ภัยร้าย แฮคเกอร์ ถล่มเอสเอ็มอี



เรื่อง : นเรศ เหล่าพรรณราย

    อีกด้านหนึ่งของเทคโนโลยีโดยเฉพาะอินเทอร์เนตที่พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วช่วยอำนวยความสะดวกสบายในด้านต่างๆแต่ความเสี่ยงเรื่องของการถูกจู่โจมจากผู้ไม่หวังดีหรือว่าแฮคเกอร์มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเช่นกัน ไม่เพียงแต่ระดับผู้ใช้งานทั่วไปแต่รวมถึงผู้ใช้งานระดับธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กที่มีความเสี่ยงเรื่องการถูกแฮคข้อมูลเพิ่มมากขึ้น

    ล่าสุด เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2557 ที่ผ่านมา  บริษัทไมโครซอฟท์ ได้ประกาศยกเลิกการสนับสนุนระบบปฎิบัติการวินโดวส์เอ็กซ์พี (WindowsXP) ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นระบบปฎิบัติการที่โด่งดังและได้รับความนิยมมากที่สุดทั้งระดับผู้ใช้งานทั่วไปและระดับธุรกิจ สิ่งที่ตามมาคือไมโครซอฟท์จะไม่สนับสนุน Patch ที่จะอัพเกรดเพื่อป้องกันความเสียหายจากการใช้งานอินเทอร์เนตอีกต่อไป (เพื่อบังคับกลายๆให้ต้องใช้ระบบปฎิบัติการณ์ที่ใหม่กว่า เช่น วินโดวส์ 8 ซึ่งเป็นรุ่นล่าสุด)

    กลุ่มผู้ใช้งานที่มีความเสี่ยงมากที่สุดคือกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ส่วนใหญ่ยังคงใช้งาน วินโดวส์เอ็กซ์พี เนื่องจากงบประมาณที่จำกัดทำให้ไม่สามารถอัพเกรดระบบปฎิบัติการใหม่ได้ นี่จึงเป็นความเสี่ยงที่ผู้ประกอบการจะต้องเผชิญในอนาคตถ้าหากไม่มีการปรับตัว

    ยังมีข้อมูลสนับสนุนจาก บริษัท PwC ประเทศไทย เปิดเผยด้วยว่าภัยคุกคามจากอินเทอร์เนตทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอีกกว่า 25% ในอีก 2-3ปีข้างหน้า ขณะที่ภาคธุรกิจทั่วโลกมีเพียงแค่ 17% เท่านั้นที่มีระบบป้องกันภัยที่พร้อมรับมือต่อแฮคเกอร์รุ่นใหม่ๆ  นอกจากนี้งบประมาณด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลจากองค์กรธุรกิจทั่วโลกในปี 2556 มีมูลค่าอยู่ที่ 4.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยปรับตัวสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากปีก่อนถึง 51%  แต่คิดเป็นสัดส่วนเพียง 3.8% ของงบลงทุนด้านไอทีทั้งหมดเท่านั้น

    ขณะเดียวกันผลสำรวจยังได้ระบุด้วยว่า พนักงานบริษัทในปัจจุบัน คิดเป็นสัดส่วน 31%  และ พนักงานเก่าของบริษัท คิดเป็นสัดส่วน 27%  มีแนวโน้มที่จะประกอบการโจรกรรมข้อมูลภายในองค์กรมากที่สุด ขณะที่ผู้บริหารถึง 32% มองว่า แฮคเกอร์เป็นอาชญากรข้อมูลนอกองค์กรอันดับ 1 ตามด้วยคู่แข่งทางธุรกิจที่มีสัดส่วนจากผลสำรวจ  14%

    ล่าสุด วันที่ 10 เมษายน 2557 สี่องค์กรที่เกี่ยวข้องกับกับการใช้งานอินเทอร์เนตประกอบด้วย สมาคมผู้ดูแลเว็บไทย สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย สมาคมความมั่นคงปลอดภัยระบบสารสนเทศ และ ACIS Professional Center ได้ออกจดหมายเตือนถึงช่องโหว่ของเว็บไซต์ที่มีชื่อว่า OpenSSL Heartbleed ซึ่งกำลังเป็นปัญหาที่เว็บไซต์ต่างๆทั่วโลกกำลังเร่งแก้ไขปัญหา

    โดยทั้งสี่องค์กรเรียกร้องให้ผู้ดูแลเว็บไซต์อย่าง เว็บธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ เว็บขายสินค้าออนไลน์ ให้เร่งแก้ไขปัญหาเพื่อปิดจุดอ่อนดังกล่าวโดยเร็ว เพราะ Heartbleed Bug สามารถเจาะเข้าไปยังฐานข้อมูลของเวบไซท์ที่อยู่ภายใต้ระบบ  OpenSSL Library ซึ่งมีจำนวนกว่าล้านเว็บไซต์ทั่วโลกได้  ขณะเดียวกัน Heartbleed Bug ยังสามารถแฮคเข้าไปยังระบบของโซเชียลมีเดียชื่อดังอย่าง Facebook Twitter Gmail ได้อีกด้วยซึ่งทางแก้ไขคือผู้ใช้งานต้องเปลี่ยนพาสเวิร์ดของตัวเองอย่างต่อเนื่อง

    ทั้งนี้ ผู้บริหารเว็บไซต์ที่สงสัยว่าจะถูกล้วงข้อมูลจากช่องโหว่ดังกล่าวสามารถตรวจสอบความเสี่ยงได้ที่ www.tisa.or.th/heartbleed โดยพิมพ์ชื่อเว็บไซต์ของตัวเองลงไป หากตรวจพบว่าติดอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงจะต้องรีบอัพเกรดระบบของตัวเองโดยเร็ว

    เห็นได้ว่าความเสี่ยงจากภัยร้ายบนอินเทอร์เน็ตมีผลต่อผู้ใช้งานทุกระดับตั้งแต่บริษัทขนาดใหญ่ ผู้ใช้งานทั่วไป จนถึงระดับเอสเอ็มอี การติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิดเท่านั้นถึงจะช่วยให้ปลอดภัยจากการถูกคุกคามโดยแฮคเกอร์


 

RECCOMMEND: TECH

นักพัฒนาผลิตภัณฑ์ ยังจำเป็นไหม? เมื่อ SAPPORO ใช้ AI คิดสูตรเครื่องดื่มเร็วกว่าคน 3 เท่า!

SAPPORO บริษัทเครื่องดื่มเก่าแก่ของญี่ปุ่นที่ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1876 มีอายุราว 147 ปี ซึ่งเป็นแบรนด์ที่โดดเด่นเรื่องเบียร์ นอกจากนี้ยังมีเครื่องดื่มคอกเทลที่เป็นที่นิยมในญี่ปุ่นอีกด้วย โดยเป้าหมายหลักของ SAPPORO คือ ต้องการเร่งกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จึงร่วมมือกับ IBM Japan ในการใช้ AI พัฒนาสูตรเครื่องดื่ม AI กับมนุษย์ใครจะพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้เร็วกว่ากัน ตามมาดูกันเลย

Fufuly หมอนฮีลใจ โอกาสธุรกิจยุคที่คนเป็นโรคเครียด

สังคมในปัจจุบันบีบบังคับให้ผู้คนกดดันจากสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัว ทำให้มีคนจำนวน 301 ล้านคน เป็นโรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) และนี่เป็นโอกาสของธุรกิจที่น่าจับตามอง วันนี้เราเลยจะพาทุกคนไปรู้จัก “Fufuly หมอนฮีลใจ ช่วยผ่อนคลายความเครียด จากที่ทำงาน”

เครื่องสแกนความสดผัก ผลไม้ ลดของเสีย ยืดอายุการขาย เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ

หนึ่งในปัญหาสำคัญของผู้จำหน่ายสินค้าผัก ผลไม้ ก็คือ การไม่รู้อายุที่แน่นอนของสินค้า จึงทำให้ไม่สามารถวางแผนการเก็บรักษาและจำหน่ายที่แม่นยำได้ จะดีกว่าไหมถ้ามีเครื่องสแกนบอกอายุผัก ผลไม้ได้