​Pim Cake รูปภาพกินได้ ความแปลกใหม่บนเบเกอรี่และเครื่องดื่ม





 

     เมื่อความหลากหลายและสีสันของอาหารเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่ใช้ในการดึงดูดผู้บริโภค Pim Cake แบรนด์น้องใหม่จึงก้าวเข้ามาเป็นอีกหนึ่งทางเลือกผ่านการหยิบเอานวัตกรรมมาเป็นโซลูชั่นที่ให้เครื่องพิมพ์สามารถใช้งานร่วมกับสีผสมอาหารในการสร้างสรรค์ศิลปะลงบนขนม เบเกอรี่และเครื่องดื่ม เพิ่มลูกเล่นและความแปลกตาให้กับสินค้าได้เป็นอย่างดี




     สำหรับเรื่องนี้ด้าน พันธ์ภูวดล จารุโชติรัตนสกุล ผู้จัดการทั่วไป บริษัท International Connected Trade Co., Ltd และเจ้าของแบรนด์ Pim Cake กล่าวว่า จากความถนัดและมีประสบการณ์ของการเป็นศูนย์บริการเติมหมึก ซ่อมและจำหน่ายปริ้นเตอร์อยู่แล้ว ทำให้เห็นช่องว่างและโอกาสของตลาดที่สามารถนำสิ่งที่เรามีมาต่อยอดและสร้างความแปลกใหม่ให้เกิดขึ้นได้





     “ตัวแบรนด์ Pim Cake นั้นทำมาได้ประมาณ 2 ปี เกิดจากการแตกไลน์ทางธุรกิจให้มีความเหมาะสมกับตลาดและกลุ่มของผู้บริโภคที่เราเข้ามาจับอย่างขนม เบเกอรี่และเครื่องดื่ม หากยังใช้ชื่อของบริษัทเดิมที่เน้นด้านไอทีนั้นก็ดูไม่เหมาะสมและไม่เข้ากันกับเรื่องของอาหาร นอกจากนี้เรายังอยากจะขยายตลาดจากสิ่งที่เราถนัดอยู่แล้วคือการพิมพ์ให้สามารถตอบโจทย์ได้มากขึ้น ดังนั้นจึงมีการคิดค้นสีผสมอาหารให้สามารถนำมาใช้หรือใส่ลงบนเครื่องพิมพ์ได้โดยผู้ใช้สามารถนำไปตกแต่งลงบนขนมและเครื่องดื่มตามที่ต้องการ แทนที่เราจะพิมพ์บนกระดาษอย่างที่เราถนัดเช่นบนนามบัตร ตลาดพวกนั้นมันก็เริ่มแคบลงเรื่อยๆ ดังนั้นพอเรามาอยู่ในโซนของอาหาร โปรดักต์แบบนี้จะสามารถช่วยเปลี่ยนแปลงมุมมองของกลุ่มลูกค้ารวมไปถึงเปิดโอกาสใหม่ๆให้กับองค์กรได้อีกด้วย”





     ปัจจุบันสีผสมอาหารของแบรนด์มีอยู่ 4 สีด้วยกันได้แก่ ดำ แดง เหลืองและน้ำเงินมาพร้อมกับเครื่องพิมพ์ที่สามารถนำไปใช้งานและเพิ่มศิลปะลงบนกาแฟ หน้าเค้ก เบเกอรรี่หรือมาการองได้อย่างง่ายๆเพียงแค่นำรูปภาพจากมือถือหรือจากกล้องถ่ายรูปเข้ามาที่โปรแกรม Photo Cake Designer Pro แล้วทำการออกแบบผ่านตัวโปรแกรมและตกแต่งด้วย Clip Art ที่มีให้เลือกกว่า 1,000 รูป ทำการพิมพ์ภาพด้วยสีผสมอาหารของแบรนด์ลงบนขนม เบเกอรี่ กาแฟหรือแผ่นไอซิ่งและนำไปวางบนหน้าเค้ก





     “การแตกไลน์ธุรกิจให้ตรงกับกลุ่มผู้บริโภคเป็นกลยุทธ์การตลาดอย่างหนึ่งที่เราพยายามทำให้มีโปรดักต์ไลน์มากขึ้นเพื่อที่จะทำให้ตลาดกว้างขึ้น โดยลูกค้าที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักคือเจ้าของร้านเบเกอรี่และร้านกาแฟ และจากการทำแบรนด์มาได้สักระยะทำให้ภาพของแบรนด์มีความชัดเจนขึ้นเรื่อยๆและลูกค้าให้การยอมรับไม่ว่าจะเป็นออแกไนเซอร์ โรงแรมและคนทำเคเทอริ่ง” 





     สำหรับวิธีการจำหน่ายนั้น ทางแบรนด์จะทำการขายเป็นเซ็ตโซลูชั่นคือขายพร้อมกันทั้งเครื่องและสีให้ลูกค้าเอาไปใช้ในร้านของตัวเองเพื่อให้พวกเขานำไปเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าโดยใช้เป็นลูกเล่นทำการตกแต่งขนม เบเกอรี่หรือเครื่องดื่มที่สร้างความรู้สึกสนุกกับการกินให้แก่ผู้บริโภคได้





     มาถึงตรงนี้ พันธ์ภูวดล กล่าวเสริมอีกว่า เทรนด์ของอาหาร เครื่องดื่มและเบเกอรี่มีการเติบโตและกำลังไปได้ด้วยดี อีกทั้งยังมีผู้เล่นอื่นๆอีกมากในตลาด เพราะฉะนั้นคนทำแบรนด์ต้องอาศัยเรื่องของนวัตกรรมเข้ามาช่วยในตลาดที่มีการแข่งขันสูงเช่นนี้เพื่อให้ตอบโจทย์กับความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น





     “สินค้าของเรานับว่าเป็นการนำเอานวัตกรรมเข้ามาใช้ ถ้าเราขายเบเกอรี่หรือสีผสมอาหารแบบเดิมๆก็ไม่มีความแตกต่างและไม่ฉีกจากคนอื่น และด้วยการเติบโตของตลาดที่ยังมีอีกมากทำให้เราเห็นช่องทางของการเพิ่มบริการด้านการเป็นเคเทอริ่งเซอร์วิสในอนาคตอีกด้วย เราคาดว่าจะเพิ่มบริการเข้ามาภายในปีนี้เพื่อให้บริการเป็นแบบสำเร็จโดยทางเราจะรับทำรูปหรือพิมพ์ชื่อบริษัท โลโก้งานหรือชื่องานสัมมนาลงบนขนมหรือเบเกอรี่ให้กับทางลูกค้า ถือเป็นการต่อยอดธุรกิจให้กับทางแบรนด์อีกรูปแบบหนึ่ง” 
 
 
 

 ​www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน