6 แนวทางป้องกันธุรกิจจากภัยไซเบอร์

Text : กองบรรณาธิการ



 
     ในแต่ละปี การขโมยหรือแฮ็คข้อมูลในโลกในโลกไซเบอร์ มีแต่จะเพิ่มปริมาณสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งการใช้งานส่วนบุคคลและสำหรับผู้ประกอบการในโลกธุรกิจ ซึ่งโดยปกติแล้วคนที่ขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องความปลอดภัยในการใช้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต จะเป็น "ประตู" ที่คอยเปิดให้ไวรัสเข้ามาแฮ็คระบบได้โดยง่าย ยกตัวอย่างเช่น พนักงานเปิดอีเมล์ที่มีไวรัส เปิดเว็บไซต์ที่เป็นแหล่มรวบรวมไวรัส หรือติดตั้งโปรแกรมที่ดาวน์โหลดมาจากอินเทอร์เน็ตโดยไม่มีระบบป้องกันที่ดีพอ ทั้งหมดนี้คือสาเหตุที่ทำให้ข้อมูลของเรามีโอกาสถูกแฮ็คได้ ดังนั้น ต้องพยายามระมัดระวัง และเพิ่มความปลอดภัยโดยรวมให้กับธุรกิจ และนี่คือแนวทางที่จะช่วยป้องกันได้ในระดับหนึ่ง

 
1. ใช้รหัสผ่านที่เดาได้ยาก

     การใช้รหัสผ่านที่คาดเดาได้ง่าย ไม่ใช่เรื่องที่ดีอย่างแน่นอน สำหรับองค์กรที่มีพนักงานก็จำเป็นต้องอบรมให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยในโลกไซเบอร์และผลเสียที่จะตามมาจากการถูกแฮ็คข้อมูล เพื่อให้พนักงานช่วยกันตั้งรหัสที่คาดเดาได้ยาก ทำให้ข้อมูลมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เช่น พิมพ์ทั้งอักษรตัวใหญ่และตัวเล็ก เป็นต้น รวมถึงเปิดการแจ้งเตือนเอาไว้ หากมีการล็อคอินผ่านคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น โดยให้ส่งรหัสผ่านเป็น SMS มาที่โทรศัพท์ของเราเพื่อทำการ Activate จากนั้นจึงจะสามารถ log in ได้ 

   
2. โปรแกรม Antivirus

     ไวรัส เป็นภัยคุกคามร้ายแรงอันดับหนึ่งสำหรับคอมพิวเตอร์และเซิฟเวอร์ เพราะเจ้าไวรัสตัวร้าย สามารถก่อความรำคาญ ฝังตัว  สำเนาตัวเองไปอยู่ในคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ รวมถึงทำความเสียหายให้กับระบบของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ วิธีที่ดีที่สุดก็คือการติดตั้งโปรแกรม Antivirus และสแกนเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างสม่ำเสมอ 

 
3. ระบบ Firewall

     หากอาคารคอนโดมิเนียม โรงเรียน หรือมหาวิทยาลัย จำเป็นต้องมีพนักงานรักษาความปลอดภัย การท่องโลกออนไลน์ของเราก็จำเป็นต้องมีระบบ Firewall เพื่อรักษาความปลอดภัยเช่นเดียวกัน ดังนั้น เมื่อ Firewall ตรวจพบข้อมูลที่ไม่ปลอดภัยหรือมีความเสี่ยง ก็จะทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เข้ามาที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา 


4. หมั่นสำรองข้อมูล
     
     ในปัจจุบันมีอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล (External Hardisk) ราคาไม่สูงวางขายอยู่เป็นจำนวนมาก การสำรองข้อมูลที่สำคัญลงบน External Hardisk จะช่วยลดความเสี่ยงให้กับธุรกิจได้         

 
5. จำกัดการเข้าถึงข้อมูล

     ไม่ใช่ความคิดที่ดีแน่ๆ หากเราเปิดให้พนักงานทุกคนมีโอกาสเข้าถึงไฟล์ข้อมูลของธุรกิจได้ ดังนั้น พยายามจำกัดการเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญ อาจเป็นพนักงานไอที หัวหน้าส่วนงาน หรือคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานแต่ละส่วนที่จะมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญนั้นๆ ได้ ไม่อย่างนั้น เดี๋ยวคนนั้นก็เอา USB มาคัดลอกข้อมูล อีกคนก็ถูกไวรัสเล่นงานจากเครื่องตัวเองจนส่งผลกระทบกับระบบ LAN และเซิฟเวอร์ เป็นต้น 

 
6. หาผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้มาคอยดูแล

     การหาพนักงาน IT Support มาคอยดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เป็นเรื่องที่มีความจำเป็นอย่างมากสำหรับการประกอบธุรกิจขนาดกลางขึ้นไป รวมถึงธุรกิจขนาดเล็กที่มีการใช้คอมพิวเตอร์ที่จำเป็นต้องเชื่อมต่อเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ต โดยหน้าที่หลักของพนักงานก็คือการตรวจสอบความปลอดภัยให้ระบบสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดความเสี่ยงจากการถูกแฮ็คข้อมูล ถามว่าการจ้างพนักงานคนหนึ่งมาดูแลเรื่องที่อาจจะไม่เกิดขึ้นนั้นคุ้มค่าหรือไม่ ก็ต้องบอกว่า หากข้อมูลธุรกิจต่างๆ ของเราเสียหายหรือถูกขโมย หรือหายไปจะคุ้มค่าหรือไม่ และอยู่ที่ตัวเราด้วยว่าจะเลือกตัวเลือกไหน 

 
     ยุคของอินเทอร์เน็ตได้ก้าวเข้ามาเปลี่ยนโลกให้ติดต่อสื่อสารและทำธุรกิจได้สะดวกขึ้น แต่ก็ก้าวเข้ามาพร้อมกับช่องโหว่ของเหล่านักจารกรรมข้อมูลและความเสี่ยงจากไวรัส การลงทุนเพื่อดูแลรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลของธุรกิจ จึงมีความจำเป็นเป็นอย่างมาก


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

RECCOMMEND: TECH

“จุลินทรีย์คึกคัก” นวัตกรรมกำจัดสารเคมีตกค้างบนดิน ตัวช่วยเกษตรกรประหยัดทุน ได้ธุรกิจยั่งยืน

จุลินทรีย์คึกคัก ตัวช่วยแก้ปัญหาสารเคมีตกค้าง สร้างความยั่งยืนให้กับเกษตรกร ด้วยฝีมือคนไทยจากบริษัท ไบโอม จำกัด บริษัทที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงตอบโจทย์การทำธุรกิจแบบยั่งยืน

เทคนิคขายของออนไลน์อย่างไร ให้สต็อกไม่จม ออร์เดอร์ไม่หลุด

ปฏิเสธไม่ได้ว่าช่วง Double day หรือเทศกาลต่างๆ เป็นโอกาสให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ได้ตักตวงออร์เดอร์มากกว่าช่วงเวลาปกติ แต่จะทำอย่างไรให้โอกาสเหล่านี้ไม่กลายเป็นวิกฤตสร้างปัญหาทางธุรกิจ เช่น สต็อกจม ส่งของไม่ทัน ทำให้สูญเสียลูกค้าในที่สุด

รู้จักเทรนด์ Hyper Automation ช่วย SME กำจัดงานซ้ำๆ น่าเบื่อให้หมดจากองค์กร

Automation หรือ "ระบบอัตโนมัติ" ไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่อนาคตจะพัฒนาไปสู่ Hyper automation เพื่อช่วยกำจัดความยุ่งยากของการทำงานที่ซ้ำซากน่าเบื่อ และก่อนจะสายเกินไป เพื่อให้ธุรกิจตามทันเทคโนโลยี ลองมาทำความรู้จักกับเทรนด์นี้พร้อมกัน