พาณิชย์เทงบก้อนสุดท้ายขยายเวลา "ร้านถูกใจ"

น.ส.วิบูลย์ลักษณ์ ร่วมรักษ์ อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า หลังหารือกับผู้ผลิตสินค้าที่ร่วมโครงการ “ร้านค้าถูกใจ” อาทิ สหพัฒน์ ล็อกซ์เล่ย์ น้ำตาลมิตรผล เพื่อวางแนวทางการดำเนินโครงการในปี 2556 หลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้ขยายโครงการ “โชห่วยช่วยชาติ” ออกไปถึงเดือนมีนาคม 2556 ขณะนี้กรมเตรียมนำงบประมาณที่เหลืออีก 200 ล้านบาท มาดำเนินโครงการร้านค้าถูกใจ แต่จะยกเลิกเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าจ้างขายสินค้าในร้านทั้งหมด เพื่อคัดเลือกผู้ประกอบการที่เป็นตัวจริง ที่ไม่ได้หวังค่าจ้างขายสินค้า ซึ่งจะไม่เน้นการเพิ่มจำนวนร้านค้า แต่จะสร้างความเข้มแข็งให้กับร้านค้าเดิม

ผลวิจัยระบุ SMEs สู้ค่าแรงไม่ไหวส่อลอยแพ 6 แสนคน

ศูนย์วิจัยธุรกิจบัณฑิตย์ระบุปัญหาค่าแรง 300 ทำเอสเอ็มอี 8 แสนถึง 1 ล้านรายตกที่นั่งลำบาก คาดตกงาน 6.4 แสนคน แนะรัฐใช้งบ 1.4 แสนล้านบาทตั้งกองทุนชดเชยส่วนต่างค่าจ้าง บรรเทาความเดือดร้อน

กสิกรไทยเร่งผู้ประกอบการปรับตัวรับ AEC

นายวศิน วณิชย์วรนันต์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ในปี 2556 ยังคงมีปัจจัยทางเศรษฐกิจจากภายนอกประเทศที่ต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด ทั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐที่เป็นไปอย่างเชื่องช้า ขณะที่สถานการณ์ในยูโรโซนยังคงเปราะบาง ส่งผลให้ตลาดเงินและตลาดทุนมีความ ผันผวนเพิ่มขึ้น ทั้งจากอัตราแลกแปลี่ยนและความเสี่ยงของการผิดนัดชำระหนี้ของคู่ค้าระหว่างประเทศ ขณะเดียวกัน ปัจจัยในประเทศเรื่องเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาททั่วประเทศ จะเพิ่มแรงกดดันด้านต้นทุนของผู้ประกอบการด้วย

อุตฯปิดโครงการฟื้นฟู SMEs น้ำท่วม

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ สถาบันเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม จัดสัมมนาสรุปผลการดำเนินโครงการ และพิธีปิดโครงการ “ฟื้นฟูผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่ประสบอุทกภัยด้วยกระบวนการพัฒนาบุคลากรเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน” โดยมีนายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน และปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “Productivity Mindset กับการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยอย่างยั่งยืน” พร้อมการเสวนาแสดงผลการปรับปรุงจากผู้บริหารขององค์กรที่เข้าร่วมโครงการ ณ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

ห่วง 6 ปัจจัยเสี่ยง ปี 56 กด SMEs ทรุด

นายธนิต โสรัตน์ เลขาธิการ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ในปี 2556 ส.อ.ท. มีความกังวล 6 ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมให้ชะลอตัว หรือทรุดตัวลง ประกอบด้วย 1.ผลกระทบค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันทั่วประเทศ และการขาดแคลนแรงงานทุกกลุ่ม, 2.การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก, 3.ความผันผวนราคาน้ำมันตลาดโลก, 4.การปรับราคาของวัสดุดิบในการผลิตสินค้าอย่างเหล็ก เคมีภัณฑ์ กระดาษ, 5.ความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศ และ 6.ความเสี่ยงจากนโยบายภาครัฐ ดังนั้นต้องการให้รัฐบาลหามาตรการเยียวยาผู้ประกอบการเอสเอ็มอี และการลดต้นทุนของประกอบการโดยเฉพาะด้านโลจิสติกส์

อุตฯรองเท้าจัด "ดีไซเนอร์พบผู้ผลิต" ช่วย SMEs

นายครรชิต จันทนพรชัย นายกสมาคมส่งเสริมอุตสาหกรรมรองเท้าไทย เปิดเผยว่า ในปี 2556 คาดว่าอุตสาหกรรมรองเท้าน่าจะเป็นปีที่เหนื่อยกว่าปีที่ผ่านมา และต้องปรับตัวกับปัจจัยเสี่ยงที่เข้ามามีผลกระทบอย่างมาก โดยเฉพาะการปรับค่าแรง 300บาททั่วประเทศ ซึ่งกลุ่มผู้ผลิตที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือ ผู้ผลิตรายเล็กๆ ซึ่งเน้นผลิตสินค้าราคาถูก ดีไซน์ตามแบบแบรนด์ดัง

จ่อลดภาษีนิติบุคคลเหลือ 15% ล่อใจทุนนอก

นายสาธิต รังคศิริ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า แม้ว่าขณะนี้ภาษีนิติบุคคลของไทยจะลดจาก 30% เป็น 23% ในปีที่ผ่านมา และเหลือ 20% ในปีนี้ แต่ก็ยังสูงกว่าประเทศคู่แข่งในภูมิภาค อาทิ ฮ่องกง และ สิงคโปร์ ที่เก็บภาษีนิติบุคคลที่ 16-17% ซึ่งทำให้ไทยยังเสียเปรียบประเทศดังกล่าวในการดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนในไทยดังนั้น กรมสรรพากรจึงตั้งเป้าหมายที่จะปรับลดอัตราภาษีนิติบุคคลให้เหลือ 15 % เพื่อให้ต่ำที่สุดในภูมิภาค ซึ่งจะทำให้นักลงทุนเลือกเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น

อุตฯตั้งทีมดึง SMEs ญี่ปุ่นลงทุนไทย

นายประเสริฐ บุญชัยสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ได้แต่งตั้ง “คณะทำงานชักจูงการลงทุนและเชื่อมโยงผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ญี่ปุ่น และเอสเอ็มอีไทย” ซึ่งมีนายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เป็นประธานและมีผู้บริหารจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นคณะทำงาน เพื่อทำหน้าที่ในการชักจูงการลงทุนและดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากผู้ประกอบการเอสเอ็มอีญี่ปุ่นในกลุ่มผู้รับช่วงการผลิต (Tier 2 และ Tier 3) ให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้น