เปิดโผ 10 ธุรกิจร่วง-รุ่งรับปี 2556 "ความงาม" แชมป์

นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงการจัด 10 อันดับธุรกิจดาวเด่น-ดาวร่วงปี 2556 ว่า ธุรกิจที่คาดว่ามีโอกาสเติบโตมากที่สุด อันดับ 1 คือ ธุรกิจทางการแพทย์และความงามได้ 91.4 คะแนน จาก 100 คะแนน เนื่องจากได้รับผลดีจากกระแสรักษาสุขภาพและความงามมากขึ้น

ทุ่ม 10 ล.จับมือผู้ประกอบการจัด "เที่ยวทั่วไทย 5 ภาค"

นายธวัชชัย อรัญญิก รองผู้ว่าการด้านตลาดภายในประเทศ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ททท.เตรียมที่จะจัดกิจกรรม “เที่ยวทั่วไทย 5 ภาค” ในพื้นที่เมืองหลักและเมืองรองทั้ง 5 ภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อขยายฐานตลาดนักท่องเที่ยว และสร้างการรับรู้ให้คนไทยเที่ยวไทยมากขึ้น โดยเชิญผู้ประกอบการท่องเที่ยวกว่า 160 ราย เข้าร่วมจัดโปรโมชั่นแพ็กเกจท่องเที่ยวทั้ง 5 ภูมิภาค ใช้งบประมาณในการจัดงานครั้งนี้ 10 ล้านบาท

แนะใช้สินค้าสุขภาพเจาะคนชั้นกลางฝรั่งเศส

นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยสถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าของฝรั่งเศส เพื่อดำเนินกลยุทธ์การตลาดเชิงรุกในตลาดยุโรป ว่า ฝรั่งเศสมีเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 2 ในยุโรป รองจากเยอรมนี และมีอัตราการใช้จ่ายต่อปีอยู่ในอันดับต้นๆ ของยุโรป ประชากรฝรั่งเศสกำลังเข้าสู่สภาวะผู้สูงอายุ โดยภายใน 25 ปีข้างหน้า คาดว่าประชากรที่มีอายุมากกว่า 50 ปี จะมีสัดส่วนสูงกว่า 40% ของจำนวนประชากรทั้งหมดที่มีอยู่ 64 ล้านคน

เซเว่นชี้ปัญหาเรื่องค่าแรงไม่เกินสามารถนายจ้าง

ก้าวเข้าสู่ปีมะเส็งงูเล็กกับการเริ่มต้นทำสิ่งใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น รวมถึงการเริ่มต้นการบังคับใช้การประกาศอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่วันละ 300 บาท ที่กำลังเป็นที่จับตามองและกำลังเป็นกระแสอยู่ในขณะนี้ด้วยเช่นกัน หากมองในแง่ของนายจ้าง ไม่ว่าจะมีธุรกิจขนาดเล็ก กลาง หรือว่าขนาดใหญ่ก็ตาม ดูเหมือนว่าจะได้รับผลกระทบต่อนโยบายนี้ไปตามๆ กัน

สรุปปี 55 โรงงานเจ๊งพันรายสูญรายได้ 3 หมื่นล้าน

รายงานข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ในปี 2555 มีโรงงานปิดกิจการประมาณ 1,000 ราย มูลค่า 29,000 ล้านบาท และมีการเลิกจ้างงาน 31,000 คน ส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมใหญ่ปลายปี 2554 รวมถึงไม่สามารถแข่งขันได้จากต้นทุนที่ปรับตัวสูงทั้งจากวัตถุดิบ และค่าจ้างขั้นต่ำ นอกจากนี้ ถูกผู้ประกอบการที่มีความเข้มแข็งทั้งในและต่างประเทศแย่งตลาดสินค้า โดยกิจการที่ได้รับผลกระทบ เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม, โรงงานซ่อมยานยนต์ มอเตอร์ไซค์, ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์, รองเท้า, เฟอร์นิเจอร์ และขุดลอกดินในโครงการก่อสร้าง เป็นต้น

5 แห่งไม่รอดเซรามิกลำปางดิ้นหนีตาย

น.ส.สุปราณี ศิริอาภานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดลำปาง และผู้บริหารโรงงาน SPP เซรามิกลำปาง กล่าวว่า ขณะนี้อุตสาหกรรมทุกระดับใน จ.ลำปาง ประสบปัญหาธุรกิจอย่างหนัก เนื่องจากได้รับผลกระทบจากนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ที่ประะกาศใช้ทั่วประเทศ ตลอดทั้งปรับขึ้นราคาก๊าซได้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ กว่า 200 แห่ง ที่มีสายป่านน้อยต่างทยอยปิดกิจการ ส่วนผู้ประกอบการขนาดใหญ่ก็ต้องมีการปรับแผนการดำเนินการขนานใหญ่เพื่อพยุงให้ธุรกิจอยู่รอด

ส.อ.ท.หวั่นทุนต่างชาติซ้ำเติม SMEs ไทย

นายธนิต โสรัตน์ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ต้องการให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) และกระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณาทบทวนนโยบายการโรดโชว์และการให้สิทธิพิเศษทางภาษีดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศ เข้ามาลงทุนในไทยใหม่ เพราะหากธุรกิจต่างชาติเข้ามาปริมาณมากจะยิ่งทำให้ธุรกิจเอสเอ็มอีไทยต้องปิดตัวรวดเร็วกว่าเดิม โดยเฉพาะกิจการที่เอสเอ็มอีไทยดำเนินการอยู่แล้ว เนื่องจากจะทำให้เกิดการแย่งตลาดและแย่งคนงานจากธุรกิจคนไทยอีก

รัฐย้ำนายจ้างโยนบาปขึ้นค่าแรงทำโรงงานเจ๊ง

นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกระแสข่าวการเลิกจ้างแรงงาน และการปิดกิจการของสถานประกอบการหลายแห่ง ซึ่งถูกมองว่าเกิดจากผลกระทบจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ว่า จากข้อมูลของกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ตั้งแต่วันที่ 1-9 ม.ค.ที่ผ่านมา พบว่ามีแรงงานถูกเลิกจ้างทั้งหมด 421 ราย มีสถานประกอบการปิดกิจการ 5 แห่ง ซึ่งจากการวิเคราะห์การเลิกจ้างของสถานประกอบการทั้ง 5 แห่งนี้ ยืนยันว่าไม่ได้มีผลกระทบจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทแต่อย่างใด มองว่าเป็นการอ้างเหตุการณ์การปรับขึ้นค่าจ้าง 300 บาท เพื่อขอความเห็นใจในการเลิกจ้าง แต่ในความเป็นจริงแล้วนายจ้างมีสาเหตุการ เลิกจ้างมาจากหลายปัจจัย เช่น ไม่มียอดสั่งซื้อหรือออร์เดอร์ การขาดทุนสะสม หรือต้องการย้ายฐานการผลิต ดังนั้น จึงไม่อยากให้เกิดความวิตกกังวลว่าการปรับค่าจ้างในครั้งนี้จะทำให้มีแรงงานตกงานจำนวนมาก