ของมันต้องมี! Digital Tools เปลี่ยนโอกาสที่หล่นหาย เป็นรายได้ในพริบตา

TEXT : สุภาวดี ใหม่สุวรรณ์ PHOTO :  เจษฎา ยอดสุรางค์

  

Main Idea
 
  • เส้นบางๆ ระหว่างความเสียเปรียบ-ได้เปรียบ ในเรื่องขนาดธุรกิจเริ่มหดหายไป เมื่อเครื่องมือดิจิทัลถูกพัฒนาขึ้นมาใช้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
 
  • แค่ SME เข้าใจเครื่องมือและวิธีการใช้ซึ่งไม่ได้จำกัดแค่การขายออนไลน์ แต่ต้องทะลุไปถึงระบบหลังบ้าน เปลี่ยนชั่วโมงที่สูญเปล่าให้เป็นชั่วโมงทำเงินได้ในพริบตาเดียว





     SME ส่วนใหญ่ทำธุรกิจอย่างเจียมเนื้อเจียมตัว เพราะคิดว่าไซส์เล็ก ทรัพยากรน้อย จะไปสู้ใครเขาไหว ความคิดเหล่านี้สะสมและก่อเป็นกำแพงสูงในใจ แต่เครื่องมือดิจิทัลที่พัฒนาขึ้นมา ค่อยๆ ทลายกำแพงดังกล่าวลง เส้นบางๆ ระหว่างความเสียเปรียบ-ได้เปรียบ เริ่มไม่มี มีแต่จะสูญเสียโอกาส หากไม่รู้จักใช้ Digital Tools ให้เป็นประโยชน์


     “ถ้าเทียบกับสมัยก่อน SME อาจจะเสียเปรียบ แต่เวลานี้ Size doesn’t matter... ขนาดธุรกิจไม่ใช่สิ่งสำคัญ SME สามารถพัฒนาตัวเองได้ในโลกยุคโมบายและคลาวด์ ความท้าทายที่น่าสนใจคือ การนำเครื่องมือดิจิทัลมาใช้เพิ่มความสามารถทางการแข่งขัน ไม่ใช่เฉพาะแค่การขายออนไลน์อย่างที่เข้าใจกัน แต่ต้องทะลุไปถึงระบบหลังบ้านด้วย”





     นี่คือปัญหาของ SME ที่ สมศักดิ์ มุกดาวรรณกร ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมธุรกิจองค์กร ขนาดกลาง ขนาดย่อม และบริหารพันธมิตร บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด มองเห็น SME ประเมินศักยภาพของตนต่ำเกินไป และคิดว่าค่าใช้จ่ายเรื่องเทคโนโลยีนั้นแพงเกินเอื้อม การทำ Digital Transformation จึงไม่คืบหน้ามากนักในกลุ่ม SME


     แต่ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคลาวด์ในปัจจุบัน ทำให้การจับจ่ายเครื่องมือดิจิทัลเป็นไปในลักษณะ Pay Per Use คือใช้เท่าไร จ่ายเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องลงทุนเซ็ตระบบเป็นหลักหมื่นหลักแสนอีกต่อไป SME เลยสามารถขยาย (Scale up) หรือลด (Scale down) ขนาดธุรกิจให้ฟิตเข้ากับตลาดได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าธุรกิจจะอยู่ในช่วงขาขึ้นหรือขาลงก็ตาม


     “นโยบายเรื่อง Digital Transformation ของไมโครซอฟท์ เราต้องการช่วยให้ SME สามารถ Engage กับลูกค้าได้ดีมากขึ้น มี Productivity มากขึ้น รวมไปถึงมี Insight เกี่ยวกับลูกค้า นอกจากเครื่องมือพื้นฐานที่ใช้กันทั่วไปอย่าง Word, Excel หรือ PowerPoint เรายังมีผลิตภัณฑ์ที่ช่วยเสริมศักยภาพและความคล่องตัวให้กับ SME ตั้งแต่หน้าร้านจนถึงหลังร้าน”




     อย่างชุดซอฟต์แวร์และบริการคลาวด์ในตระกูล Office 365 ที่พัฒนาให้เหมาะสำหรับธุรกิจที่มีสินค้าเป็นงานบริการ เช่น ร้านสปา ร้านอาหาร คาร์แคร์ ฯลฯ ฟีเจอร์เด่นอย่าง Booking จะเปิดโอกาสให้ลูกค้าจองวัน-เวลา ที่สะดวกเข้ามาใช้บริการผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของร้านได้โดยตรง ส่วนเอสเอ็มอีเจ้าของร้านก็สามารถมองเห็นความเคลื่อนไหวของทั้งธุรกิจผ่านระบบ Dashboard เช่น มีคนเข้ามาใช้บริการรวมกี่ชั่วโมง พนักงานคนไหนให้บริการดีที่สุด จะได้ให้รางวัลเป็นกำลังใจในการทำงานถูกคน รวมทั้งสามารถบริหารจัดการทรัพยากรของร้านที่ไม่ได้ถูกใช้ ให้เกิดประสิทธิภาพผ่านมือถือได้เลย  


