SME เสี่ยงแค่ไหนต่อการโดนไวรัสล้วงตับ

Text ไศลธร เหมะสิขัณฑกะ







    ปัจจุบันเราอยู่ในยุคที่โลกพัฒนาอย่างรวดเร็วไม่ต่างกับนวนิยายวิทยาศาสตร์ที่ข้าวของเครื่องใช้สามารถเชื่อมต่อเข้าหากันได้หมดผ่านอินเทอร์เน็ต โทรศัพท์มือถือเครื่องเดียวทำหน้าที่เป็นได้ทุกอย่าง ตั้งแต่อุปกรณ์สื่อสารยันรีโมทเครื่องใช้ไฟฟ้า ไปจนถึงทำหน้าที่เป็นบัตรเครดิตและธนาคาร อีกทั้งการทำธุรกิจก็สะดวกขึ้นกว่าแต่ก่อน แต่เมื่อเทคโนโลยีพัฒนาจนก้าวหน้าและอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันได้ สิ่งหนึ่งที่ตามมาคือ บรรดาผู้ไม่ประสงค์ดีที่ใช้ความก้าวหน้าเหล่านี้เป็นเครื่องมือในการฉกทรัพย์ ล้วงตับขโมยข้อมูล หรือแม้แต่ก่อกวนธุรกิจไม่ให้เดินต่อได้


     ข้อมูลจาก แคสเปอร์สกี้ แลป ระบุว่า ประเทศไทยมีจำนวน SME คิดเป็นสัดส่วนมากถึง 98.5 เปอร์เซ็นต์ ของธุรกิจในประเทศทั้งหมด และเป็นแหล่งจ้างแรงงานของประเทศสูงกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั่วโลก อีกทั้งธุรกิจ SME ยังมีสัดส่วนการส่งออกมากถึง 30 เปอร์เซ็นต์ และมีอิทธิพลสำคัญต่อกลยุทธ์การพัฒนาและสร้างการเติบโตของประเทศของรัฐบาลไทย 


     อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะทำธุรกิจใดๆ ก็ตาม ในยุคนี้ผู้ประกอบการก็ต้องใช้คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ แต่ SME ส่วนใหญ่ของไทยยังไม่เห็นความจำเป็นในการป้องกันความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ เนื่องจากเห็นว่าธุรกิจของตนมีขนาดที่เล็กเกินไปและไม่น่าเตะตาต้องใจเหล่าผู้ไม่หวังดี แต่ที่จริงแล้ว นั่นคือความประมาทอย่างใหญ่หลวง เพราะเหล่าโจรไซเบอร์ผู้ไม่หวังดีนั้น ไม่เคยสนใจในขนาดธุรกิจหรือองค์ประกอบใดๆ ของเหยื่อ นอกเหนือไปจาก “เงิน” และความยากง่ายในการเข้าไปฉกเงินนั้นๆ มา 
    

     แม้จะมีการแจ้งเตือนมากมายถึงการระมัดระวังภัยคุกคาม แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการถูกโจรกรรมอยู่มาก มาดูกันว่าพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านี้มีอะไรบ้าง 


     1.การตั้งพาสเวิร์ดเหมือนกันในทุกๆ บริการออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นอีเมล์ เฟซบุ๊ก ไลน์ หรืออะไรก็ตาม ด้วยเหตุผลที่ว่า จำง่าย  

    2.การตั้งพาสเวิร์ดที่ง่ายต่อการคาดเดาเช่น 123456 ซึ่งเคยมีผลวิจัยระบุออกมาแล้วว่าเป็นพาสเวิร์ดยอดแย่ที่สุดในโลก หรือวันเดือนปีเกิดของตนเอง ซึ่งหลายๆ คนก็ยังทำอยู่


    3.การสำส่อนทางข้อมูล ผ่านไดรฟ์สำส่อน (แฟลชไดรฟ์) ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดไวรัสหรือโปรแกรมแฝงอันตรายต่างๆ ได้อย่างง่ายดายที่สุด ต่อให้ไม่ออนไลน์เลยก็มีโอกาสข้อมูลหายหรือเครื่องพังได้

    4.การเข้าเว็บไซต์ที่ไม่ปลอดภัย แม้จะรู้ว่าเสี่ยงแต่ก็ยังต้องขอลอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เว็บไซต์สำหรับผู้ใหญ่ และเว็บดาวน์โหลดซอฟต์แวร์เถื่อนต่างๆ 


    5.การไว้ใจให้ผู้อื่นเข้าถึงข้อมูลตนเอง เช่น แฟน เพื่อนสนิท สามารถล็อกอินเข้าเฟซบุ๊กหรืออินสตาแกรมของเราได้ หรือใช้โทรศัพท์มือถือของเราได้ เป็นต้น


     บรรดากูรูด้านคอมพิวเตอร์มักกล่าวอยู่เสมอว่า ไม่มีระบบรักษาความปลอดภัยใดในโลกที่ดีไปกว่าตัวผู้ใช้เอง ดังนั้น SME ทุกๆ ท่านไม่ว่าจะออนไลน์หรือออฟไลน์ ขอให้เช็คให้ดีว่ามีพฤติกรรมที่ระบุไว้ดังนี้หรือไม่ หากมี ขอให้เลิกเสียก่อนที่จะสาย เพราะขึ้นชื่อว่าไวรัส หรือโจรไซเบอร์ หรืออะไรก็ตาม ขอแค่เหยื่อมีเงินจะมากหรือน้อย มีแค่หลักร้อยพี่แกก็เอา เราเตือนคุณแล้ว 


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: TECH

“จุลินทรีย์คึกคัก” นวัตกรรมกำจัดสารเคมีตกค้างบนดิน ตัวช่วยเกษตรกรประหยัดทุน ได้ธุรกิจยั่งยืน

จุลินทรีย์คึกคัก ตัวช่วยแก้ปัญหาสารเคมีตกค้าง สร้างความยั่งยืนให้กับเกษตรกร ด้วยฝีมือคนไทยจากบริษัท ไบโอม จำกัด บริษัทที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงตอบโจทย์การทำธุรกิจแบบยั่งยืน

เทคนิคขายของออนไลน์อย่างไร ให้สต็อกไม่จม ออร์เดอร์ไม่หลุด

ปฏิเสธไม่ได้ว่าช่วง Double day หรือเทศกาลต่างๆ เป็นโอกาสให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ได้ตักตวงออร์เดอร์มากกว่าช่วงเวลาปกติ แต่จะทำอย่างไรให้โอกาสเหล่านี้ไม่กลายเป็นวิกฤตสร้างปัญหาทางธุรกิจ เช่น สต็อกจม ส่งของไม่ทัน ทำให้สูญเสียลูกค้าในที่สุด

รู้จักเทรนด์ Hyper Automation ช่วย SME กำจัดงานซ้ำๆ น่าเบื่อให้หมดจากองค์กร

Automation หรือ "ระบบอัตโนมัติ" ไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่อนาคตจะพัฒนาไปสู่ Hyper automation เพื่อช่วยกำจัดความยุ่งยากของการทำงานที่ซ้ำซากน่าเบื่อ และก่อนจะสายเกินไป เพื่อให้ธุรกิจตามทันเทคโนโลยี ลองมาทำความรู้จักกับเทรนด์นี้พร้อมกัน