FabCafe Bangkok พื้นที่รวมตัวของนักออกแบบ

 


เรื่อง กองบรรณาธิการ
ภาพ กฤษฎา ศิลปไชย


    แม้ว่าเวลานี้จะมีพื้นที่รวมตัวของคนทำงานสายออกแบบเกิดขึ้นมากมาย แต่สำหรับ FabCafe Bangkok ที่ย่อมาจาก Fabrication หรือการประดิษฐ์ ก็ถือว่ามีจุดเด่นที่แตกต่างออกไป โดยมีจุดเด่นอยู่ที่นักออกแบบ หรือผู้ที่อยากเริ่มต้นผลิตผลงานสร้างสรรค์หรือต่อยอดเป็นธุรกิจ สามารถลงมือทำได้จริงจากเทคโนโลยีของเครื่อง 3D Print และยังมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยอีกจำนวนมาก
 
    ฉะนั้น นักออกแบบที่เข้ามาในพื้นที่นี้จึงสามารถสร้างสรรค์ผลงานของตัวเองได้ ตั้งแต่การทำเสื้อผ้าไปจนถึงทำกล้องถ่ายรูปเลยทีเดียว โดยผู้เริ่มต้น FabCafe Bangkok นั่นคืออาจารย์หนุ่มสาว 3 คน ได้แก่ กัลยา โกวิทวิสิทธิ์, สมรรถพล ตาณพันธุ์ และ ชุตยาเวศ สินธุพันธุ์
 

    กัลยากล่าวถึงคอนเซ็ปต์ของ FabCafe ว่า FabCafe เป็นโมเดลการสร้างพื้นที่รวมตัวของนักออกแบบโดยมี Café เป็นหน้าต่างในการดึงดูดคน เพราะเมื่อไหร่ที่คนนึกถึงการใช้เครื่องจักร ใช้เทคโนโลยี คนจะไม่กล้าเข้ามา กลัวว่าราคาสูง เรามองว่าตัวเองเป็นคล้ายกับ Maker Space หรือ Digital Creative Hub มากกว่า คือเป็นพื้นที่รวมตัวของนักออกแบบที่มีความคิดสร้างสรรค์ให้เข้ามาสร้างสิ่งของหรือลงมือทำสิ่งที่ต้องการได้จริง


    โดยส่วนใหญ่กลุ่มคนที่เข้ามาใช้พื้นที่สร้างสรรค์ผลงาน นั่งทำงาน ใช้พื้นที่ห้องประชุมหรือรวมตัวกัน จะเป็นกลุ่มดีไซเนอร์เป็นหลัก ซึ่งเป็นกลุ่มดีไซเนอร์ที่อยากสร้างสรรค์ชิ้นงานแต่มีเงินลงทุนไม่มากนัก หรือผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่อยากลองตลาดก็มีเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ FabCafe Bangkok ยังคงมีการจัดอีเวนต์สำหรับผู้ที่สนใจการออกแบบ เช่น การผลิตกล้องถ่ายรูป ของเล่น หรือตัวปั๊ม เป็นต้น
 


    นอกจากนี้ คนที่เข้ามาใช้บริการในพื้นที่ของ FabCafe Bangkok นอกจากได้สร้างสรรค์สิ่งที่ตนเองต้องการแล้ว ยิ่งไปกว่านั้น คือการได้ Connection เมื่อเข้ามาในพื้นที่จะได้เจอกับกลุ่มคนในสายงานออกแบบเช่นเดียวกัน เมื่อได้พูดคุย เกิดแรงบันดาลใจใหม่ๆ บ้างก็เกิดเป็นความร่วมมือกันต่อยอดเป็นโปรเจ็กต์ หาทุนสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก และกลับมานั่งทำงานกันที่ FabCafe Bangkok ส่วนอีกอย่างหนึ่งคือ การได้ความรู้เรื่องการใช้ซอฟต์แวร์ ใช้เครื่อง และเทคโนโลยี 3D Print จากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 คนนั่นเอง
 
 

    หากจะมองในเรื่องของพื้นที่ทำงาน ไม่ว่าที่ไหนคุณก็สามารถทำงานได้ แต่หากมองในเรื่องของ Community และสิ่งที่มากไปกว่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการได้ความรู้ การได้แชร์ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน จนอาจต่อยอดไปถึงการสร้างสรรค์โปรเจ็กต์ของคนที่มีแนวความคิดในทิศทางเดียวกัน เชื่อว่าคุณคงต้องมองหา Co-Working Space ดีๆ สักแห่ง เพื่อรวมตัวเป็น Community ที่เหมาะกับคุณนั่นเอง 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน