“5 วิธี” เตรียมตัวให้พร้อม ก่อนออกงานแฟร์แบบ Virtual

TEXT : กองบรรณาธิการ
PHOTO : กิจจา อภิชนรจเรข





     การออกงานแสดงสินค้ายังคงเป็นโอกาสและความหวังของผู้ประกอบการ SME โดยเฉพาะกลุ่มผู้ส่งออกที่จำเป็นต้องมีเวทีไว้พบปะบายเออร์ นักลงทุนและนักธุรกิจในต่างประเทศ ในแต่ละปีเราเลยเห็นผู้ประกอบการไทยเดินทางไปออกงานแฟร์ต่างประเทศกันอย่างคึกคัก แต่ก็ต้องทนแบกรับกับค่าใช้จ่ายทั้งการเดินทาง ค่าที่พัก ค่าออกบูธ ค่าทำบูธ ค่าใช้จ่ายของพนักงาน ฯลฯ และยังต้องมาลุ้นว่าหลังงานจะได้ลูกค้ากลับมาคุ้มกับเม็ดเงินที่ลงทุนไปหรือไม่    


     แต่ในวันที่โลกได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 งานแสดงสินค้าต่างๆ ถูกยกเลิกและเลื่อนการจัด ผู้คนต้องเว้นระยะห่างตามมาตรการ Social Distancing การออกงานแฟร์ที่เป็นลักษณะเสมือนจริง หรือ  Virtual Trade Fair กลายเป็นทางออกและคำตอบ ที่สำคัญยังสามารถแก้ปัญหา “ได้ไม่คุ้มเสีย” ที่ SME เคยเผชิญมาในอดีตอีกด้วย


     ว่าแต่การออกงานแฟร์ที่เป็นออนไลน์จะเหมือนหรือแตกต่างกับออนกราวน์หรือไม่? แล้ว SME ต้องเตรียมตัวอย่างไร SME Thailand เก็บตกกลยุทธ์เด็ด จากงาน “THAILAND Trade Fair 2021” มหกรรมงานแสดงสินค้าและเจรจาธุรกิจในรูปแบบ Virtual Trade Fair และ Virtual - Online Business Matching ที่จะจัดขึ้นระหว่าง 29 มีนาคม – 9 เมษายน 2564 มาฝากทุกคน เพื่อเตรียมความพร้อมและไปคว้าโอกาสจากงานนี้ไปด้วยกัน   



 
 
  • เตรียมคนให้พร้อม
          
     
     การไปออกงานแสดงสินค้าแบบเสมือนจริงที่ทุกอย่างอยู่บนออนไลน์ แม้จะแตกต่างจากงานแฟร์แบบออนกราวด์อยู่บ้างในเรื่องของรูปแบบ แต่พื้นฐานของการเตรียมความพร้อมไม่ได้แตกต่างกันนัก โดยหัวใจสำคัญคือการเทรนคนให้พร้อม ทั้งพนักงานที่มีทักษะทางภาษาโดยเฉพาะภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาหลัก สามารถสื่อสารและเจรจาต่อรองกับผู้ซื้อต่างประเทศได้ดี มีความเข้าใจในตัวสินค้า มีเทคนิคในการคุยและการปิดการขาย ทั้งผ่านการแชตหรือวิดีโอคอล แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี และรู้วิธีการใช้เครื่องมือและแพลตฟอร์มต่างๆ เพราะทุกอย่างล้วนอยู่บนออนไลน์   
               

     สำหรับ SME หากจะมาออกงานแฟร์แบบ Virtual แล้วยังไม่แข็งแรงทางด้านภาษา หรือการใช้เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ก็อาจหาพนักงานที่มีทักษะดีๆ มาช่วยได้ รวมถึงอาศัยข้อดีของการเป็นระบบออนไลน์ ที่ทำให้เรามีเวลาในการเตรียมตัว หาข้อมูล สามารถปรึกษาหารือกันก่อนตอบแชตลูกค้า กระทั่งเลือกคำตอบดีๆ เงื่อนไขที่ใช่ ให้กับบายเออร์ที่มาติดต่อกับเราได้ด้วย   




 
  • ศึกษาแพลตฟอร์มให้ดี


     สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างการออกงานแฟร์ทั่วไปกับงาน Virtual Trade Fair คืองานแฟร์ Virtual จะเป็นการทำงานบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งแต่ละแพลตฟอร์มก็มีเครื่องไม้เครื่องมือที่มาช่วยสนับสนุนผู้ขายที่แตกต่างกันไป อย่างเช่น งาน THAILAND Trade Fair 2021 ที่ใช้แพลตฟอร์มของ Virtual Solution ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มการจัดอีเวนต์-งานนิทรรศการเสมือนจริง ที่มีฟังก์ชั่นอย่างระบบแชตและวิดีโอคอล ที่ให้ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถเจรจาการค้าระหว่างกันได้ มี Business Lounge ที่ให้ผู้ประกอบการและนักลงทุนสามารถคลิกเข้าไปนัดเจรจาธุรกิจ (Business Matching) กันได้ในระบบ Video Conference เป็นต้น ซึ่งเครื่องมือต่างๆ เหล่านี้ จะช่วยสนับสนุนการขายในแบบ Virtual ของ SME ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผู้ประกอบการจึงควรศึกษาเครื่องมือต่างๆ ให้ดี ผ่านคำแนะนำของผู้จัดงาน ก่อนนำพาตัวเองไปเฉิดฉายในงานแฟร์แบบ Virtual



 
 
  • เตรียมสินค้าและข้อมูลในการขาย


     ในการออกงานแฟร์แบบ Virtual ลูกค้าไม่สามารถสัมผัสตัวสินค้าจริงๆ ได้เหมือนการออกงานแฟร์ออนกราวด์ทั่วไป ฉะนั้นสิ่งที่ SME ต้องทำ คือ ต้องเตรียมรูปภาพสินค้าที่เน้นความสวยความ ดูน่าสนใจ มีความเสมือนจริงในเรื่องของสัดส่วน ตลอดจนคุณสมบัติต่างๆ ที่ต้องให้เห็นชัดเจนมากที่สุด
               

     รวมถึงต้องเตรียมเครื่องมือทางการตลาดอื่นๆ เช่น วิดีโอแนะนำสินค้า โบรชัวร์ ข้อมูลสินค้า ราคา ปริมาณการสั่งซื้อขั้นต่ำ ฯลฯ รวมถึงการติดตามหลังงาน โดยในการออกงานแสดงสินค้าแบบ Virtual ลูกค้าไม่ได้เห็นสินค้าของจริง จึงไม่อาจตัดสินใจได้ทันทีในเรื่องของคุณภาพสินค้า ฉะนั้นสำหรับแบรนด์ใหม่ที่ยังไม่เป็นที่รู้จัก หรือยังไม่เคยเจรจาการค้ากับลูกค้ารายนั้นๆ มาก่อน ก็อาจต้องเตรียมสินค้าตัวอย่างเพื่อส่งไปให้กับลูกค้าในภายหลังด้วย รวมถึงติดตามลูกค้าเพื่อให้เกิดการปิดการขายตามมาในที่สุด



 
 
  • เข้าใจตลาด รู้จักกลุ่มเป้าหมาย


     ในการออกงานแสดงสินค้าไม่ว่าจะผ่านช่องทางไหน สิ่งที่ SME จะต้องมีและลืมไม่ได้ คือการเข้าใจตลาด และรู้จักกลุ่มเป้าหมาย โดยงานแฟร์แบบ Virtual มีการโฟกัสตลาดเป้าหมายที่แตกต่างกันไป ไม่ได้หมายถึงทุกประเทศบนโลก แต่มีตลาดหลักๆ ที่เป็นโอกาสสำหรับงานนั้นๆ อยู่ อย่างเช่น งาน THAILAND Trade Fair 2021 ที่มีตลาดหลักคือ จีน ญี่ปุ่น เวียดนาม ฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์ และมาเลเซีย ซึ่งสิ่งที่ SME จะต้องเตรียมความพร้อม คือการศึกษาตลาด ต้องรู้ก่อนว่าสินค้าของเราจะไปขายใคร กลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่เข้ามาใน Virtual Trade Fair เป็นใคร แล้วผลิตภัณฑ์ของเราจะเหมาะกับกลุ่มไหนอย่างไร
รวมถึงการใช้หลักการตลาด 4P มาช่วย อย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ของเราต้องขายขนาดแบบไหน สีสันเป็นอย่างไร ประเทศนั้นๆ ใช้หรือไม่ใช้ของเรา โครงสร้างราคาที่เอาไปขายต้องเป็นอย่างไร ขายผ่านลูกค้าโดยตรงแบบ B2C หรือขายให้ B2B ที่ต้องเอาสินค้าไปขายต่ออีกทอด แล้วต้องตั้งราคาแบบไหนถึงจะเหมาะสม ขณะที่ช่องทางการขาย กลุ่มลูกค้าเขามีตลาดแบบไหน เช่น เขาเอาไปขายบนออนไลน์หรือออฟไลน์ แล้วเราต้องใช้กลยุทธ์อย่างไรถึงจะเข้าถึงและดึงดูดในแต่ละตลาดได้




 
  • ศึกษาหาความรู้ ก่อนลงสนามจริง


     สำหรับผู้ประกอบการ SME การออกงานแสดงสินค้าแบบ Virtual ยังเป็นเรื่องใหม่ หลายคนอาจยังมองว่าไกลตัวและไม่คุ้นเคย แต่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลก และโจทย์ท้าทายใหม่ๆ ที่เข้ามาเร่งเร้าให้ผู้ประกอบการไทยต้องปรับตัว ทำให้ SME  หนีไม่พ้นที่จะต้องนำพาตัวเองไปสู่โอกาสใหม่ๆ เหล่านี้ โอกาสที่ผู้ประกอบการรายเล็กจะมีพื้นที่แสดงตัวตนในเวทีเดียวกับผู้ประกอบการรายกลางและรายใหญ่ สามารถนำเสนอสินค้าของตัวเองให้ปรากฎสู่สายตาบายเออร์ต่างประเทศในเม็ดเงินที่เข้าถึงได้ และความเสี่ยงที่น้อยกว่ารูปแบบเก่าๆ
อย่างไรก็ตามเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น และเพิ่มความมั่นใจให้กับการกระโดดเข้ามาในสนามใหม่ SME ควรใช้โอกาสนี้ในการศึกษาหาความรู้ และเตรียมความพร้อมของตัวเองและทีมงาน เพื่อให้มั่นใจว่าการลงสนามที่ชื่อ Virtual Trade Fair จะมีผลลัพธ์เป็นบวก เป็นทางออกและคำตอบสำหรับผู้ประกอบการายเล็กอย่าง SME  อย่างแท้จริง
 

     นี่คือ 5 วิธีที่ SME สามารถใช้ในการตรียมตัว ก่อนออกงานแฟร์แบบ Virtual ซึ่งจะมีบทบาทมากๆ ในการค้าแห่งอนาคต เช่นเดียวกับ งาน “THAILAND Trade Fair 2021” มหกรรมงานแสดงสินค้าและเจรจาธุรกิจในรูปแบบ Virtual หนึ่งในเวทีที่จะนำ SME ไทยไปสู่การเป็น Supply Chain ของโลก โดยเน้นผู้ประกอบการใน 4 กลุ่มหลัก คือ  Food&Beverage, Health&Beauty, GIFT&CRAFT และ OEM&SUPPORT SMEs สามารถทำการซื้อขายเจรจาธุรกิจกันได้ ผ่านทางเว็บไซต์ www.virtualsolution.asia ระหว่าง 29 มีนาคม – 9 เมษายน 2564 นี้ โดยตั้งเป้าผู้เข้าชมงานกว่า 5 แสนราย สร้างมูลค่าการลงทุนที่เกิดขึ้นภายในงานไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านบาท
               

     SME ที่ไม่อยากตกขบวนแห่งโอกาส ก็ไปติดตามและสอบถามรายละเอียดกันได้ที่ 02-270-1123-4 และ 084-555-0803 หรือ www.virtualsolution.asia   







 
 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: TECH

“จุลินทรีย์คึกคัก” นวัตกรรมกำจัดสารเคมีตกค้างบนดิน ตัวช่วยเกษตรกรประหยัดทุน ได้ธุรกิจยั่งยืน

จุลินทรีย์คึกคัก ตัวช่วยแก้ปัญหาสารเคมีตกค้าง สร้างความยั่งยืนให้กับเกษตรกร ด้วยฝีมือคนไทยจากบริษัท ไบโอม จำกัด บริษัทที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงตอบโจทย์การทำธุรกิจแบบยั่งยืน

เทคนิคขายของออนไลน์อย่างไร ให้สต็อกไม่จม ออร์เดอร์ไม่หลุด

ปฏิเสธไม่ได้ว่าช่วง Double day หรือเทศกาลต่างๆ เป็นโอกาสให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ได้ตักตวงออร์เดอร์มากกว่าช่วงเวลาปกติ แต่จะทำอย่างไรให้โอกาสเหล่านี้ไม่กลายเป็นวิกฤตสร้างปัญหาทางธุรกิจ เช่น สต็อกจม ส่งของไม่ทัน ทำให้สูญเสียลูกค้าในที่สุด

รู้จักเทรนด์ Hyper Automation ช่วย SME กำจัดงานซ้ำๆ น่าเบื่อให้หมดจากองค์กร

Automation หรือ "ระบบอัตโนมัติ" ไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่อนาคตจะพัฒนาไปสู่ Hyper automation เพื่อช่วยกำจัดความยุ่งยากของการทำงานที่ซ้ำซากน่าเบื่อ และก่อนจะสายเกินไป เพื่อให้ธุรกิจตามทันเทคโนโลยี ลองมาทำความรู้จักกับเทรนด์นี้พร้อมกัน