'ดร.ชาญชัย สิริเกษมเลิศ' ก้าวข้ามความท้าทาย 3 กลไกสำคัญดันสิ่งทอไทยกลับมาบูม!

Text : กองบรรณาธิการ
PHOTO : วิภาวดี พิสุทธิ์สิริอภิญญา






Main Idea
 
  • ด้วยปัจจัยบวกและฝีมือที่เลื่องชื่อในการผลิตชุดกีฬา บวกกับช่วงเวลาที่ผู้คนหันมาใส่ใจสุขภาพ
 
  • นับเป็นจังหวะปลุกให้ตลาดสิ่งทอกลับมาคึกคัก ยิ่งถ้าผสานดีไซน์ นวัตกรรม และเทคโนโลยีขั้นสูง สิ่งทอไทยก็จะฉายแสงได้อีกครั้ง


 
     ถึงไม่ใช่อุตสาหกรรมดาวเด่น แต่โดยภาพรวมการส่งออกของอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยในปี 2018 ที่ผ่านมา ก็มีการขยายตัวได้ถึง 6.5% โดยมีปัจจัยบวกมาจากการแข่งขันฟุตบอลโลก 2018 ที่ประเทศรัสเซีย ซึ่ง 70% ของชุดนักกีฬาที่ใช้ในการแข่งขันบอลโลกผลิตในประเทศไทย บวกกับกระแสสุขภาพมาแรงทำให้คนหันมาเล่นกีฬากันมากขึ้น ส่งผลอานิสงส์ถึงเสื้อผ้ากีฬากลับมาขายดิบขายดี ปลุกตลาดในภาพรวมให้คึกคักขึ้นอีกครั้ง





     จากมุมมองของ ดร.ชาญชัย สิริเกษมเลิศ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เผยว่า ปัจจุบันสถานการณ์เปลี่ยนไปในเชิงบวก และเป็นยุคแห่งโอกาสจริงๆ เพราะคนในอุตสาหกรรมสิ่งทอมีความสามารถที่จะปรับตัวเองจากการผลิตสินค้าที่เป็นแมส หรือสินค้าทั่วๆ ไป มาเป็นสินค้าที่มีการออกแบบ มีดีไซน์ ตลอดจนมีวิธีการทำงานแบบใหม่ที่มุ่งไปสู่อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น เพราะทุกคนอยากขายของแพงไม่ใช่ของถูก


     แต่ด้วยสถานการณ์ที่คอยกดดันทั้งค่าแรงที่สูงขึ้น คนไม่อยากทำงานโรงงาน รวมถึงการแข่งขันที่สูงขึ้น ทั้งจีนและอินเดียที่เข้ามาเป็นผู้เล่นรายใหญ่ ขณะที่นโยบายภาครัฐหันไปมุ่งสนับสนุนอุตสาหกรรม S-Curve ที่มีเทคโนโลยีสูง ทำให้ขาดการสนับสนุนอุตสาหกรรมแฟชั่นเท่าที่ควร เหล่านี้คือความท้าทายที่ผู้ประกอบการต้องเผชิญ ฉะนั้น 3 สิ่งหลักสำคัญที่จะช่วยผู้เล่นในอุตสาหกรรมสิ่งทอไปต่อได้ นั่นคือ


1.การออกแบบดีไซน์ ต้องคำนึงถึงตั้งแต่วัสดุ เหมือนกับที่ดีไซเนอร์อิตาลีรู้จักวัสดุในการออกแบบดีมากตั้งแต่เส้นใย เป็นการออกแบบวัสดุอย่างครบวงจร ซึ่งดีไซเนอร์ไทยก็ควรไปในทิศทางนั้น

2.นวัตกรรม  ปัจจุบันผู้ประกอบการมีการผลิตผ้าที่มีคุณสมบัติพิเศษมากขึ้นโดยการนำนวัตกรรมมาใส่ในวัสดุ เช่น ผ้าป้องกันเชื้อแบคทีเรีย ผ้ากันไฟ ผ้าผสมคอลลาเจนบำรุงผิว และใช้วัสดุธรรมชาติ เป็นต้น 

