ธุรกิจอาหารยุค 4.0 ปรับเปลี่ยนอย่างไรให้ตรงใจผู้บริโภค





           สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) โดย โครงการเมืองนวัตกรรมอาหาร หรือ ฟู้ดอินโนโพลิส สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) สถาบันวิจัยฟรอนโฮเฟอร์ ประเทศเยอรมนี และ บริษัท สตราทีจิคอินเตอร์คอม  ร่วมกันจัดการประชุมสมัชชานวัตกรรมทางธุรกิจในภูมิภาคเอเชีย - ยุโรป " ครั้งที่ 5 (5th ASIAN-EUROPEAN BUSINESS INNOVATION CONGRESS) และนำผู้เข้าร่วมประชุมเยี่ยมชมเมืองนวัตกรรมอาหาร ภายในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย



           โดยดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ เลขาธิการ สวทน. กล่าวว่า รัฐบาลมีนโยบายที่จะผลักดันให้ประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจที่ใช้นวัตกรรมเป็นฐาน หรือ ไทยแลนด์ 4.0 โดยต้องเพิ่มทักษะให้กับทรัพยากรบุคคล ตลอดจนผู้ประกอบการให้เป็น smart entrepreneur or smart SMEs นอกจากนี้รัฐบาลยังได้พยายามปรับเปลี่ยนกฎหมายเพื่อให้ทันต่อกระแสโลก ซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อหลายโครงการ รวมถึงเมืองนวัตกรรมอาหาร ซึ่งเกิดจากการปรับเปลี่ยนกระบวนการทางความคิดของทั้งภาครัฐและเอกชน



           ขณะที่วิทยากรจากภาคเอกชนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และมุมมองอย่างน่าสนใจ โดย มร.อเล็กซานเดอร์  ซามูเอล หัวหน้างานด้านอาหารและเครื่องดื่มในอาเซียน บริษัทซีเมนส์ ประเทศสิงคโปร์ กล่าวว่า อุตสาหกรรมอาหารมีการปรับเปลี่ยนมาอย่างต่อเนื่อง และในยุคนี้เป็นยุคที่ดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน สามารถนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์กระบวนการขั้นตอนในการผลิตอาหารและเครื่องดื่มให้มีความหลากหลาย สามารถแข่งขันได้มากขึ้น ทั้งในเรื่องของการออกแบบส่วนผสม จนถึงภาชนะบรรจุ และการออกแบบให้ตรงตามความต้องการของแต่ผู้บริโภคแต่ละบุคคล เช่น สามารถตอบได้ว่าส่วนผสมในอาหารทำมาจากอะไร



           มร.แมทธิว ก็อตเฟรย์ จากบริษัทนิวทริเชียล อินโนเวชั่น ฟู้ด กล่าวว่า ปัจจุบันผู้บริโภคต้องการความเป็นธรรมชาติของผลิตภัณฑ์มากขึ้น การวิจัยหลายชิ้นพบว่า คนส่วนใหญ่เป็นโรคและสุขภาพไม่ดีส่วนหนึ่งเกิดจากการบริโภคเนื้อสัตว์ การบริโภค เกลือ น้ำตาล ไขมัน เกินความจำเป็น จึงทำให้เกิดกระแสการกินผักและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอาหารโดยลดปริมาณน้ำตาล เกลือ ไขมัน ในอาหารลง ผู้ประกอบการด้านอาหารก็ต้องปรับเปลี่ยนการผลิตให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ในส่วนของบริษัทฯ เองได้เปิดสถาบันวิจัยรสชาติอาหารขึ้นเพื่อตอบโจทย์เอสเอ็มอี ที่ไม่สามารถจัดการปัญหาเองได้ทั้งหมด



           ด้าน ซินดี้ อู ผุ้อำนวยการภูมิภาคด้านกฎหมายและวิทยาศาสตร์ บริษัทดูปองท์ กล่าวว่า กล่าวว่า ในอุตสาหกรรมอาหาร ผู้ประกอบการต้องมีจิตสำนึกในการใช้วัตถุดิบและส่วนผสมในอาหาร ในส่วนของบริษัทดูปองท์เองมีส่วนของ อาหารปลอดภัย มีการจัดโปรแกรมฝึกอบรมด้านอาหารปลอดภัยเพื่อสร้างความตระหนักให้เข้าไปอยู่ในจิตสำนึก



           ดร.อัครวิทย์ กาญจนโอภาษ ซีอีโอเมืองนวัตกรรมอาหาร กล่าวว่า ประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาเช่น ค่าแรงที่เพิ่มมากขึ้น การเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุ ความต้องการอาหารของต่างชาติ เช่น ยุโรป ทำให้ไทยต้องเจอกับปัญหามาตรฐานการส่งออก การสร้างเมืองนวัตกรรมอาหารขึ้นมา วัตถุประสงค์หนึ่งคือ เพื่อการทำให้ผู้ประกอบการไทยนั้นยังคงสามารถแข่งขันได้ในเวทีระดับโลก สามารถทำให้การผลิตภัณฑ์อาหารตอบโจทย์เฉพาะกลุ่มได้มากขึ้น ขณะเดียวกันก็ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดโลกได้ด้วย และสิ่งที่ต้องพัฒนาไปพร้อม ๆ กันคือ บุคลากรทางด้านอาหารที่มีความสามารถสูง 



           นอกจากนี้โครงสร้างพื้นฐานที่สามารถเป็นฐานรากให้เกิดนวัตกรรมในอุตสาหกรรมอาหารก็นับเป็นสิ่งสำคัญ เมืองนวัตกรรมอาหารจึงเลือกอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยเป็นที่จัดตั้ง เนื่องจากมีความพร้อม และในอนาคตอันใกล้ก็จะขยายไปสู่ภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อตอกย้ำความเป็นศูนย์กลางด้านนวัตกรรมอาหารของภูมิภาคอาเซียน และผลจากการที่ประเทศไทยได้รับเลือกให้จัดประชุมการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมอาหารในครั้งนี้ ก็เป็นการปักหมุดความเป็น ศูนย์กลางเครือข่ายวิจัยพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารในระดับอาเซียน 


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี


 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน