อย่างเจ๋ง! พลาสติกซ่อมแซมตัวเองได้ นวัตกรรมช่วยยืดอายุสิ่งของ พร้อมลดขยะให้โลก

TEXT : กองบรรณาธิการ

Main Idea

  • หนึ่งในวิธีง่ายๆ ที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและไม่ทำลาย ก็คือ การใช้ทรัพยากร หรือข้าวของที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 

  • ล่าสุดนักวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว ได้คิดค้นนวัตกรรม “พลาสติกซ่อมแซมตัวเองได้” หรือเรียกว่า “self-repairing plastics” เพื่อช่วยให้สิ่งของที่ผลิตจากพลาสติกที่แตกหักไปแล้ว สามารถยึดติดกันได้เหมือนเดิม ทำให้ช่วยยืดอายุการใช้งานออกไป

 

     พลาสติก คือ หนึ่งในวัสดุที่ย่อยสลายได้ยาก และยังเป็นหนึ่งในวัตถุดิบที่ถูกนำมาใช้เพื่อผลิตขึ้นเป็นสินค้าต่างๆ มากมายที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย จนบางครั้งเกิดเป็นปัญหาขยะล้นโลก โดยเฉพาะการใช้แบบครั้งเดียวทิ้ง หรือ “Single use plastic” โดยมีรายงานกล่าวไว้ว่ากว่า 91% ของพลาสติกมักไม่สามารถนำรีไซเคิลได้

     ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการพยายามคิดค้นหาวิธีนำพลาสติกมาใช้ประโยชน์ให้เกิดคุณค่าสูงสุด เพราะอย่างไรเสียในอีกแง่มุมหนึ่งข้อดีของพลาสติก ก็คือ มีความแข็งแรงทนทาน สามารถนำไปใช้เป็นส่วนประกอบเพื่อผลิตเป็นข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ออกมาได้มากมาย และยังมีสีสันความสวยงามในตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์, สมาร์ทโฟน เป็นต้น โดยล่าสุดนักวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียวได้คิดค้นนวัตกรรมใหม่ที่เรียกว่า “self-repairing plastics” หรือ “พลาสติกซ่อมแซมตัวเองได้” ช่วยให้แม้วันหนึ่งสินค้าที่ผลิตจากพลาสติกของคุณเกิดแตกหักเสียหายขึ้นมา มันอาจสามารถซ่อมแซมตัวเองได้อย่างน่าอัศจรรย์

     เรื่องราวดังกล่าวนี้ได้ถูกบอกเล่าผ่านเว็บไซต์ข่าวภาษาอังกฤษของ Asahi Shimbun ว่ามีทีมนักวิจัยซึ่งนำโดยศาสตราจารย์ด้านเคมี “Takuzo Aida” ได้ค้นพบวิธีสร้างพลาสติกที่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้

     โดยได้อธิบายวิธีการว่าในพลาสติกหนึ่งชิ้นจะประกอบไปด้วยโพลิเมอร์ ซึ่งเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของโมเลกุลขนาดเล็กที่เรียกว่า “มอนอเมอร์” ด้วยปฏิกิริยาเคมีรุนแรงที่เรียกว่าพันธะโคเวเลนต์ (พันธะเคมีที่เกิดจากอะตอม 2 อะตอมมีแรงยึดเหนี่ยวกัน) ซึ่งพันธะที่แข็งแรงเหล่านี้ทำให้พลาสติกแตกตัวออกจากกันหรือแยกโพลิเมอร์ออกมาได้ยาก จึงไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้

     การจะทำให้โพลิเมอร์สามารถซ่อมแซมตัวเองได้จึงต้องมีการเติมสารชนิดพิเศษลงไปในพลาสติก เพื่อยึดโมเลกุลมอนอเมอร์เข้าด้วยกันด้วยพันธะไฮโดรเจน ซึ่งจะอ่อนแอกว่าพันธะโคเวเลนต์มาก ทำให้เมื่อพลาสติกชนิดใหม่ถูกสลายด้วยความร้อนแทนที่จะเผาทิ้งเป็นขยะ พันธะไฮโดรเจนจะสลายตัวและทำให้เกิดการก่อตัวของโมเลกุลรูปลิ่มพิเศษหรือมอนอเมอร์ เพื่อสร้างรากฐานสำหรับมอนอเมอร์จำนวนมากขึ้น จนสามารถสร้างชั้นและสร้างตัวเองขึ้นมาใหม่ได้

     มีการทดลองนำแผ่นพลาสติกที่มีคุณสมบัติสามารถซ่อมแซมตัวเองได้ทิ้งไว้อุณหภูมิห้อง พบว่าจากรอยร้าวที่แตกหักมา ใช้เวลาเพียงแค่หนึ่งชั่วโมงกว่าๆ ก็สามารถสมานติดกันได้ดังเดิม แถมความแข็งแรงก็ไม่หนีจากเดิมสักเท่าไหร่ด้วย

     แต่อย่างไรก็ตาม ณ ตอนนี้ยังไม่มีรายงานออกมาว่าได้มีการนำพลาสติกดังกล่าวมาใช้กับผลิตภัณฑ์อะไรบ้าง เนื่องจากอยู่ในขั้นตอนการทดลองให้ออกมาสมบูรณ์ที่สุด แต่ศาสตราจารย์ Aida ก็ได้กล่าวเป็นแนวทางเอาไว้ว่า

     “เทคนิคนี้อาจนำไปสู่การพัฒนาพลาสติกที่ทำขึ้นใหม่ได้อย่างยั่งยืน ซึ่งต่อไปทำให้แม้เกิดการชำรุด แตกหัก ก็ไม่จำเป็นต้องทิ้งหรือนำไปรีไซเคิล ทำให้นอกจากช่วยยืดอายุสินค้าที่ผลิตขึ้นมาได้แล้วให้สามารถใช้ได้นานขึ้น ยังช่วยลดขยะพลาสติกที่เกิดขึ้นและส่งผลเสียต่อโลกด้วย ซึ่งต่อไปอาจอยู่ในส่วนประกอบการผลิตสมาร์ทโฟน ไปจนถึงรถยนต์ หรือแม้แต่อาคารก่อสร้างก็ได้”

ที่มา : https://www.goodnet.org/articles/this-innovation-could-make-everyday-objects-unbreakable

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: TECH

เจ๋งป่ะล่ะ! AI ผู้ช่วยเชฟคนใหม่ เก็บข้อมูลทำเมนูสุดโปรดเสิร์ฟลูกค้า ช่วยสแกนเศษอาหาร ลดต้นทุน ลดขยะ

ปัจจุบันโลกเรามีการนำ AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ มาใช้พัฒนา ปรับปรุงสิ่งต่างๆ ขึ้นมากมาย ตั้งแต่เรื่องใหญ่ๆ ไปจนถึงเรื่องเล็กๆ ล่าสุดใครจะคิดว่า แม้แต่ถังขยะในครัวของโรงแรมและร้านอาหาร ก็มีการนำ AI เข้ามาใชั

Mewre น้ำดื่มเพื่อสุนัขและแมวเจ้าแรกของโลก จากไอเดียที่ไม่อยากให้น้องป่วย เมื่อผู้บริโภคไม่ได้มีแค่คนเท่านั้น

Mewre น้ำดื่มเพื่อสุนัขและแมวเจ้าแรกของโลก อีกหนึ่งสินค้านวัตกรรมที่ทำมาเพื่อตอบโจทย์ชาว Pet Parent หรือ การเลี้ยงสัตว์เหมือนลูก เป็นสมาชิกคนหนึ่งในครอบครัว

โกเล ไอเดียสแน็กเพื่อสุขภาพจากก้างปลา เปลี่ยน Waste ให้เป็นเงินล้าน ของทายาทโรงงานลูกชิ้นปลา

“โกเล” (Gole Crispy) ปลาทูแท่งอบกรอบแคลเซียมสูง นวัตกรรมจากก้างปลาทะเล เปลี่ยน Waste ให้เป็นเงินล้าน ของทายาทโรงงานลูกชิ้นปลา เพื่อช่วยวิกฤตธุรกิจครอบครัว