SQOOdio สคูดิโอการปัก ตอบโจทย์แบรนด์ใหม่ ปักได้ไม่ต้องมีขั้นต่ำ







     เมื่อการผลิตสินค้าจากโรงงานส่วนใหญ่โรงงานมักจะรับผลิตสินค้าที่ต้องมี ‘ขั้นต่ำ’ ทำให้ผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่เพิ่งเริ่มทำแบรนด์หรือ SME เล็กๆ ต้องคิดหนักเวลาที่อยากจะทดลองทำสินค้าใหม่ๆ อะไรสักอย่าง ซึ่งปัญหานี้ก็เกิดขึ้นกับวงการงานปักเช่นเดียวกัน SQOOdio สคูดิโอการปัก หนึ่งในผู้ที่จะเข้ามาตอบโจทย์คนรักการทำงานปักด้วยการรับปักโดยไม่ต้องมีขั้นต่ำ ลิษา พรกีรติกุล’ ผู้ก่อตั้งสคูดิโอการปักได้เล่าว่าจุดเริ่มต้นของเธอนั้นเกิดขึ้นตอนที่เธอได้มีโอกาสเข้าไปทำงานในธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องจักรประเภทนี้ประกอบกับเพื่อนของคุณแม่ลิษาได้เล็งเห็นว่าเธอเริ่มมีความรู้ในด้านนี้และจุดประกายความคิดว่าเธอน่าจะสามารถมีธุรกิจด้านนี้เป็นของตัวเองได้ นอกจากนี้ด้วยความที่เธอเองเรียนจบด้านดนตรี ชื่นชอบเรื่อง Textile ซึ่งมีความเป็นศิลปะเช่นเดียวกับงานปัก เธอจึงมองว่าน่าจะสามารถใช้ธุรกิจด้านนี้สื่อสารความชอบด้านศิลปะออกมาได้ จึงกลายเป็นสคูดิโองานปักในที่สุด





     โดยลิษาได้อธิบายในเรื่องของธุรกิจงานปักว่ามีหลายสเกลด้วยกัน มีตั้งแต่ร้านปักเล็กๆ ที่เราสามารถเห็นได้ตามห้างสรรพสินค้าทั่วไปที่รับปักชื่อเสื้อนักเรียนไปจนถึงโรงงานปักขนาดใหญ่ที่รับปักจำนวนเยอะๆ ต้องมี Volume ในการปัก ซึ่งเป็นไปได้ยากที่ผู้ประกอบการหรือคนเริ่มทำแบรนด์จะสามารถดีลกับโรงงานเหล่านี้ได้เพราะแค่เรื่องของจำนวนขั้นต่ำก็อาจทำให้ท้อใจแล้ว


     “เรามองว่าธุรกิจทั่วไปที่จะวิ่งหาโรงงานมันยาก เพราะว่าเขาต้องมีขั้นต่ำ ต้องผลิต Volume เยอะๆ เราเลยมองว่างั้นโอเค ร้านเราไม่ต้องมีขั้นต่ำก็ได้ อย่างบางคนเขาเพิ่งเริ่มทำธุรกิจของตัวเอง เริ่มทำโพรดักส์ ถ้าไปเจอขั้นต่ำเขาก็ไม่ไหว เราเลยรองรับลูกค้ากลุ่มที่เป็น SME เหมือนกัน”





     จุดเด่นของงานปักที่แตกต่างจากงานสกรีนหรืองานอื่นๆ นั่นเป็นเพราะความละเมียดละไม ความละเอียดอ่อนที่มีมากกว่างานสกรีน นอกจากนี้เป็นมี Texture ที่สามารถจับต้องได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มคุณค่าให้แก่สินค้าของคุณได้มากกว่างานสกรีน


     “ธรรมชาติของงานปักเรามองว่ามันมีความ Premium มากกว่า มันจะดูมี Value มากกว่า สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าของคุณได้ ซึ่งลูกค้าส่วนใหญ่ก็มองว่าแบบนั้น พอสินค้าถูกเอามาปักมันจะดูมีราคา ดูสวยขึ้น งานปักมันก็คืองานอาร์ตอย่างหนึ่ง มีเรื่องของฝีเข็ม มันมีมิติมากกว่างานสกรีนในบางครั้ง ถ้าไม่ได้นับงานสกรีนที่เป้นภาพแบบเรียลๆ นะ งานปักมันจะมี Texture มีความนูน ความเงาของไหม”





     กลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่ของสคูดิโอการปักมีทั้งกลุ่มคนที่เพิ่งเริ่มทำแบรนด์ กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่ต้องการปักสินค้านำไปแจกเป็นของพรีเมี่ยม นอกจากนี้ยังมีกลุ่มนักศึกษาสายแฟชั่น ปักงานทีสิสหรือกลุ่มลูกค้าทั่วไปที่ปักเสื้อนักเรียนก็ยังมีเช่นกัน โดยเธอบอกว่าเธอรับงานทุกประเภท ทุกกลุ่มลูกค้า ยิ่งท้าทายยิ่งชอบ

     “เรารับลูกค้าทุกแบบ งานแฟชั่นเราก็มีทำ งานทีสิสของนักศึกษาก็มี ส่วนใหญ่จะเป็นงาน Custom Made เช่น งานที่เอาไปใช้ในการถ่ายโฆษณา บางงานใช้ 1-2 ชิ้นแล้วต้องปักในที่ที่เราก็ปวดหัว บางงานดูแบบจะเป็นไปไม่ได้ เราก็รับ เราชอบทำเพราะมันท้าทายดี หรือบางทีงานยากๆ อย่างพวกเสื้อที่สำเร็จรูปมาแล้ว เพราะมันจะมีข้อจำกัดเรื่องของการใส่สะดึงเข้าไปในในเครื่อง บางทีเดี๋ยวติดแขน ติดคอปกเสื้อ ที่ยากสุดคือเสื้อนักแข่งรถที่เป็นชุดหมี เขาต้องการให้ปักโลโก้ไว้ตรงกลาง ซึ่งมันติดซิปแล้วมันต้องปักให้พอดี มันก็ท้าทายเราดี”





     ความน่าสนใจของงานปักไม่ใช่แค่เรื่องของความสวยงามแต่มันยังเข้ากับเทรนด์ที่เป็นอยู่ในขณะนี้ด้วย นั่นคือการที่ผู้คนในยุคใหม่ชอบอะไรที่มีความยูนีค ทำให้งานปักสามารถตอบโจทย์ธุรกิจที่ต้องการทำสินค้าแบบ Customize ได้เป็นอย่างดี


     “เดี๋ยวนี้ลูกค้าต้องการความบ่งบอก Identity ของตัวเอง เพราะฉะนั้นในงานปักมักจะมาในรูปแบบของ Custom made แต่ละแบรนด์ก็สามารถใช้งานปักเพิ่มกิมมิกของตัวเองได้ ลองดูตอนนี้ในโลกออนไลน์มีร้านเกิดใหม่เยอะมากและทุกคนพยายามที่จะทำอะไรแบบ Custom Made เช่น ให้ลูกค้าใส่ชื่อตัวเองได้ เลือกลายตัวเองได้ ใส่หน้าตัวเองลงไปได้ ผู้บริโภคต้องการหนีจากความ Mass ไม่อยากใส่แล้วต้องไปชนกับคนอื่น คนพยายามหาอะไรที่ใส่แล้วยูนีค”


     ลิษาได้ปิดท้ายว่าการทำธุรกิจงานปักที่สำคัญที่สุดคือต้องจริงใจกับตัวเองและลูกค้า เวลาที่ทำงานต้องไม่เอาเปรียบลูกค้า


     “ความจริงใจต้องมาก่อนเพราะเราทำงานที่เราชอบ เราก็อยากให้มันออกมาดี ต้องจริงใจและไม่เอาเปรียบลูกค้า เราเป็นแค่คนๆ หนึ่งที่ทำธุรกิจให้เลี้ยงตัวเอง เซอร์วิสให้ลูกค้าแฮปปี้ ไม่จำเป็นต้องรวยร้อยล้าน”





www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน