กสอ.ปรับตัวเป็นโค้ช ติวเข้ม SME ปฏิวัติอุตสาหกรรมสู่ยุคดิจิทัล







     ถือเป็นหนึ่งในหน่วยงานที่มีความสนิทสนมใกล้ชิดผู้ประกอบการไทยเป็นอย่างดี สำหรับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ กสอ. กับภารกิจหลักที่คอยส่งเสริม SME ไทยให้สามารถแข่งขันและแข็งแกร่งอยู่ในเวทีโลกได้ อันจะส่งผลย้อนกลับมายังเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ซึ่งสำหรับแผนยุทธศาสตร์ เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการไทยในปีหน้าที่กำลังจะถึงนี้ได้วางนโยบายไว้ภายใต้คอนเซปต์ “From Local to Global” by Marketing and Innovation เพื่อยกระดับผู้ประกอบการไทยจากภูมิภาค สู่ระดับโลกมากขึ้น โดยผ่าน 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ การตลาดและนวัตกรรม พร้อมปรับรูปแบบให้บริการเข้มข้นเป็น 4 โค้ชเทรน SME สู่ยุค 4.0
 




     กอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่าในปีงบประมาณ 2562 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ได้รับการจัดสรรงบประมาณในการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ กว่า 800 ล้านบาท โดยมี 80 โครงการ เพื่อใช้ในการช่วยเหลือและพัฒนา SMEs ประมาณ 5,000 กิจการ พัฒนาผู้ประกอบการ/บุคลากรอุตสาหกรรม ประมาณกว่า 25,000 คน พัฒนาวิสาหกิจชุมชนกว่า 2,000 ราย ยกระดับผลิตภัณฑ์และการบริการอีกประมาณกว่า 2,000 รายการ คาดว่าการส่งเสริมทั้งหมดจะเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจโดยรวมไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท
สำหรับแผนการพัฒนาผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะกลุ่ม SME ในปีหน้าที่จะถึงนี้ทางกรมฯ ได้วางแนวทางการทำงานไว้ 2 รูปแบบหลัก คือ





     1.การตลาดนำการส่งเสริม
เป็นแนวคิดเชิงบริหารจัดการ เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างปริมาณสินค้าที่ผลิตออกมาและความต้องการสินค้าของผู้บริโภคเกิดความสอดคล้องกัน เพื่อลดปัญหาสินค้าล้นตลาด ราคาสินค้าตกต่ำ โดยจะมุ่งเน้นเปลี่ยนแนวคิดการผลิตเดิมของผู้ประกอบการที่มุ่งหวังผลผลิตสูงสุด คือ กำไรสูงสุด มาเป็นการทำน้อยแต่ได้มากแทน โดยมุ่งเน้นผลักดัน SME ให้เข้าสู่ช่องทางออนไลน์ ทั้งด้านการขายและการทำการตลาดออนไลน์มากขึ้น รวมถึงการพยายามให้ข้อมูลเรื่องเทรนด์ หรือกระแสความเปลี่ยนแปลงของตลาดทั้ง micro moment หรือพฤติกรรมรายวัน รายเดือน รายหกเดือน ฯลฯ เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถพัฒนาสินค้าให้มีรูปแบบที่หลากหลายขึ้น





     2.นวัตกรรมนำการส่งเสริม
การเพิ่มประสิทธิภาพของผู้ประกอบการ ด้วยการนำผลงานวิจัยหรือกระบวนการใหม่ๆ มาใช้รังสรรค์ผลิตภัณฑ์ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาดและเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า โดยร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ อาทิ การนำงานวิจัยไปต่อยอดสินค้า การนำแพลตฟอร์มต่างๆ มาใช้ อาทิ แอปพลิเคชั่นเพื่อการจัดทำบัญชี แอปพลิเคชั่นท่องเที่ยวหมู่บ้าน CIV





     นอกจากนี้จากแผนนโยบายที่วางไว้ในปี 2562 ทางกสอ.ยังจะได้ปรับวิธีการทำงานใหม่ โดยมุ่งเน้นให้มีลักษณะเหมือน “โค้ช” ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นทั้งผู้ชี้แนวทางปรับเปลี่ยนโมเดลธุรกิจ ถ่ายทอดประสบการณ์และความรู้ที่จำเป็นต่างๆ เพื่อเป็นพี่เลี้ยงให้กับ SME โดยได้วางไว้ 4 กลุ่มได้แก่





     1.โค้ชเตรียมความพร้อมสู่ยุค 4.0 โดยจะใช้ผู้เชี่ยวชาญ บริการและเครื่องมือที่ทันสมัยพัฒนาให้ SME รู้จักกระบวนการทางธุรกิจที่ก้าวหน้ามากกว่าองค์ความรู้เดิมๆ โดยเฉพาะด้านนวัตกรรม การแปรรูป และการออกแบบ เช่น ศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือเอสเอ็มอี (SSRC) ศูนย์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Thai-IDC) ศูนย์บริการธุรกิจอุตสาหกรรม (BSC) รวมทั้งการจัดตั้งศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมแห่งอนาคตระดับจังหวัด (Mini ITC) ที่จะให้ความช่วยเหลือและต่อยอดธุรกิจผู้ประกอบการได้ครบทุกพื้นที่





     2.โค้ชการค้า การขาย และช่องทางจำหน่ายในตลาด ซึ่งจะมุ่งเน้นการให้ความรู้ผ่านการฝึกอบรมต่างๆ ทั้งในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ เช่น หลักสูตรเชิงปฏิบัติการด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การเพิ่มยอดขายการจับคู่ธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการไทยและบริษัททั่วโลก เพื่อผลักดัน SME ให้สามารถเข้าสู่ช่องทางใหม่ๆ เพื่อรองรับการจัดจำหน่ายได้จริง เช่น J-Goodtech, Lazada  และAlibaba





     3.โค้ชสนับสนุนด้านสินเชื่อและเงินทุน
โดยให้คำปรึกษาและฝึกปฏิบัติด้านการเขียนแผนธุรกิจ เพื่อให้ SME สามารถขอขอสินเชื่อกับสถาบันการเงิน รวมถึงขอรับทุนจากสถาบันต่างๆ เพื่อนำมาเพิ่มขีดความสามารถทางธุรกิจ เพิ่มมูลค่าสินค้าและการบริการในทิศทางที่ดีขึ้น อย่างกสอ.เองก็มีสินเชื่อเพื่อให้บริการกับผู้ประกอบการทั่วประเทศ ได้แก่ กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ 20,000 ล้านบาท แบ่งเป็นวงเงินคนตัวใหญ่ คงเหลือ 750 ล้านบาท และคนตัวเล็ก คงเหลือ 3,100 ล้านบาท ส่วนเงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทยของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมีจำนวน 100 ล้านบาท โดยได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยจาก 6 % ในปี 2560 ได้มีการปรับลดลงเหลือเพียง 4 % รวมถึงเปิดกว้างสำหรับผู้ประกอบการในหลากหลายรูปแบบธุรกิจมากขึ้น เช่น ฟู้ดส์ทรัค นอกจากนี้ยังมีการบันทึกความร่วมมือ MOU กับธนาคารอีกหลายแห่ง เพื่อสร้างทางเลือกในการให้สินเชื่อมากขึ้นแก่ผู้ประกอบการ SME ที่เข้ามาปรึกษา ร่วมโครงการกับเรา





     4.โค้ชเชื่อมโยง SME สู่ระดับ Global
บ่มเพาะและเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการที่มีศัยภาพ ตั้งแต่ส่วนกลางไปจนถึงส่วนภูมิภาคให้ก้าวสู่ตลาดโลก ซึ่งมีกิจกรรมสนับสนุน เช่น โครงการเตรียมความพร้อม SME เพื่อเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ, การจับคู่กับธุรกิจต่างชาติเพื่อให้เอื้อต่อการดำเนินงานด้านการผลิต การแบ่งปันองค์ความรู้ เทคโนโลยีที่สามารถปรับใช้ได้ในกระบวนการต่างๆ ฯลฯ นอกจากนี้ยังจะมีการดึงต้นแบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ประสบความสำเร็จร่วมเป็นพี่เลี้ยงให้กับผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง เพื่อเรียนรู้เทคนิคในการก้าวสู่ตลาดต่างชาติ พร้อมนำไปเป็นกลยุทธ์ที่ใช้ได้จริงในการดำเนินธุรกิจ

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน