กฎหมายเจ้าของธุรกิจต้องรู้ ก่อนคิดจะออกดิจิทัลโทเคน

Text: นเรศ เหล่าพรรณราย

 

     กระแสตื่นตัวในการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้ในภาคธุรกิจทำให้ผู้ประกอบการหลายคนสนใจที่จะออกโทเคนดิจิทัลเป็นของตัวเองแต่ปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณาก็คือประเด็นเรื่องของข้อกฎหมายต่างๆ บทความนี้จะให้ความกระจ่างเบื้องต้นสำหรับกฎเกณฑ์ที่ผู้ประกอบการควรรู้

ต้องเป็นโทเคนดิจิทัลพร้อมใช้เท่านั้น

     หลักเกณฑ์สำคัญที่ผู้ประกอบการที่จะออกโทเคนดิจิทัลต้องรู้คือโทเคนดังกล่าวจะต้องเป็น Utility Token ที่อ้างอิงกับโปรเจกต์หรือธุรกิจที่พร้อมใช้งานแล้วเท่านั้น กล่าวคือเวลาที่โทเคนดังกล่าวออกมาจะต้องพร้อมที่จะใช้งานกับโปรเจกต์หรือตัวธุรกิจทันที 

     ตัวอย่างเช่น โทเคน A ระบุว่าสามารถนำมาแลกสินค้าและบริการได้ เมื่อมีการเสนอขายโทเคน ผู้ถือโทเคนจะสามารถนำไปใช้แลกสินค้าและบริการได้ทันที ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวจะเรียกว่าโทเคนดิจิทัลพร้อมใช้

ถ้าเข้าข่ายระดมทุนต้องผ่าน ICO Portal

     ถ้าหากโทเคนดิจิทัลที่จะเสนอขายเข้าข่ายการระดมทุนหรือคุณสมบัติของโทเคนนั้นๆยังไม่สามารถใช้งานได้ทันทีเมื่อมีการนำไปใช้งาน ตัวอย่างเช่น ผู้ออกโทเคนเสนอขายโดยระบุว่าหลังจากที่มีผู้ซื้อโทเคนไปแล้วจะได้รับสิทธิตามที่ระบุภายในเวลา XXX หรือรอจนโปรเจกต์เสร็จสิ้นเสียก่อน

     หากเป็นรูปแบบนี้ ผู้สนใจจะออกโทเคนดิจิทัลจะต้องผ่านกระบวนการกับ ICO Portal ที่ได้รับการอนุมัติจาก ก.ล.ต. เท่านั้น เนื่องจากมีคุณสมบัติที่เข้าข่ายการเป็นหลักทรัพย์ ซึ่งอาจจะต้องใช้ขั้นตอนในการพิจารณาจากทาง ก.ล.ต. ซึ่งต่างจากโทเคนดิจิทัลพร้อมใช้ซึ่งไม่จำเป็นต้องผ่าน ก.ล.ต.

ไม่มีสินทรัพย์อยู่เบื้องหลัง

     โทเคนดิจิทัลอีกแบบหนึ่งที่จะต้องผ่านการรับรองจาก ก.ล.ต. ก็คือโทเคนประเภทที่มีสินทรัพย์หนุนหลัง ไม่ว่าจะเป็นหุ้น อสังหาริมทรัพย์ ทองคำ พันธบัตร ฯลฯ ซึ่งสินทรัพย์เหล่านี้มีคุณสมบัติของการเป็นหลักทรัพย์ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.หลักทรัพย์ จึงมีความจำเป็นต้องได้รับการเก็นชอบจาก ก.ล.ต.

     โดยสิ่งที่ผู้ถือโทเคนจะได้รับคือสิทธิประโยชน์ต่างๆที่สินทรัพย์เหล่านั้นสร้างขึ้นไม่ว่าจะเป็นเงินปันผล ผลตอบแทนหรือสิทธิการเป็นเจ้าของซึ่งต่างจาก Utility Token ซึ่งผู้ถือจะได้รับสิทธิพิเศษอย่างเช่นนำไปแลกสินค้าและบริการเท่านั้น โดยผู้ที่ต้องการออกโทเคนดิจิทัลประเภทนี้ต้องผ่านกระบวนการออกกับ ICO Portal

ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสกุลเงินบาท

     แม้ว่าโทเคนดิจิทัลที่ออกมาจะมีคุณสมบัติในการใช้แลกเปลี่ยนสินค้าและบริการได้ แต่ไม่สามารถที่จะนำไปเปรียบเทียบหรือทดแทนสกุลเงินบาทได้เนื่องจากติดกฎเกณฑ์จากธนาคารแห่งประเทศไทยที่ไม่อนุญาติให้มีสกุลเงินอื่นที่เทียบเคียงกับเงินบาทได้เนื่องจากจะเป็นการสร้างระบบการเงินทับซ้อนสองระบบ

     ทั้งสี่ข้อนี้เป็นประเด็นสำคัญทางกฎหมายที่ผู้ประกอบการจะต้องทำความเข้าใจเป็นอย่างดีก่อนที่จะตัดสินใจออกโทเคนดิจิทัลของตัวเอง ไม่เช่นนั้นอาจจะติดปัญหาข้อกฎหมายจนทำให้ธุรกิจติดขัดไปโดยไม่จำเป็น

 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: TECH

“จุลินทรีย์คึกคัก” นวัตกรรมกำจัดสารเคมีตกค้างบนดิน ตัวช่วยเกษตรกรประหยัดทุน ได้ธุรกิจยั่งยืน

จุลินทรีย์คึกคัก ตัวช่วยแก้ปัญหาสารเคมีตกค้าง สร้างความยั่งยืนให้กับเกษตรกร ด้วยฝีมือคนไทยจากบริษัท ไบโอม จำกัด บริษัทที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงตอบโจทย์การทำธุรกิจแบบยั่งยืน

เทคนิคขายของออนไลน์อย่างไร ให้สต็อกไม่จม ออร์เดอร์ไม่หลุด

ปฏิเสธไม่ได้ว่าช่วง Double day หรือเทศกาลต่างๆ เป็นโอกาสให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ได้ตักตวงออร์เดอร์มากกว่าช่วงเวลาปกติ แต่จะทำอย่างไรให้โอกาสเหล่านี้ไม่กลายเป็นวิกฤตสร้างปัญหาทางธุรกิจ เช่น สต็อกจม ส่งของไม่ทัน ทำให้สูญเสียลูกค้าในที่สุด

รู้จักเทรนด์ Hyper Automation ช่วย SME กำจัดงานซ้ำๆ น่าเบื่อให้หมดจากองค์กร

Automation หรือ "ระบบอัตโนมัติ" ไม่ใช่สิ่งใหม่ แต่อนาคตจะพัฒนาไปสู่ Hyper automation เพื่อช่วยกำจัดความยุ่งยากของการทำงานที่ซ้ำซากน่าเบื่อ และก่อนจะสายเกินไป เพื่อให้ธุรกิจตามทันเทคโนโลยี ลองมาทำความรู้จักกับเทรนด์นี้พร้อมกัน