กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ผสานพลัง Chevron ปั้นช่างเทคนิค 4.0 รองรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย




     กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จับมือโครงการ Chevron Enjoy Science: สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต จัดตั้ง “ศูนย์การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพด้านยานยนต์” หรือ TVET Automotive Hub ที่ จังหวัดชลบุรี มุ่งปั้น “ช่างเทคนิค 4.0” รองรับนโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย เติมทักษะปิดจุดอ่อนแรงงาน ตอบโจทย์แผนพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC

     นางหทัยรัตน์ อติชาติ ผู้จัดการฝ่ายนโยบายด้านรัฐกิจและกิจการสัมพันธ์ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด กล่าวว่า แรงงานนับเป็นหนึ่งกุญแจสำคัญในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่เทคโนโลยีการผลิตพัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ประกอบกับนโยบายของรัฐบาลที่กำหนดให้อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนเป็น 1 ใน 10 อุตสาหกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจแห่งอนาคต (New S-Curve) โดยมุ่งพัฒนาสู่อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าที่ต้องใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นหัวใจสำคัญ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันและรักษาตำแหน่งผู้นำฐานผลิตและส่งออกอุตสาหกรรมยานยนต์ ดังนั้นการพัฒนาให้แรงงานและนักเรียนอาชีวะที่จะเข้าสู่การทำงานในภาคอุตสาหกรรมมีทักษะและความรู้ที่สอดคล้องกับการพัฒนาทางเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมจึงเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วน

     ด้วยเหตุนี้ โครงการ Chevron Enjoy Science: สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ด้วยการส่งเสริมการศึกษาในสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ หรือ สะเต็ม รวมถึงการพัฒนานักเรียนอาชีวศึกษาและบุคลากรสายอาชีพให้มีทักษะตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรม จึงได้ร่วมมือกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงานจัดตั้ง “ศูนย์การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพด้านยานยนต์ หรือ TVET Automotive Hub” เพื่อยกระดับทักษะแรงงานให้เป็นช่างเทคนิค 4.0 ขึ้นที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 3 ชลบุรี เพราะภาคตะวันออกถือว่าเป็นศูนย์กลางการผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน เพื่อให้ศูนย์ฯ แห่งนี้ เป็นฟันเฟืองสำคัญยกระดับอุตสาหกรรมของประเทศไทย ลดความเหลื่อมล้ำด้านทักษะแรงงาน ทั้งสามารถตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรือ EEC
 
     นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ ประธานอำนวยการสถาบันคีนันแห่งเอเซีย กล่าวว่า บทบาทสำคัญของศูนย์การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพด้านยานยนต์ (TVET Automotive Hub) มีอยู่ด้วยกัน 3 ประการ คือ การส่งเสริมการพัฒนาองค์ความรู้ โดยจัดหลักสูตรพัฒนาครูฝึกของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และครูด้านเทคนิคของสถาบันอาชีวะในเครือข่าย ซึ่งเป็นผู้ที่จะนำองค์ความรู้ไปถ่ายทอดให้นักเรียนอาชีวะเพื่อเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นสำหรับช่างเทคนิครุ่นใหม่ โดยเป็นการนำหลักสูตรของสถาบันที่ใช้พัฒนาช่างเทคนิคสู่กลุ่มแรงงานทักษะขั้นสูงของประเทศออสเตรเลีย และประเทศอื่นๆ ทั่วโลกมาผสานกับหลักสูตรของสถาบันไทย - เยอรมัน ซึ่งมีทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติควบคู่กัน ขณะเดียวกันได้ร่วมกับภาคเอกชนจัดอบรมครูด้านเทคนิคของสถาบันอาชีวะ เพื่อนำไปพัฒนาหลักสูตรที่เหมาะสมและเท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างระบบแมคคาทรอนิกส์และออโตเมชั่น

     นอกจากนี้ ศูนย์การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพด้านยานยนต์ ยังเปิดโอกาสให้นักเรียนอาชีวะเข้ามาเสริมสร้างประสบการณ์ โดยใช้พื้นที่ของศูนย์ฯ ซึ่งมีพร้อมทั้งอุปกรณ์การฝึกจนถึงเครื่องจักรขนาดใหญ่ ซึ่งช่วยแก้ปัญหาข้อจำกัดด้านพื้นที่และเครื่องมือของวิทยาลัยเทคนิคที่อาจขาดแคลนหรือมีอย่างจำกัด

     นายธีรพล ขุนเมือง อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวว่า TVET Automotive Hub บริหารงานภายใต้คณะกรรมการจาก 8 หน่วยงาน โดยมีสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 3 ชลบุรี เป็นผู้รับผิดชอบหลัก ซึ่งมีความพร้อมทั้งเครื่องมือฝึกทักษะฝีมือและเทคนิควิชาชีพด้านยานยนต์ที่ทันสมัยสุดในประเทศ สามารถรองรับการพัฒนาแรงงานฝีมือภาคตะวันออกปีละกว่า 5,000 คน ทำให้มั่นใจว่า TVET Automotive Hub จะสามารถผลิต “ช่างเทคนิค 4.0” รองรับการขยายตัวอุตสาหกรรมภาคตะวันออก แก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานทั้งด้านคุณภาพและปริมาณได้ นอกจากป้อนกลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วนยังครอบคลุมอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องตามแผน EEC อาทิ ธุรกิจการบินและโลจิสติกส์ เป็นต้น ทั้งยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 ที่ต้องการนำประเทศสู่การมีระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมอีกด้วย

     ทั้งนี้ 8 หน่วยงานที่ร่วมในการบริหาร TVET Automotive Hub ประกอบด้วย โครงการ Chevron Enjoy Science:  สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 3 ชลบุรี สถาบันยานยนต์ สถาบันไทย - เยอรมัน วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ บริษัท ไทยซัมมิท ออโตโมทีฟ จำกัด และ บริษัท แสงเจริญทูลส์ เซ็นเตอร์ จำกัด ภายใต้รูปแบบ “รัฐร่วมเอกชน”


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน