เนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง ว่าที่ดาวรุ่งวงการอาหารหรือไม่? หลังสหรัฐฯ ไฟเขียวให้ขายเนื้อไก่ห้องแล็บแล้ว

TEXT : กองบรรณาธิการ

Main Idea

  • เร็วๆ นี้ สหรัฐฯ ได้อนุญาตให้ 2 บริษัทสามารถขายผลิตภัณฑ์ไก่ที่เพาะเลี้ยงในห้องแล็บได้แล้ว นับเป็นประเทศที่สองต่อจากสิงคโปร์

 

  • หรือ นี่คือ สัญญาณของธุรกิจเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง อาจมาทดแทนการทำธุรกิจฟาร์มสัตว์หรือไม่?

 

     หลังจากที่สหรัฐฯ ได้อนุญาตให้ 2 บริษัทที่เพาะปลูกเนื้อไก่ในห้องแล็บ ได้แก่ Eat Just และ Upside Foods สามารถขายผลิตภัณฑ์เนื้อไก่เพาะเลี้ยงในห้องแล็บได้แล้วนั้น ทำให้มีหลายคนอดคิดไม่ได้ว่า นี่อาจเป็นสัญญาณว่าถึงเวลาของธุรกิจเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง (lab-grown meat) แล้วหรือไม่ ถึงแม้ว่าในเบื้องต้นจะยังไม่สามารถหาซื้อเนื้อเหล่านี้ได้ตามท้องตลาดทั่วไป เนื่องจาก Upside Foods นั้นจะขายไก่ที่เพาะเลี้ยงให้กับร้านอาหารในซานฟรานซิสโกชื่อ Bar Crenn ในขณะที่แบรนด์ Good Meats ของ Eat Just ร่วมมือกับร้านอาหารในวอชิงตัน ดี.ซี. ซึ่งเป็นของเชฟชื่อดังและเจ้าของภัตตาคาร Jose Andrés

     เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นว่าเนื้อสัตว์ที่เพาะเลี้ยงในห้องแล็บนั้นจะมาทดแทนธุรกิจฟาร์มเลี้ยงสัตว์ในอนาคตได้หรือไม่อย่างไร ลองไปฟัง Bill Winders ศาสตราจารย์ด้านสังคมวิทยาที่เชี่ยวชาญด้านอาหารและการเกษตรที่ Georgia Tech และบรรณาธิการร่วมของ "Global Meat: Social and Environmental Consequences of the Expanding Meat Industry " ให้คำตอบได้รับในเรื่องนี้กัน

lab-grown meat จะเปลี่ยนพฤติกรรมการกินเนื้อสัตว์ของคนหรือไม่?

     “ผมไม่คิดว่ามันจะเปลี่ยนวิธีการกินเนื้อสัตว์มากนัก เพราะในตอนนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้น มันยังเป็นเพียงส่วนเล็กน้อยจริงๆ ต่อการผลิตเนื้อสัตว์โดยรวมในสหรัฐอเมริกา ซึ่งในปี 2564 สหรัฐฯ ผลิตไก่ได้ประมาณ 21 ล้านเมตริกตัน นั่นคือไก่ประมาณ 46 พันล้านปอนด์ในปีนั้น ดังนั้นไม่ว่า Eat Just กับ Upside Foods จะผลิตเนื้อไก่ออกมาในปีหน้าหรืออีกห้าปี หรือแม้แต่อีกสิบปี ก็ยังจะไม่มีผลมากนักในมุมมองของอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์โดยรวม”

ในระยะยาวจะส่งผลต่อธุรกิจฟาร์มสัตว์หรือไม่?

     ตั้งแต่ปี 2014 จนถึงปัจจุบัน การบริโภคและตลาดของ plant based meat เช่น Impossible และ Beyond Meat เพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนรูปแบบการผลิตเนื้อสัตว์ อันที่จริง บริษัทผลิตเนื้อสัตว์รายใหญ่ เช่น Tyson และบริษัทอื่นๆ หันมาจับตลาด plant based meat ส่วนหนึ่งเป็นเพราะพวกเขาเห็นว่า plant based meat เป็นตลาดเฉพาะที่ทำกำไรได้ ดังนั้นพวกเขาจึงเข้ามาเล่นแชร์ส่วนแบ่งในตลาดนี้ และแน่นอนว่าพวกเขาต้องมั่นใจว่า จะไม่กระทบกับกำไรกับการผลิตเนื้อสัตว์แบบดั้งเดิม

     ดังนั้นฉันจึงไม่แปลกใจเลยที่จะเห็นเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงเกิดขึ้นมาในตลาด ในเมื่อมันสามารถทำกำไรได้และมีตลาดเฉพาะสำหรับมันรองรับอยู่

เนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง สามารถแข่งขันกับ plant-based meat ได้หรือไม่?

     plant-based meat เพิ่มขึ้นขยายตัวได้รวดเร็วกว่าเนื้อสัตว์ที่ปลูกในห้องปฏิบัติการ เนื่องจาก plant-based meat ทำมาจากพืช เช่น ถั่วลันเตา ถั่วเหลือง และพืชชนิดอื่นๆ อีกมากมายที่สามารถนำมาใช้ผลิตได้ ดังนั้นจึงง่ายกว่ามากสำหรับพวกเขาที่จะขยายขนาดการผลิตได้ค่อนข้างเร็ว แต่เนื้อสัตว์ที่เพาะในห้องปฏิบัติการนั้นมีความยุ่งยากเพิ่มเติมตรงที่กระบวนการผลิตเนื้อสัตว์ที่เพาะในห้องปฏิบัติการนั้นมีราคาแพงมาก และเป็นกระบวนการที่ใช้เงินทุนและเทคโนโลยีสูงมาก ในลักษณะที่พืชชนิดอื่นไม่มี

เนื้อสัตว์ในห้องปฏิบัติการมีคุณค่าทางโภชนาการมากหรือน้อย?

     ฉันไม่เคยลองชิมเนื้อสัตว์ที่ปลูกในห้องปฏิบัติการ แต่เข้าใจว่ารสชาติคงจะเหมือนๆ กัน แต่จากสิ่งที่ฉันได้อ่านเกี่ยวกับเนื้อพวกนี้คือ อาจจะสีที่ซีดกว่าเนื้อสัตว์ที่ผลิตแบบดั้งเดิมเล็กน้อย แต่อย่างอื่นในแง่ของคุณค่าทางโภชนาการและรสชาติฉันคิดว่ามันแทบจะแยกไม่ออก

เนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงจะแก้ปัญหาที่โลกกำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน เช่น ความอดอยากของโลกหรือผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้หรือไม่?

     มันเป็นเรื่องยากที่จะจินตนาการถึงสถานการณ์ที่เนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการจะบรรเทาความหิวโหยของโลกหรือจะเพิ่มการเข้าถึงเนื้อสัตว์ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะในอนาคตอันใกล้มันจะมีราคาแพง ฉันคิดว่าเนื้อสัตว์ที่เพาะในห้องปฏิบัติการ ในเบื้องต้นนั้นมันค่อนข้างชัดเจนว่ามันมุ่งสู่ตลาดเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อ

     ในด้านสิ่งแวดล้อม ยังไม่ชัดเจนว่าการผลิตเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยวจะใช้พลังงานเท่าใดเมื่อเทียบกับการผลิตเนื้อสัตว์เชิงอุตสาหกรรม คงต้องใช้เวลาสักหน่อยเพื่อพิจารณาว่าจริงๆ แล้วการผลิตเนื้อสัตว์เพาะเลี้ยงจะมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากหรือน้อยกว่าการผลิตเนื้อแบบดั้งเดิม

ที่มา : https://news.yahoo.com/lab-grown-meat-cell-cultivated-chicken-products-approved-090010192.html?fr=sycsrp_catchall

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: TECH

“จุลินทรีย์คึกคัก” นวัตกรรมกำจัดสารเคมีตกค้างบนดิน ตัวช่วยเกษตรกรประหยัดทุน ได้ธุรกิจยั่งยืน

จุลินทรีย์คึกคัก ตัวช่วยแก้ปัญหาสารเคมีตกค้าง สร้างความยั่งยืนให้กับเกษตรกร ด้วยฝีมือคนไทยจากบริษัท ไบโอม จำกัด บริษัทที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงตอบโจทย์การทำธุรกิจแบบยั่งยืน

เทคนิคขายของออนไลน์อย่างไร ให้สต็อกไม่จม ออร์เดอร์ไม่หลุด

ปฏิเสธไม่ได้ว่าช่วง Double day หรือเทศกาลต่างๆ เป็นโอกาสให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ได้ตักตวงออร์เดอร์มากกว่าช่วงเวลาปกติ แต่จะทำอย่างไรให้โอกาสเหล่านี้ไม่กลายเป็นวิกฤตสร้างปัญหาทางธุรกิจ เช่น สต็อกจม ส่งของไม่ทัน ทำให้สูญเสียลูกค้าในที่สุด

รู้จักเทรนด์ Hyper Automation ช่วย SME กำจัดงานซ้ำๆ น่าเบื่อให้หมดจากองค์กร

Automation หรือ "ระบบอัตโนมัติ" ไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่อนาคตจะพัฒนาไปสู่ Hyper automation เพื่อช่วยกำจัดความยุ่งยากของการทำงานที่ซ้ำซากน่าเบื่อ และก่อนจะสายเกินไป เพื่อให้ธุรกิจตามทันเทคโนโลยี ลองมาทำความรู้จักกับเทรนด์นี้พร้อมกัน