่อน แล้วค่อยปรับ... ผู้ชนะ คือคนที่กล้าเปลี่ยนก่อน

4. คนใช้ไม่ต้องเก่ง แค่ใช้แล้วรู้สึกฉลาด  ChatGPT

     ChatGPT กลายเป็นเครื่องมือที่ช่วยคน คิด เก่งขึ้น ทำเร็วขึ้น โดยไม่ต้องเรียนรู้ระบบอะไรซับซ้อน มันคือการเอา “AI” มาวางให้คนทั่วไปใช้แล้วรู้สึกว่า ตัวเองฉลาดขึ้น

     ChatGPT ไม่ได้แค่โชว์ว่า AI เก่งแค่ไหน แต่ตั้งใจทำให้ทุกคนใช้งานได้ โดยไม่ต้องเข้าใจเบื้องหลังซับซ้อน

     นี่คือตัวอย่างของนวัตกรรมที่ไม่ได้ทำให้คนรู้สึกด้อย… แต่ทำให้รู้สึกว่า “ฉันก็ทำได้”

     แง่คิด: เทคโนโลยีที่ดีไม่ควรทำให้ลูกค้ารู้สึกด้อย แต่ควรทำให้เขา รู้สึกเก่งขึ้น

5. เปลี่ยนรูปแบบการเสพสื่อทั้งโลก  Netflix

     จากธุรกิจเช่าแผ่น สู่สตรีมมิ่งอันดับหนึ่งของโลก Netflix คือแบรนด์ที่ ฆ่าธุรกิจเดิมของตัวเอง ก่อนจะถูกคนอื่นฆ่า (Blockbuster) และเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ชมทั่วโลก

     แง่คิด: ถ้าคุณไม่กล้าฉีกตัวเอง… คนอื่นจะฉีกคุณแทน

การฉีกกรอบในวันนี้ คือการปูทางสู่การเป็นผู้นำในวันหน้าถ้าคุณกำลังมองหาโอกาสใหม่ในตลาด อย่ารอให้ตลาดมากำหนดคุณ จงเป็นคนเขียนกติกาแทน

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: MARKETING

Generation UnGap ช็อกโกแลตแปลภาษา    ช่วยคนต่างวัยเข้าใจความหมายคำศัพท์ต่าง Gen     

Milka แบรนด์ช็อกโกแลตสาขาในประเทศโรมาเนีย คิดแคมเปญสุดคูลอย่าง “Generation UnGap” หรือ “คำเขา เรารู้” ขึ้นมา เพื่อลดช่องว่างระหว่างวัยของคนยุค Boomer, Gen X, Gen Y และ Gen Z ให้สามารถสื่อสารกันได้อย่างเข้าใจกันมากขึ้น

โพสต์ให้ปังด้วยพลัง AI! 6 เทคนิคสร้างคอนเทนต์ที่ขายของได้จริง

ไม่ว่าคุณจะเป็นแม่ค้าออนไลน์ เจ้าของแบรนด์ ทีมการตลาด หรือครีเอเตอร์มือใหม่ AI ก็สามารถช่วยคุณสร้างสรรค์คอนเทนต์ปังที่จะช่วยในการเจาะตลาดเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำขึ้น

ไทยเที่ยวไทยปี 68 'เมืองรอง' คือขุมทรัพย์ใหม่ เมื่อคนไทยเที่ยวถี่ขึ้น เน้นไป-กลับ

เจาะลึก "เทรนด์ไทยเที่ยวไทย ปี 2568" ว่าทำไมตลาดไม่ถอยเสียทีเดียว แต่เปลี่ยนเกม และคุณต้องเปลี่ยนตามให้ไว ก่อนจะตามไม่ทัน