รู้ทันผู้สูงวัยยุคใหม่! มหาอำนาจในการซื้อที่กำลังจะครองโลกในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า




Main Idea
 
  • เชื่อกันว่าผู้สูงอายุจะครองโลกเป็นครั้งแรกในปี  2593  และกลายเป็นตัวขับเคลื่อนสู่เศรษฐกิจสูงวัย (Silver Economy) และ เศรษฐกิจอายุวัฒน์ (Longevity Economy) ขณะที่ประเทศไทยจะมีประชากรสูงอายุถึง 30 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2578 
 
  • ผู้สูงอายุคือโอกาส แต่วันนี้พวกเรารู้จักตลาดผู้สูงอายุดีแค่ไหน แล้วรู้ไหมว่าผู้สูงอายุยุคนี้มีไลฟ์สไตล์ การใช้ชีวิตแตกต่างจากผู้สูงอายุในยุคที่ผ่านๆ มาอย่างไร ชอบหรือไม่ชอบอะไร แล้วถ้าจะต้องทำสินค้าหรือบริการมาตอบสนองต้องเข้าถึงคนกลุ่มนี้แบบไหน
 
  • รายงานวิจัย “Getting Older – Our Aging World”  ของอิปซอสส์บริษัทสำรวจและวิจัยตลาดสัญชาติฝรั่งเศส  ชี้ให้เห็นเทรนด์ความชอบ ความต้องการ  พฤติกรรม และไลฟ์สไตล์ของผู้สูงอายุชาวโลกและชาวไทยที่ผู้ประกอบการต้องรู้ เพื่อวางแผนธุรกิจให้ถูกทิศถูกทาง 




     “กลุ่มผู้สูงอายุ” เป็นตลาดและโอกาสของธุรกิจทั่วโลก โดยเชื่อกันว่า ผู้สูงอายุจะครองเมืองในทุกพื้นที่ของโลกเป็นครั้งแรกในปี  2593 (ค.ศ.2050) และกลายเป็นตัวขับเคลื่อน สู่เศรษฐกิจสูงวัย (Silver Economy) และ เศรษฐกิจอายุวัฒน์ (Longevity Economy) เปลี่ยนความเชื่อเดิมๆ ออกจากกลุ่มมิลเลนเนียล (Millennial) ขณะที่ประเทศไทยจะมีประชากรสูงอายุถึง 30 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2578 


     รู้ว่าผู้สูงอายุคือโอกาส แต่รู้ไหมว่าคนกลุ่มนี้ มีความชอบ ความต้องการ  พฤติกรรม และไลฟ์สไตล์แบบไหน  เหมือนผู้สูงอายุในจินตนาการหรือภาพจำเก่าๆ ที่ทุกคนเคยนึกถึงหรือไม่ อิปซอสส์ บริษัทสำรวจและวิจัยตลาดสัญชาติฝรั่งเศส ทำรายงานวิจัยชุดพิเศษ “Getting Older – Our Aging World” เพื่อช่วยให้ธุรกิจเข้าถึงความรู้สึกนึกคิด และความต้องการของกลุ่มผู้สูงอายุ จะได้ประเมินสถานการณ์และวางแผนธุรกิจได้อย่างถูกทิศถูกทาง 
 



ใครว่าห่างไกลเทคโนโลยี คนสูงวัยยุคนี้เข้าถึงออนไลน์กันแล้ว



     วันนี้คนสูงวัยจำนวนมากได้เข้าสู่โลกอินเตอร์เน็ต เป็นเจ้าของสมาร์ทโฟน หาข้อมูล พูดคุย และสั่งซื้อสินค้าผ่านโลกออนไลน์กันมากขึ้น โดยในอังกฤษพบว่า 43 เปอร์เซ็นต์ ของผู้สูงวัยสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ ทำให้การซื้อสินค้าออนไลน์เป็นกิจกรรมหลักของผู้สูงวัยในประเทศนั้น ในขณะเดียวกัน 84 เปอร์เซ็นต์ ของผู้สูงวัยในแคนนาดาใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อเข้าถึงข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ ในประเทศไทยกว่า 1.2 ล้านของผู้สูงวัยที่มีอายุเกิน 60 ปี เข้าถึงโลกอินเตอร์เน็ต ดังนั้นความเชื่อที่ว่าผู้สูงวัยไม่ยอมปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีสมัยใหม่จึงเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้องอีกต่อไป


     ไม่เพียงที่ผู้สูงวัยในปัจจุบันเปิดรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ซึ่งแตกต่างจากความเชื่อของสังคม ผู้สูงวัยในปัจจุบันยังมีความต้องการและความชื่นชอบที่ไม่เหมือนสิ่งที่สังคมคิดมาในตลอดในอดีต การมองว่าผู้สูงวัยชอบอยู่บ้านเลี้ยงหลาน คือความเชื่อที่ไม่สะท้อนภาพความเป็นจริงของผู้สูงวัยในปัจจุบัน  จากสถิติในเปรู ครึ่งหนึ่งของผู้สูงวัยต้องการออกไปท่องเที่ยว ส่วน 40 เปอร์เซ็นต์ ต้องการเริ่มธุรกิจของตัวเอง และอีกมากกว่า 3 ใน 4 ของผู้สูงวัยทั้งในประเทศไทย และฝรั่งเศส ยังมีความสนใจ และต้องการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ ไม่ได้ต้องการอยู่บ้าน ทำสิ่งที่จำเจอีกต่อไป
 



ไม่ใช่แค่สถานะผู้สูงวัย แต่คือคนมีอำนาจทางการเงินอยู่ในมือ



     จากความต้องการของผู้สูงวัยที่เพิ่มขึ้นและเปลี่ยนไปจากเมื่อก่อน ตลาดผู้สูงวัยได้เพิ่มความซับซ้อนละมีมูลค่าสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในประเทศอังกฤษเม็ดเงิน 3 แสน 2 หมื่นล้านปอนด์ ซึ่งนับเป็น 47 เปอร์เซ็นต์  ของมูลค่าตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคทั้งหมดมาจากกลุ่มผู้สูงอายุ ในฝรั่งเศสผู้สูงวัยมีเงินที่เตรียมไว้ใช้ท่องเที่ยวถึง 2 หมื่น 2 พันล้านยูโร ในญี่ปุ่นเองผู้สูงอายุยังเป็นเจ้าของทรัพย์สินถึง 1.439 พันล้านล้านเยน ซึ่งนับเป็น 80 เปอร์เซ็นต์ ของตลาดการเงินทั้งหมด


     ในปี 2032 (พ.ศ. 2575) ที่อเมริกา เศรษฐกิจอายุวัฒน์ (Longevity Economy) หรือก็คือมูลค่าตลาดที่รวมทั้งสินค้าและบริการสำหรับผู้สูงวัยนั้นจะมีสัดส่วนที่ใหญ่กว่าทุกภาคส่วนของตลาดอื่นรวมกัน
 



แกะปมในใจผู้สูงวัยวิตกกังวลเรื่องไหนมากที่สุด



     งานวิจัยของอิปซอสส์ระบุว่า สิ่งที่ผู้สูงอายุทั่วโลกวิตกกังวลมากที่สุด คือ  เรื่องเงิน และ สุขภาพ  และสิ่งที่ผู้สูงอายุชาวไทยมีความกังวลใจซึ่งก็มีความใกล้เคียงกัน โดยสามารถเรียงลำดับตามความวิตกกังวลของกลุ่มผู้สูงวัยของโลก  คือ   กลัวมีเงินไม่พอต่อการดำรงชีวิต  30 เปอร์เซ็นต์,   กลัวมีปัญหาการเคลื่อนไหวทางร่างกาย  25 เปอร์เซ็นต์,  เสียความทรงจำ 24 เปอร์เซ็นต์,  ไม่สามารถทำสิ่งต่างๆ ที่เคยทำได้ 22 เปอร์เซ็นต์,   การจากไปของคนในครอบครัว  ญาติ และเพื่อนฝูง  20 เปอร์เซ็นต์, ความเจ็บป่วย 20 เปอร์เซ็นต์,  ถูกทิ้งให้เปล่าเปลี่ยว  เหงา  เศร้า 19 เปอร์เซ็นต์,   ไม่มีอิสระ 18 เปอร์เซ็นต์, ตาย   16 เปอร์เซ็นต์,    หูตึง / ตามองไม่เห็น 13 เปอร์เซ็นต์ ส่วนความกังวลใจของผู้สูงอายุคนไทยเมื่อถึงวัยชรา  เรียงตามลำดับได้ดังนี้   
               

     51 เปอร์เซ็นต์ - ไม่สามารถทำสิ่งต่างๆ ที่เคยทำได้    41เปอร์เซ็นต์-เจ็บป่วย     34 เปอร์เซ็นต์- ความเคลื่อนไหวทางร่างกาย     32เปอร์เซ็นต์ -มีเงินไม่พอต่อการดำรงชีวิต  27 เปอร์เซ็นต์ -เสียความทรงจำ   20 เปอร์เซ็นต์ -ญาติและเพื่อนฝูงค่อยๆ จากไป   15 เปอร์เซ็นต์ -สูญเสียสายตาและ การได้ยิน   10 เปอร์เซ็นต์-ถูกทิ้งให้ล้าหลังทางเทคโนโลยี    10 เปอร์เซ็นต์ -ผมหงอกและศีรษะล้าน   10 เปอร์เซ็นต์ -เบื่อหน่าย   10 เปอร์เซ็นต์ -ถูกทิ้งให้โดดเดี่ยว   7 เปอร์เซ็นต์ -ไมได้รับการดูแลเอาใจ  เป็นต้น 
 



เจาะไลฟ์สไตล์และการใช้เงินของผู้สูงวัย

               

     เพื่อให้เข้าใจและเข้าถึงกลุ่มผู้สูงอายุคนไทยให้มากยิ่งๆขึ้น  อิปซอสส์ได้ทำการศึกษาเพิ่มเติมถึง ไลฟ์สไตล์ กิจกรรมที่ทำ ตลอดจน พฤติกรรมการใช้จ่ายเงินของกลุ่มผู้สูงวัย  ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้


     ออกกำลังกาย (56  เปอร์เซ็นต์) เดินทางท่องเที่ยว (49 เปอร์เซ็นต์) การเพาะปลูก (34 เปอร์เซ็นต์)  เยี่ยมญาติ / เพื่อน  (27 เปอร์เซ็นต์) เดินออกกำลังกาย (27 เปอร์เซ็นต์) ร่วมกิจกรรมชุมชน (22 เปอร์เซ็นต์)  ช้อปปิ้ง (20 เปอร์เซ็นต์)    หาสิ่งใหม่ๆ เรียนรู้ (12 เปอร์เซ็นต์) ไปเป็นอาสาสมัคร (10 เปอร์เซ็นต์) เข้าสู่สังคมโซเชียล (7 เปอร์เซ็นต์) เช่นเฟซบุ๊ก    เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ (7 เปอร์เซ็นต์) เล่นโยคะ (7 เปอร์เซ็นต์) เลี้ยงสัตว์เลี้ยง (5 เปอร์เซ็นต์) เรียนคอร์สออนไลน์ต่างๆ  (5 เปอร์เซ็นต์) เล่นเกมกระดาน หรือ Board Gaming (5 เปอร์เซ็นต์) เรียนรู้เครื่องมือใหม่ต่างๆ (2 เปอร์เซ็นต์) ดูภาพยนตร์ (2 เปอร์เซ็นต์)
                 



     ส่วนพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้สูงอายุชาวไทยนั้น  ผลสำรวจพบว่า  ผู้สูงอายุชาวไทยได้ให้ความ สำคัญในเรื่องของการใช้จ่ายเงินในเรื่องต่างๆ   ดังนี้  การใช้จ่ายเพื่ออาหารเป็นอันดับสูงสุด ถึง 95 เปอร์เซ็นต์  ตามมาด้วย  การออกไปทานอาหารนอกบ้านในโอกาสพิเศษถึง 78 เปอร์เซ็นต์  ใช้เงินกับซื้อเครื่องไฟฟ้าในบ้าน 78 เปอร์เซ็นต์   ใช้จ่ายสำหรับเสื้อผ้า 73 เปอร์เซ็นต์  ใช้เงินเพื่อการผ่อนคลาย 73 เปอร์เซ็นต์   การท่องเที่ยว  71 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ 
               
               
     นี่คือ ตัวอย่างไลฟ์สไตล์ ความชอบ การใช้ชีวิต การใช้เงิน ตลอดจนความวิตกกังวลในด้านต่างๆ ที่สะท้อนถึงความแตกต่างของตลาดผู้สูงวัยในโลกยุคใหม่ ซึ่ง SME ที่สนใจเจาะตลาดควรเข้ามาศึกษาและเรียนรู้ เพื่อที่จะเข้าใจตลาดผู้สูงวัยให้มากขึ้น และเลือกปรับเกมธุรกิจให้ตอบสนองได้อย่างทันท่วงที
 
 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

ทำธุรกิจซัก-รีด ยังไงให้มีรายได้สาขาละแสน ล้วงความลับกับเจ้าของแบรนด์ ตั้งใจซัก

หนึ่งในธุรกิจที่ขึ้นชื่อว่าเป็น “เสือนอนกิน” นั้นต้องมีธุรกิจเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญติดในลิสต์เป็นอันดับต้นๆ ทำให้ธุรกิจนี้เติบโตเป็นพิเศษโดยเฉพาะในช่วงโควิดที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการที่สนใจเปิดธุรกิจนี้มากมาย แต่ถึงแม้จะเป็นธุรกิจเสือนอนกิน ใช่ว่าทุกคนจะเป็นเสือที่ได้กินธุรกิจนี้ง่ายๆ

Erabica Coffee ผู้ปักหมุด กาแฟน่าน ให้เป็นที่รู้จักระดับประเทศ

นี่คือสองสามีภรรยา ที่อยากมาใช้ชีวิตบั้นปลายที่น่าน คิดสร้างแบรนด์กาแฟของตัวเองขึ้นมาในชื่อ Erabica (เอราบิก้า) กลายเป็นการยกระดับกาแฟน่านเป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น

HEH ร้านอาหารย่านภูเก็ต เชฟใช้เวลาในครัวให้เหมือนอยู่ในสนามแข่ง ไม่อยากเป็นแค่ Just Another Restaurant

“HEH (เห)” ร้านอาหารสไตล์  Australian Contemporary กลางเมืองภูเก็ต สร้างเมนูอาหารให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพราะไม่อยากเป็นเพียง แค่ร้านอาหารร้านหนึ่ง