3.ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วย ยกตัวอย่างที่ไต้หวันเขามีอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม รวมถึงแฟชั่นเป็นอุตสาหกรรมใหญ่ และมีค่าแรงแพงกว่าประเทศไทยถึง 3 เท่า แต่สามารถนำความไฮเทคเข้ามาใส่ในอุตสาหกรรม อาทิ ในระบบการผลิตมีการใช้เรื่อง Big Data เก็บข้อมูลทั้งหมดในระบบคลาวด์ กลายเป็นข้อมูลที่ทุกคนรับรู้ได้ เพราะฉะนั้นผู้จัดการก็ไม่จำเป็นต้องอยู่ที่โรงงาน อาจจะไปทำการตลาดที่จำเป็น หรือเดินทางไปหาแมทีเรียลใหม่ๆ โดยที่ยังสามารถตัดสินใจได้ และที่น่าสนใจอีกอย่างคือ ไต้หวันไปถึงจุด 4.0 จริงๆ คือ การใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ที่ถึงขั้นให้เครื่องจักรสามารถตัดสินใจเอง
 



 
  • SME ต้องทำงานแบบบูรณาการ

     แม้วันนี้โรงงานสิ่งทอในประเทศไทยส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในยุค 2.0 ใช่ว่าจะหมดหนทาง เมื่อยังมีหน่วยงานของภาครัฐคอยให้ความรู้ อย่างสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ถือเป็นแหล่งความรู้ เป็นพาร์ตเนอร์ที่จะให้คำปรึกษาแนะนำแก่ SME ให้สามารถปรับตัวรับมือกับโลกยุคใหม่ได้


     “ที่สำคัญที่สุดคืออยากให้ SME เปิดใจ ทำงานแบบบูรณาการ และอย่าอยู่คนเดียว ถึงแม้จะไม่อยากทำงานกับคนหมู่มาก แต่ก็ต้องพาตัวเองออกมาเพื่อเจอกับเทคโนโลยีใหม่ๆ สิ่งใหม่ๆ ขึ้นกับว่า SME มองอุตสาหกรรมนี้เป็นแบบไหน วันนี้เป็นยุคที่ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง (High Technology) ควบคู่ความคิดสร้างสรรค์ขั้นสูงไปพร้อมกันด้วย หาก SME กล้าลงทุนเพื่อปรับตัว ก็จะยังเป็นโอกาส มันทำให้อุตสาหกรรมเรา Sunrise (ขาขึ้น) ด้วยซ้ำ”
ขอแค่ปฏิวัติตัวเองและไม่ทำแบบเดิม สิ่งทอไทยก็ฉายแสงได้ในยุค 4.0


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

จับตาผลกระทบการค้าชายแดนไทย เส้นทางธุรกิจแม่สอดเปลี่ยนเป็นสนามรบ

กับสถานการณ์การสู้รบในเมียนมาใกล้ชายแดนไทยยังคงร้อนระอุนับตั้งแต่กองกำลังกะเหรี่ยง KNU และกองกำลังปกป้องประชาชน PDF “เข้ายึดฐานปฏิบัติการ 275 ในเมียวดี” ส่งผลต่อกระทบเส้นทาง “แนวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor-EWEC)” ของไทย

ทำธุรกิจซัก-รีด ยังไงให้มีรายได้สาขาละแสน ล้วงความลับกับเจ้าของแบรนด์ ตั้งใจซัก

หนึ่งในธุรกิจที่ขึ้นชื่อว่าเป็น “เสือนอนกิน” นั้นต้องมีธุรกิจเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญติดในลิสต์เป็นอันดับต้นๆ ทำให้ธุรกิจนี้เติบโตเป็นพิเศษโดยเฉพาะในช่วงโควิดที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการที่สนใจเปิดธุรกิจนี้มากมาย แต่ถึงแม้จะเป็นธุรกิจเสือนอนกิน ใช่ว่าทุกคนจะเป็นเสือที่ได้กินธุรกิจนี้ง่ายๆ

Erabica Coffee ผู้ปักหมุด กาแฟน่าน ให้เป็นที่รู้จักระดับประเทศ

นี่คือสองสามีภรรยา ที่อยากมาใช้ชีวิตบั้นปลายที่น่าน คิดสร้างแบรนด์กาแฟของตัวเองขึ้นมาในชื่อ Erabica (เอราบิก้า) กลายเป็นการยกระดับกาแฟน่านเป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น