HOORAY! หลากไอเดียชุดแฟนซีสายฮา หัวเราะได้กว้างกว่าในงานปาร์ตี้

TEXT :Wattar PHOTO :HOORAY!




Main Idea
 
  • HOORAYสะท้อนตัวตนที่สนุกสนานของเจ้าของธุรกิจได้เป็นอย่างดี เมื่อพวกเธอหยิบเอาสิ่งรอบตัวมาเป็นไอเดียออกแบบชุดแฟนซีแปลกใหม่แล้วเปิดให้เช่า ทำให้งานปาร์ตี้ไม่น่าเบื่อจำเจอีกต่อไป
 
  • จากธุรกิจให้เช่าชุดแฟนซี HOORAY! คว้าโอกาสต่อยอดธุรกิจให้กลายเป็นคอมมูนิตี้รวมรวบซัพพลายเออร์ที่ให้บริการเกี่ยวกับงานปาร์ตี้และอีเวนท์มารวมอยู่ในที่เดียว





     รับรองว่าคนในงานปาร์ตี้ต้องมองจนเหลียวหลังแน่หากใส่ชุดแฟนซีที่มาจากร้าน HOORAY!ไม่ใช่เพราะความอลังการงานสร้าง แต่เป็นเพราะไอเดียการหยิบเอาสิ่งรอบตัวอย่าง ไข่ดาว ซอส แมลงสาบ ยาฆ่าแมลง มาสร้างสรรค์ให้กลายเป็นชุดสนุกๆ มีคาแรกเตอร์ที่แปลกใหม่ไม่ซ้ำใครของสองสาวเจ้าของร้านอย่าง เอแคลร์–สิรัญธยา หงวนศิริ และ เนตร-นทีกานต์ เต็มภัทรศักดิ์




     เอแคลร์ชอบทำงานคราฟท์ ตัดเย็บชุดและประดิษฐ์พล็อตเวลามีงานปาร์ตี้ตั้งแต่เด็กๆ ส่วนเนตรเป็นครีเอทีฟชอบคิดอะไรเจ๋งๆ ตลกๆ แหวกแนว ทั้งสองคนสร้างสรรค์ชุด American Food ที่มีทั้ง Ketchup, Mustard และ Hot Dog เพื่อไปงานปาร์ตี้ธีม America ที่เพื่อนๆ จัดขึ้นแล้วมีคนชอบ หลังจากนั้นก็ได้หมุนเวียนเปลี่ยนมือให้เพื่อนยืมไปหลายคน จึงเป็นไอเดียที่ว่าทำไมไม่ทำชุดขึ้นมาอย่างจริงจังแล้วแบ่งให้คนอื่นเช่าด้วยเสียเลย จากเรื่องเล่นจึงกลายเป็นธุรกิจ HOORAY! Costume Studio ให้บริการทั้งเช่าและตัดชุดตามแบบที่ลูกค้าต้องการ หรือใครมีชุดอยู่แล้วสามารถมาฝากเช่าก็ได้


     เนตรบอกว่าลูกค้าของร้านก็มีความชอบคล้ายพวกเธอ เป็นกลุ่มคนที่ชอบความสนุกสนานร่าเริง กล้าทำอะไรแหวกแนว ชอบจัดงานปาร์ตี้





     “นึกภาพคนที่ยอมจ่ายเงินกับลูกโป่งลูกใหญ่ๆ ติดชื่อ หรือเค้ก Customized ที่ปั้นเป็นรูปต่างๆ ตามธีม ซึ่งเรามองว่าชุดของเราน่าจะเข้าไปเพิ่มความสนุก น่าสนใจเข้าไปให้กับธีมด้วย แต่พอทำแบรนด์มาได้ซักพักก็จะเริ่มมีกลุ่มใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเช่นแบรนด์ต่างๆ รายการโทรทัศน์ ครอบครัว โดยเฉพาะสั่ง Customize สำหรับเด็กๆ เราเลยต้องพยายามทำชุดให้ตอบโจทย์ลูกค้าที่หลากหลายขึ้น”


     สิ่งที่ทำให้ HOORAY! แตกต่างจากร้านเช่าชุดร้านอื่นๆ นอกเหนือไปจากไอเดียแล้วคือการตัดเย็บชุดให้สวมง่าย ถอดง่าย จากการที่สังเกตเห็นว่าลูกค้าบางคนไม่ได้อยากใส่ชุดแฟนซีไปจากบ้านเพราะเขิน หรืออยากใส่ถ่ายรูปแล้วถอดออกเป็นชุดสวยของตัวเอง ซึ่งร้านเช่าชุดตามท้องตลาดส่วนมากจะมีชุดเป็นคาแรคเตอร์เช่น เป็นโจรสลัด เป็นสโนว์ไวท์ เป็นซูเปอร์แมน และอาจจะต้องมีการแต่งหน้าทำผมให้เข้ากับตัวละครนั้นๆ แต่ชุดของ HOORAY! ทุกชุดสามารถใส่ทับชุดที่มีอยู่ได้เลยไม่ต้องถอดเปลี่ยน





     ไหนๆ ก็ไหนๆ จะปาร์ตี้ทั้งทีไม่ได้มีแค่ชุดสวย ในเมื่อทั้งสองคนรวมถึงเพื่อนรอบตัวชอบจัดงานรวมถึงสายงานที่ทำอยู่เกี่ยวกับอีเวนท์ ทุกครั้งต้องหาซัพพลายเออร์หลายเจ้ามาช่วยกันทำให้งานเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นร้านลูกโป่ง ช่างภาพ สไตลิ่ง(Styling)  ร้านของขวัญ แคทเทอริ่ง (Catering) โฟโต้ชู้ท (Photoshoot) และอื่นๆ อีกมากมาย HOORAY! ในวันนี้จึงกลายเป็นคอมมูนิตี้ที่รวมตัวพาร์ทเนอร์ที่ถนัดด้านต่างๆ มาไว้ในที่เดียว

เอแคลร์เล่าว่าความสนุกที่ได้ทำงานนี้ คือการได้เห็นลูกค้ามีความสุข




     “จริงอยู่ที่ตอนแรกเริ่มทำร้านความสนุกของพวกเราคือการได้ออกแบบชุดแปลกๆ ได้ทำให้มันเป็นรูปเป็นร่าง เอาชุดมาใส่แล้วก็ขำกันอยู่ไม่กี่คนกับกลุ่มเพื่อน แต่พอได้เห็นว่ามีคนเข้าใจในสิ่งที่พวกเราทำแล้วรักมันเหมือนที่พวกเรารักความสนุกตอนนี้เลยอยู่ที่การได้รับรู้ว่าลูกค้าจะเช่าชุดไปเนื่องในโอกาสอะไร บางอย่างเรานึกไม่ถึงเลยจริงๆ เช่น เอาไปใส่แก้บนวิ่งมาราธอนเปิดบูธขายของ การได้ยินฟีดแบค (Feedback) รวมไปถึงการได้ทำ Collaboration กับธุรกิจอื่นๆ ที่มีอุดมการณ์เดียวกัน ได้ต่อยอดเป็นอะไรใหม่ๆ แล้วสนุกมาก”


     ความสนุกของคนทำและความสุขของลูกค้า คงสะท้อนความสำเร็จได้ชัดเจนแล้วสำหรับธุรกิจนี้
 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจ Startup 



 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน