TCDC เปิด 3 บริการ "คิด ผลิต ขาย" ช่วย SME เพิ่มรายได้

 
 
 
 
 
         นายกิตติรัตน์ ปิติพานิช รักษาการผู้อำนวยการ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) กล่าวว่า   ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบในฐานะหนึ่งในหน่วยงานของภาครัฐที่ทำหน้าที่ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เร่งคิดค้นและพัฒนาแนวทางในการสนับสนุนเอสเอ็มอีทั้งรายเก่าและรายใหม่ ให้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการออกแบบ และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดโลก และสร้างมูลค่าทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ  จึงได้สร้างสรรค์บริการที่มีความทันสมัยมาเพื่อผู้ประกอบการโดยเฉพาะ   โดยประกอบด้วย 3 บริการหลัก ได้แก่ “คิด”  “ผลิต” “ขาย” โดยมีรายละเอียด ดังนี้
 
 
     1. กลุ่มบริการช่วยคิด – กระบวนการแรกเริ่มของการสร้างธุรกิจ โดยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบจะเน้นที่การสร้างแรงบันดาลใจ การค้นคว้าข้อมูล การวางแผนกลยุทธ์ วางแผนธุรกิจ และการค้นหาไอเดียต้นแบบและทดสอบไอเดีย ซึ่งตัวอย่างบริการที่รองรับ ได้แก่ ศูนย์รวมวัสดุและนวัตกรรมด้านการออกแบบ (MDIC: Material & Design Innovation Center), บริการให้คำปรึกษาด้านธุรกิจ (Business Consulting Program), ฐานข้อมูลนักออกแบบผู้ประกอบการและผู้ผลิตไทย (TCDC Connect) , ห้องสมุดเฉพาะด้านการออกแบบ (Resource Center), การจัดแสดงผลงานและนิทรรศการต่างๆ (Showcase & Exhibition) เป็นต้น
 
 
     2. กลุ่มบริการช่วยผลิต – กระบวนการเปลี่ยนไอเดียสู่ชิ้นงาน ซึ่งในกระบวนการนี้จะมุ่งเน้นที่ การวางแผนการผลิต การสรรหาวัสดุและผู้ผลิต และการผลิตต้นแบบ อาทิ ห้องปฏิบัติการ (Makerspace) ที่มาพร้อมบริการเช่าอุปกรณ์ เครื่องมือทันสมัยต่างๆ เพื่อผลิตผลงานต้นแบบและผลงานเชิงพาณิชย์ (Prototype Production) อาทิ เครื่องพิมพ์สามมิติ (3D Printer) เครื่องตัดเลเซอร์ (Laser Cutter), เวิร์คช็อปพัฒนาศักยภาพผู้ ประกอบการ (Workshop & Activity) ฯลฯ เป็นต้น
 
 
     3. กลุ่มบริการช่วยขาย – กระบวนการนำเสนอผลงานสู่กลุ่มลูกค้า  ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบสามารถสนับสนุนผู้ ประกอบการในเรื่องการตลาดและประชาสัมพันธ์ การขยายช่องทางการจำหน่าย และการสร้างเครือข่าย ผ่านบริการต่างๆ อาทิ พื้นที่แสดงผลงานและเวทีทอล์ คสำหรับผู้ประกอบการ (Debut Wall & Debut Talk), โครงการสัมมนาเชิงปฎิบัติการ (Training Program), โครงการจับคู่ธุรกิจ (Business Matching), และเทศกาลงานออกแบบ (Design Week) เป็นต้น
 
 
     อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี สตาร์ทอัพ ตลอดจนผู้ที่สนใจจะเริ่มต้นธุรกิจส่วนตัว สามารถเข้าร่วมใช้บริการต่างๆ ของทางศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ตั้งแต่ระดับการคิดหาไอเดียสร้างสรรค์ (Idea Generation) เพื่อช่วยผู้สนใจประกอบธุรกิจตั้งแต่ขั้นตอนแรกเริ่มของการสร้างธุรกิจ  ระดับสร้างธุรกิจ (Business Startup) ต่อยอดผู้ประกอบการด้วยการให้ คำปรึกษา และข้อมูลต่างๆเพื่อเป็นเครื่องมือให้ธุรกิจเกิดขึ้นได้จริง ระดับพลิกธุรกิจ (Business Transformation) เปลี่ยนวิธีคิดของผู้ประกอบการด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) การออกแบบบริการ (Service Design) และนวัตกรรมการออกแบบ (Design Innovation) เพื่อหาทางออกใหม่ให้กับธุรกิจ

 
 
     ทั้งนี้ ตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบได้พัฒนาองค์ความรู้และสร้างโอกาสทางธุรกิจแก่ผู้ประกอบการกว่า 100,000 ราย ซึ่งจากการสำรวจกลุ่มผู้ประกอบการในภาคการผลิตและธุรกิจสร้างสรรค์ที่ผ่านการใช้บริการของศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ พบว่า ธุรกิจต่างๆ เหล่านั้น มีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 26 เปอร์เซ็นต์จากรายได้เดิม นายกิตติรัตน์ กล่าวทิ้งท้าย

 
     สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) 1160 อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10501 โทรศัพท์ 02-105-7441
 
 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน