ส่องตลาดแอนิเมชัน โลกบันเทิงไร้พรมแดน โตแรงรับดิจิตอลคอนเทนต์







     นอกจากภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์แล้วที่ใช้ตัวละครเป็นคนแสดงจริงแล้ว การ์ตูนแอนิเมชันดูจะเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกในการสร้างความบันเทิงให้กับชีวิตของผู้บริโภคยุคดิจิตอล ที่นับวันจะได้รับความนิยมและขยายเพิ่มมากขึ้นทุกที อย่างน้อยๆ ไม่ต่ำกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ทุกปีในตลาดโลก ส่งผลให้ตลาดแอนิเมชันไทยเติบโตเพิ่มขึ้นตามไปด้วย นพ ธรรมวานิช นายกสมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชันและคอมพิวเตอร์กราฟฟิกส์ไทย ได้ฉายภาพของตลาดแอนิเมชันไทย ณ ปัจจุบันไว้ดังนี้
 
 
     “จริงๆ ตอนนี้เรียกว่าเป็นช่วงที่วงการแอนิเมชันไทยเติบโตค่อนข้างมากอย่างเห็นได้ชัด แค่ลองสังเกตในฐานะบุคคลทั่วไปก็เห็นได้ชัดว่ามีภาพยนตร์และซีรีย์แอนิเมชันออกมาค่อนข้างมาก สำหรับภาพผู้ประกอบการแอนิเมชันไทยเองก็เติบโตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วย มีการรับจ้างงานจากต่างประเทศมาทำค่อนข้างเยอะ ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น เกาหลี จีน อเมริกา หลายบริษัทเริ่มโฟกัสที่ตลาดเมืองนอกและพยายามปรับเปลี่ยนตัวเอง เพื่อให้สอดคล้องกับกระบวนการทำงานของต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น เพราะในตลาดโลกเองก็มีความต้องการแอนิเมชันเพิ่มมากขึ้นด้วย ลองสังเกตได้จากมีการรับชมภาพยนตร์และซีรีย์ของผู้บริโภคผ่านแพลตฟอร์มต่างๆ เพิ่มมากขึ้น


 
 
     อีกปัจจัยที่ทำให้มีความต้องการเพิ่มมากขึ้น คือ ตลาดจีน เดิมทีประเทศจีนไม่ได้มีความนิยมแอนิเมชันมากเหมือนทุกวันนี้ แต่ปัจจุบันกลับกลายเป็นประเทศที่มีการทำแอนิเมชันคิดเป็นจำนวนนาทีมากที่สุดในโลกแล้ว จากเดิมที่เคยเป็นแหล่งรับผลิตให้กับประเทศอื่น แต่ปัจจุบันแค่ทำคอนเทนต์ป้อนให้ในประเทศก็ยังไม่เพียงพอเลย ฉะนั้นงานจากประเทศต่างๆ ที่เคยป้อนให้กับจีน ก็ต้องกระจายออกไปยังประเทศอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น รวมถึงประเทศไทยด้วย ซึ่งในทุกปีตลาดแอนิเมชันโลกเติบโตกว่า 10 % เลยทีเดียว เพราะนอกจากแอนิเมชันแล้ว การทำ Visual Effect (การสร้างภาพลักษณะพิเศษ หรือภาพที่ไม่สามารถถ่ายทำได้จริง) ในภาพยนตร์ ละครก็เป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้นด้วย”
 

     โดยเหตุผลที่ทำให้สื่อแอนิเมชันเป็นที่ต้องการและนิยมของผู้บริโภคยุคนี้เพิ่มมากขึ้นนั้น นายกสมาคมผู้ประกอบการแอนิเมชันฯ กล่าวว่า เป็นเพราะเสน่ห์ในธรรมชาติของสื่อชนิดนี้ ที่ไม่ได้จำกัดการรับรู้ของผู้คนไม่ว่าอยู่ในวัฒนธรรมหรือภาษาใด ก็สามารถเข้าใจได้เหมือนกัน เป็นภาษาสากลที่ใครๆ ก็สามารถเข้าถึงได้
 

 
     “ข้อดีของสื่อแอนิเมชัน คือ ไม่มีพรมแดนด้านวัฒนธรรม เป็นสื่อที่ไม่ได้ใช้ตัวแสดงที่เป็นคนจริง แต่ใช้ตัวละครที่สร้างขึ้นมาจากจินตนาการเป็นผู้ดำเนินเรื่องหรือสื่อสารแทน ซึ่งพอไม่ใช่คนจริงการเสพสื่อหรือมองข้ามวัฒนธรรมต่างๆ ก็สามารถทำได้ง่ายกว่า ทำให้งานชิ้นหนึ่งที่สร้างขึ้นมาสามารถไปได้ในหลายประเทศ ไม่มีภาษาหรือวัฒนธรรมมาเป็นอุปสรรคในการสื่อสาร ซึ่งตอนนี้เทรนด์การทำแอนิเมชันก็เป็นแบบนี้ หากไม่ใช่ประเทศที่มีการบริโภคมากจริงๆ เหมือนญี่ปุ่นหรือจีน ก็ไม่ค่อยมีใครทำเพื่อฉายอยู่ในประเทศตัวเองเพียงอย่างเดียว ส่วนใหญ่จะเป็นการจับมือร่วมกัน 2-3 ประเทศ ซึ่งผมมองว่าตลาดตอนนี้เปิดกว้างค่อนข้างมาก" 


     "ตลาดดิจิตอลคอนเทนต์มาแรงมากสำหรับโลกในยุคนี้ เป็นสื่อที่ใครๆ ก็เข้าถึงได้ ดังนั้นการพยายามปรับตัวเองให้พร้อมกับการทำงานระดับสากลจะทำให้วงการแอนิเมชันของไทยเติบโตขึ้นมากไปอีก สิ่งที่บริษัทต่างประเทศต้องการ คือ 1.การสื่อสารที่ชัดเจน 2.ระบบการทำงานที่มีมาตรฐาน เชื่อถือได้ เช่น การเก็บความลับ มั่นใจว่ามาทำงานด้วยแล้วงานจะไม่รั่วไหล ผมว่าเราควรเตรียมตัวเองให้พร้อม ส่วนเรื่องโอกาสยังมีอีกเยอะสำหรับโลกในยุคนี้”


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน

SME ไทยจะอยู่รอดได้อย่างไรท่ามกลางสงครามการค้า

การประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเป็น 125% โดยประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้จุดชนวนสงครามการค้ารอบใหม่ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก ดังนั้น SME ไทยจึงกำลังตกอยู่ในสถานการณ์เสี่ยง ...แล้วเราจะอยู่รอดได้อย่างไร