5 แนวโน้มด้านไอทีในเอเชียแปซิฟิก ปี 57

 

 
 
“เอเดรียน เดอ ลูกา” ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี (ซีทีโอ) บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ เอเชียแปซิฟิก ระบุถึง 5 แนวโน้มด้านไอทีที่สำคัญที่จะเกิดขึ้นในภูมิภาคแห่งนี้ในปี 2557 และจะส่งผลกระทบต่อการใช้งานเทคโนโลยีในองค์กรต่างๆ
 
แนวโน้มแรก  การวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่หรือ  บิ๊กดาต้า (Big Data)จะก้าวไปไกลกว่าการพิสูจน์แนวคิดและเข้าสู่การใช้งานจริงในตลาด  โดยองค์กรจะต้องหาวิธีที่จะช่วยเผยให้เห็นมูลค่าของข้อมูลที่ตนมีอยู่ ตลอดจนปรับใช้โครงสร้างพื้นฐานในลักษณะปรับขยายได้เพื่อแยกผลลัพธ์ที่มีความสำคัญออกจากข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งจากการสำรวจเกี่ยวกับข้อมูลขนาดใหญ่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของ Economist Intelligence Unit (EIU) พบว่าองค์กรมากกว่า 70% ในภูมิภาคนี้เชื่อว่าการนำข้อมูลขนาดใหญ่เข้ามาใช้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ผลักดันให้เกิดความสามารถในการทำกำไร และช่วยสร้างสรรค์นวัตกรรมได้ 
 
อย่างไรก็ตาม องค์กรจำนวนมากพบว่าระบบข้อมูลที่ตนมีอยู่เป็นอุปสรรคในการรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ เนื่อง จากข้อมูลที่ถูกจัดเก็บและถูกจัดการแยกส่วนกัน         
 
แนวโน้มที่สอง เมื่อโมเดลของผู้ให้บริการระบบคลาวด์ (Cloud-Broker Model)เริ่มได้รับความนิยมในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก องค์กรจะปฏิรูปฝ่ายไอทีของตนจากผู้ใช้เทคโนโลยีให้กลายเป็นผู้สร้างนวัตกรรมทางธุรกิจโดยเมื่อถึงเวลาฟื้นฟูเทคโนโลยี พวกเขาจะให้ความสำคัญกับแอพพลิเคชั่นและผลลัพธ์ทางธุรกิจมากกว่าโครงสร้างพื้นฐาน  โดยองค์กรจะเริ่มหันไปหาผู้ผสานรวมระบบ ฝ่ายไอทีภายในองค์กร หรือผู้ให้บริการภายนอกที่มีบทบาทเป็นผู้ให้บริการระบบคลาวด์
 
แนวโน้มที่สาม ความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูลจะเพิ่มขึ้นจนถึงระดับสูงสุด ไม่เพียงแต่ข้อมูลในมือถือที่ถูกส่งไปมาระหว่างอุปกรณ์กับระบบคลาวด์เท่านั้น  แต่ยังรวมถึงข้อมูลที่อยู่ในพื้นที่จัดเก็บด้วย
 
แนวโน้มที่สี่ คือ พบว่า มีการขยายตัวอย่างมหาศาลของข้อมูลที่ไม่มีโครง สร้างจากการสื่อสารผ่านระบบไร้สายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งการเปิดตัวเทคโนโลยีมือถือ 4จี และราคาสมาร์ทโฟนที่สามารถซื้อมาใช้งานได้ไม่ยาก มีผลอย่างมากต่อการขยายตัวของข้อมูลไร้สายในภูมิภาคนี้ และเพื่อจัดการกับเนื้อหาดิจิทัลจำนวนมากของผู้ใช้ ผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคมจึงต้องพัฒนาโครงสร้างด้านไอทีให้น่าเชื่อถือ มีประสิทธิ ภาพสูง และสามารถปรับขยายได้ ด้วยการจัดเก็บข้อมูลแบบแฟลช โดยผสานรวมเข้ากับเครือข่ายขนาดใหญ่อันชาญฉลาด เพื่อสนองความต้องการใช้แบนด์วิธในระดับสูง
 
แนวโน้มที่ห้า คือการแข่งขันระหว่างประเทศและภูมิภาคต่าง ๆ เพื่อต้อง การก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางดิจิทัลแห่งเอเชียจะเริ่มชัดเจนมากขึ้นในปี 2557  โดยบรรดาผู้ให้บริการจะเดินหน้าลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขั้นสูงและทันสมัยเพื่อสร้างความแตกต่างให้กับบริการของตน
 
ทั้งนี้ ข้อมูลขนาดใหญ่, ระบบคลาวด์ และการเข้ารหัสลับข้อมูล เป็นส่วนหนึ่งของแนวโน้มด้านไอทีที่กำลังเป็นประเด็นร้อนแรงทั่วโลก โดยภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีลักษณะทางเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทำให้เราเชื่อว่าแนวโน้มเทคโนโลยีที่กำลังแพร่หลายเพิ่มมากขึ้นเหล่านี้จะเปลี่ยนมุมมองและบทบาทด้านไอทีและระบบจัดเก็บข้อมูลของภูมิภาคนี้ในปี 2557
 
 
 

RECCOMMEND: TECH

นักพัฒนาผลิตภัณฑ์ ยังจำเป็นไหม? เมื่อ SAPPORO ใช้ AI คิดสูตรเครื่องดื่มเร็วกว่าคน 3 เท่า!

SAPPORO บริษัทเครื่องดื่มเก่าแก่ของญี่ปุ่นที่ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1876 มีอายุราว 147 ปี ซึ่งเป็นแบรนด์ที่โดดเด่นเรื่องเบียร์ นอกจากนี้ยังมีเครื่องดื่มคอกเทลที่เป็นที่นิยมในญี่ปุ่นอีกด้วย โดยเป้าหมายหลักของ SAPPORO คือ ต้องการเร่งกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จึงร่วมมือกับ IBM Japan ในการใช้ AI พัฒนาสูตรเครื่องดื่ม AI กับมนุษย์ใครจะพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้เร็วกว่ากัน ตามมาดูกันเลย

Fufuly หมอนฮีลใจ โอกาสธุรกิจยุคที่คนเป็นโรคเครียด

สังคมในปัจจุบันบีบบังคับให้ผู้คนกดดันจากสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัว ทำให้มีคนจำนวน 301 ล้านคน เป็นโรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) และนี่เป็นโอกาสของธุรกิจที่น่าจับตามอง วันนี้เราเลยจะพาทุกคนไปรู้จัก “Fufuly หมอนฮีลใจ ช่วยผ่อนคลายความเครียด จากที่ทำงาน”

เครื่องสแกนความสดผัก ผลไม้ ลดของเสีย ยืดอายุการขาย เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ

หนึ่งในปัญหาสำคัญของผู้จำหน่ายสินค้าผัก ผลไม้ ก็คือ การไม่รู้อายุที่แน่นอนของสินค้า จึงทำให้ไม่สามารถวางแผนการเก็บรักษาและจำหน่ายที่แม่นยำได้ จะดีกว่าไหมถ้ามีเครื่องสแกนบอกอายุผัก ผลไม้ได้