     ยกตัวอย่างเช่น หาก SME รู้แล้วว่าวันพรุ่งนี้เช้าไม่มีลูกค้าเข้ามาจับจองใช้บริการผ่านระบบ แทนที่จะเปิดแอร์ทิ้ง ปล่อยห้องว่าง พนักงานไม่มีอะไรทำ เอสเอ็มอีสามารถคิดโปรโมชั่นดึงดูดลูกค้าเดี๋ยวนั้น เช่น ติดต่อลูกค้าขาประจำให้มาใช้บริการในวันเวลาดังกล่าว โดยมอบส่วนลดเป็นการจูงใจ เพื่อไม่ให้โอกาสในการสร้างรายได้นั้นสูญเปล่า หรือหากสเกลใหญ่หน่อย ก็สามารถต่อยอดทำโปรแกรม CRM สร้างสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าได้


     “ธุรกิจบริการถือเป็น Asset ของชาติ ประเทศเรามี Service Mind ที่ดีมาก จะทำอย่างไรให้ธุรกิจเกิดประสิทธิภาพสูงสุด เป็นที่พึงพอใจของลูกค้าผู้บริโภค เราไม่อยากเห็นโอกาสตกหล่นรายทางอย่างน่าเสียดาย ทั้งนี้ เราอาจจะได้บิสซิเนส โมเดลใหม่ ที่เจ้าของร้านไม่ต้องจ่ายเงินเดือนพนักงานที่เป็น Fix Cost อีกต่อไป ในทางกลับกัน พนักงานนอกจากจะรับรายได้เป็นรายชั่วโมง ยังสามารถนำเวลาว่างไปหารายได้เสริม ถือเป็นการสร้างประสิทธิภาพอย่างเต็มขีดจำกัดทั้งเจ้าของร้าน พนักงาน และลูกค้า”





     นอกจากนี้ เครื่องมือดิจิทัลยังจะช่วย SME ขยายธุรกิจออกด้านข้าง (Scale Out) โดยใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลลูกค้าที่มีอยู่เดิม นำไปสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ หรือมองหาสินค้าเซกเมนต์อื่นๆ มาเพิ่ม เช่น เจ้าของธุรกิจสปาเปิดร้านกาแฟเพิ่ม เป็นต้น รวมถึงการขยายสาขาจาก 1 เป็น 2 ซึ่งสมัยก่อนอาจต้องเหนื่อยกับการบริหารจัดการที่เพิ่มเป็น 2 เท่า แต่ด้วยการใช้เครื่องมือดิจิทัล งานเลยไม่ได้เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว เพราะคนที่ทำงานหลักๆ คือ คอมพิวเตอร์
ไมโครซอฟท์ได้ร่วมสนับสนุนเทคโนโลยี AI ในโครงการพัฒนาระบบห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National E-Library) โดยโชว์ระบบ Chatbot ที่ช่วยถาม-ตอบเกี่ยวกับหนังสือที่ต้องการ เพียงแค่ป้อนชื่อหรือรูปถ่ายเข้าไป ระบบก็จะค้นหาหนังสือให้อย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีดังกล่าวยังสามารถต่อยอดใช้กับธุรกิจของ SME ได้ด้วย ซึ่งสมศักดิ์อธิบายว่า...


     “สำหรับ SME กลุ่มที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์ชิ้นเล็กๆ จำนวนมากๆ เช่น วัสดุก่อสร้าง อะไหล่รถยนต์ เครื่องเขียน ฯลฯ และมีการจัดเก็บฐานข้อมูลสินค้าอย่างดี เทคโนโลยี AI machine learning จะช่วย SME ในการค้าขาย เพียงแค่เห็นรูปสินค้า ก็สามารถระบุประเภท รุ่น ราคาสินค้าได้อย่างแม่นยำ หรือแนะนำสินค้ารุ่นที่ใกล้เคียงกันได้ โดยไม่ต้องไปนั่งเปิด   แคตาล็อคไล่หาไปเรื่อย”


      เหล่านี้ถือเป็นตัวอย่างของการใช้เครื่องมือดิจิทัลในกลุ่ม SME อย่างง่ายๆ ซึ่งทีมงานไมโครซอฟท์และพาร์ทเนอร์ได้ร่วมกันพัฒนาขึ้นมา และจะนำเสนอเป็นโซลูชั่นให้ SME ได้เลือกช้อป เลือกใช้ เพื่อเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันในยุคดิจิทัล ในงาน SME day ที่ทางไมโครซอฟท์กำลังจะจัดขึ้นภายในไตรมาส 1 นี้


     เกี่ยวกับการเลือกใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่มากมาย สมศักดิ์ให้คำแนะนำว่า เอสเอ็มอีควรใช้เทคโนโลยีที่ On-demand ได้ และจัดซื้อมาใช้ในราคาที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงการลงทุนในลักษณะ Fix Charge ที่แพงเกินตัว ทุกวันนี้เครื่องมือดิจิทัลมีให้เลือกใช้ทั้งแบบเช่าใช้งาน แบบคิดค่าบริการรายเดือน หรือคิดค่าใช้จ่ายตามจำนวนลูกค้า เรียกว่าจ่ายตามไซส์ของธุรกิจที่เติบโต อย่างฟีเจอร์ Booking ที่ช่วยจัดการทรัพยากร และหาลูกค้าเพิ่ม ก็มีค่าใช้จายเพียง 420 บาทต่อเดือนเท่านั้น


     “ปีนี้เราไม่รู้ว่าเศรษฐกิจท่ามกลางการเลือกตั้งจะเป็นเช่นไร ไม่รู้ว่าธุรกิจเราจะขึ้นหรือลง การเตรียมตัวที่ดีที่สุดคือ การทำธุรกิจให้เป็นดิจิทัลมากที่สุด บนพื้นฐานต้นทุนที่ต่ำที่สุด เอสเอ็มอีต้องเปิดกว้างกับวิธี Engage ลูกค้ารูปแบบใหม่ๆ เพราะพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไปใช้ชีวิตอยู่บนโลกออนไลน์มากขึ้น แล้วอนาคตคงจะเดินไปทางสาย Data และ AI ดังนั้น เอสเอ็มอีต้องแข็งแรงทางด้านเทคโนโลยี อย่าหวังพึ่งพารัฐบาล แม้ว่าภาครัฐจะมีหลายๆ โปรแกรม ที่จะปล่อยออกมาช่วยเหลือ SME ก็ตาม


     สิ่งที่ดีที่สุดคือ เราต้องสามารถยืนได้ด้วยตัวเราเอง และให้ความสำคัญกับเรื่อง Integration ส่วนใหญ่ SME จะเข้าใจว่าการใช้ Social Media คือดิจิทัลแล้ว นั่นเป็นแค่การสร้างดีมานด์ หรือสร้าง Awareness ไม่ได้มีเทคโนโลยีอย่าง AI มาช่วยจัดการระบบที่จะตอบสนองลูกค้า หรือทำให้ SME ปิดการขายได้เร็วขึ้น วันนี้โอกาสมาแล้ว ที่ธุรกิจขนาดเล็กจะใช้ฟีเจอร์ไม่ต่างจากธุรกิจใหญ่ๆ แล้วฟีเจอร์เหล่านี้มีการอัพเดตตัวเองให้เก่งขึ้นตลอดเวลา SME ก็สามารถพัฒนาเป็นผู้ประกอบการเวอร์ชันที่ดีที่สุดได้ เพียงแค่เปิดโอกาสให้กับตัวเองเท่านั้น”
 
 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี




 

RECCOMMEND: TECH

“จุลินทรีย์คึกคัก” นวัตกรรมกำจัดสารเคมีตกค้างบนดิน ตัวช่วยเกษตรกรประหยัดทุน ได้ธุรกิจยั่งยืน

จุลินทรีย์คึกคัก ตัวช่วยแก้ปัญหาสารเคมีตกค้าง สร้างความยั่งยืนให้กับเกษตรกร ด้วยฝีมือคนไทยจากบริษัท ไบโอม จำกัด บริษัทที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงตอบโจทย์การทำธุรกิจแบบยั่งยืน

เทคนิคขายของออนไลน์อย่างไร ให้สต็อกไม่จม ออร์เดอร์ไม่หลุด

ปฏิเสธไม่ได้ว่าช่วง Double day หรือเทศกาลต่างๆ เป็นโอกาสให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ได้ตักตวงออร์เดอร์มากกว่าช่วงเวลาปกติ แต่จะทำอย่างไรให้โอกาสเหล่านี้ไม่กลายเป็นวิกฤตสร้างปัญหาทางธุรกิจ เช่น สต็อกจม ส่งของไม่ทัน ทำให้สูญเสียลูกค้าในที่สุด

รู้จักเทรนด์ Hyper Automation ช่วย SME กำจัดงานซ้ำๆ น่าเบื่อให้หมดจากองค์กร

Automation หรือ "ระบบอัตโนมัติ" ไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่อนาคตจะพัฒนาไปสู่ Hyper automation เพื่อช่วยกำจัดความยุ่งยากของการทำงานที่ซ้ำซากน่าเบื่อ และก่อนจะสายเกินไป เพื่อให้ธุรกิจตามทันเทคโนโลยี ลองมาทำความรู้จักกับเทรนด์นี้พร้อมกัน