ภาคธุรกิจเตรียมตัวรับมือ การปรับตัวขึ้นของอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นอย่างไรดี

 

 

      หลังจากที่ธนาคารกลางทั่วโลกได้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงต่ำเป็นประวัติการณ์มาตั้งแต่วิกฤติโควิด แต่หลังจากที่การแพร่ระบาดเริ่มลดความรุนแรงลงก็ถึงเวลาที่ธนาคารกลางทั่วโลกเริ่มเตรียมตัวที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อที่จะเอาชนะกับอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นรวมถึงประเทศไทยด้วย

     สำหรับภาคธุรกิจที่ได้รับประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยต่ำมาได้เกือบสองปีน่าจะถึงเวลาที่ต้องเตรียมตัวรับมือกับต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มสูงขึ้นได้แล้วโดยมีแนวทางในการบริหารจัดการการเงินดังนี้

 ชะลอการสร้างหนี้ใหม่

      การที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายมีแนวโน้มขาขึ้นย่อมทำให้ธนาคารพาณิชย์จำเป็นต้องมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามไปด้วยซึ่งจะทำให้ต้นทุนของดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มขึ้นไปด้วย ถ้าหากเป็นไปได้ควรที่จะมองหาแหล่งเงินทุนใหม่นอกเหนือไปจากการกู้เงินซึ่งมีต้นทุนผันแปรไปใช้แหล่งเงินทุนรูปแบบอื่นที่ไม่มีต้นทุนเช่นการระดมทุน Crowd Funding 

 เจรจาอัตราดอกเบี้ยกับสถาบันการเงิน

      ถ้าหากภาระเงินกู้ของเรามีโอกาสที่จะปรับตัวขึ้นในช่วงเวลาที่อัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มขาขึ้น เราอาจจะพอเข้าไปเจรจากับสถาบันการเงินเจ้าหนี้ในการปรับโครงสร้างหนี้ได้โดยมีหลายรูปแบบตั้งแต่การเร่งปิดหนี้ในส่วนของดอกเบี้ยไปก่อนและทะยอยจ่ายเฉพาะเงินต้นหรืออาจจะปรับวงเงินชำระหนี้ต่องวดให้มากขึ้นเพื่อที่จะปิดบัญชีหนี้ก่อนเวลาในกรณีที่ไม่มีภาระทางการเงิน

 หุ้นกู้สำหรับเอสเอ็มอี

      เครื่องมือทางการเงินรูปแบบหนึ่งที่สามารถทดแทนการกู้ยืมเงินจากธนาคารได้นั่นคือการออกหุ้นกู้ซึ่งมีการจ่ายดอกเบี้ยเหมือนกับสินเชื่อแต่อัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในรูปแบบของอัตราคงที่ไม่ผันแปรไปตามอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยโดยอัตราการจ่ายดอกเบี้ยจะคำนวนตามความน่าเชื่อถือของกิจการรวมถึงสถานะทางการเงิน โดยกิจการที่มีความน่าเชื่อถือสูงก็จะจ่ายอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำ ส่วนกิจการที่มีความเสี่ยงสูงก็จะมีต้นทุนกู้ยืมในระดับสูงทั่วไปแล้วหุ้นกู้จะออกได้เฉพาะกับบริษัทจดทะเบียนเท่านั้นแต่ปัจจุบันเอสเอ็มอีก็สามารถออกหุ้นกู้ได้แล้วผ่านแพลตฟอร์ม Debt Crowd Funding

ใช้สินเชื่อเช่าซื้อ

      หากต้องการที่จะระดมทุนเพื่อใช้ในธุรกิจแต่กังวลเรื่องอัตราดอกเบี้ยก็อาจจะพิจารณาสินเชื่อประเภทเช่าซื้อหรือว่า Leasing เนื่องจากเป็นสินเชื่อประเภทที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ตลอดระยะเวลาการปล่อยกู้ซึ่งจะช่วยปิดความเสี่ยงเรื่องของต้นทุนการกู้ที่สูงขึ้นได้

      แม้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยยังไม่ได้มีการส่งสัญญาณว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเร็วๆนี้แต่ดูจากแนวโน้มของธนาคารกลางขนาดใหญ่แล้วมีความเป็นไปได้สูงว่าท้ายที่สุดดอกเบี้ยนโยบายของประเทศไทยก็ต้องกลับมาเป็นขาขึ้นเช่นกัน ผู้ประกอบธุรกิจจึงต้องเริ่มหาแนวทางการจัดการหนี้ของกิจการเอาไว้ตั้งแต่ตอนนี้

 

Text: นเรศ เหล่าพรรณราย

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: FINANCE

ทีทีบี มอบรางวัล 12 องค์กรดีเด่น ร่วมส่งเสริมชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น ให้พนักงานในองค์กร

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี ประกาศรางวัล “ttb financial well-being awards 2023” ให้กับ 12 องค์กรชั้นนำ เพื่อตอกย้ำพันธกิจสำคัญในการสร้างชีวิตทางการเงินให้พนักงานในองค์กรมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นรอบด้าน

7 เรื่องต้องรู้ กู้เงินแบบไหนอนาคตสดใส ไม่ตกเป็นทาสหนี้

ใครๆ ก็ไม่อยากเป็นหนี้ แต่ถ้าจำเป็นต้องเป็น เป็นแบบไหนถึงจะดี ชวนผู้ประกอบการมาดู 7 ข้อต้องห้ามกู้เงินแบบไหนไม่ให้ตกเป็นทาสหนี้กัน