ทำอะไรขายดี! เมื่อโลกใบนี้กำลังจะถูกครอบครองโดย “คนวัยเก๋า”




Main Idea
 
  • โลกกำลังจะมีผู้บริโภคกลุ่มใหญ่เป็น “คนสูงวัย” ขณะที่ไทยเราเองก็จะเป็นประเทศกำลังพัฒนาประเทศแรกที่ก้าวเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี 2565 และเป็นสังคมผู้สูงอายุสมบูรณ์อย่างเต็มที่ในอีกราว 10 ปีหลังจากนั้น
 
  • สำหรับ SME นี่คือสัญญาณการเปลี่ยนแปลงของตลาด ที่มาพร้อมกับ “โอกาส” เมื่อตลาดสินค้าและบริการเพื่อผู้สูงอายุมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ว่าแต่เราจะหาโอกาสจากตลาดนี้อย่างไร ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมีคำตอบ
 



     วันนี้โลกทั้งใบกำลังพูดถึงสังคมผู้สูงอายุ ปรากฏการณ์ที่ทยอยเกิดขึ้นทั่วโลก โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงานว่าประเทศไทยได้ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ไปแล้วตั้งแต่ประมาณปี 2548 และกำลังจะเข้าสู่ระดับสังคมผู้สูงอายุสมบูรณ์ (Aged Society) ในปี 2565 หรือในอีก 3 ปีข้างหน้า ซึ่งไทยจะเป็นประเทศแรกในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ หลังจากนั้น ในราวปี 2575 ไทยยังถูกคาดการณ์ว่าจะขยับเป็นสังคมผู้สูงอายุสมบูรณ์อย่างเต็มที่ (Super-Aged Society) อีกด้วย
               

     ด้วยฐานของจำนวนประชากรสูงอายุและค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี จึงเป็น โอกาสทางธุรกิจสำหรับสินค้าและบริการเพื่อผู้สูงอายุ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า เม็ดเงินหมุนเวียนในตลาดสินค้าและบริการเพื่อผู้สูงอายุในปัจจุบันน่าจะมีมูลค่าไม่ต่ำว่า 9 แสนล้านบาทต่อปี เบื้องต้นคำนวณจากค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันเฉลี่ยของผู้สูงอายุที่อยู่ที่ราว 9,000-10,000 บาท ต่อเดือน ซึ่งครอบคลุมค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่ายา ค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล และค่าใช้จ่ายในบ้าน ซึ่งหากรวมค่าสังสรรค์กับเพื่อนและค่าเดินทางท่องเที่ยว ค่าใช้จ่ายจะสูงกว่านี้ ซึ่งภาพดังกล่าวสะท้อนถึงโอกาสทางธุรกิจของสินค้าและบริการสำหรับผู้สูงอายุ ว่าแต่จะมีอะไรเป็นโอกาสบ้างนั้น ไปดูกัน
 




                1.กลุ่มสินค้าและบริการด้านสุขภาพ


     ซึ่งเกี่ยวข้องกับหลายธุรกิจ เช่น  ธุรกิจยาและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์  ธุรกิจอาหารและโภชนาการ บ้านพักคนชรา สถานบริการช่วยเหลือในการดำรงชีวิต สถานบริบาล สถานดูแลระยะยาวในโรงพยาบาล สถานดูแลระยะสุดท้าย ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจโรงพยาบาล ธุรกิจจัดหาผู้ดูแลผู้สูงอายุไปตามบ้าน  เป็นต้น
               

     จากการที่ยุคนี้ผู้สูงอายุและลูกหลานมีแนวโน้มหันมาเน้นการดูแลสุขภาพเชิงรุกมากขึ้น หรือการป้องกันและฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรง แม้ส่วนใหญ่จะยังคงเป็นการรักษาตามอาการเจ็บป่วยอยู่ก็ตาม จึงเป็นโอกาสของสินค้าและบริการต่างๆ ที่จะเข้ามาตอบสนอง เช่น





     -สินค้าอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ
 เพราะกลุ่มผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่ต้องการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ ถูกหลักโภชนาการ และมีส่วนประกอบที่ป้องกัน/ลดความเสี่ยงโรคที่เกิดกับผู้สูงอายุ อีกทั้ง ควรจะต้องมีคุณสมบัติเฉพาะตัว
เช่น มีความอ่อนนุ่ม สามารถกลืนหรือละลายในปากได้ เพื่อลดการสำลัก เป็นต้น รวมไปถึงกลุ่มวิตามิน และอาหารเสริมต่างๆ

     -สินค้าที่ดูแลร่างกายและผิวพรรณประเภทออร์แกนิก ที่ผลิตจากธรรมชาติหรือสมุนไพรที่นามาผสมกับเทคโนโลยีสมัยใหม่แล้วมีสรรพคุณต่อต้าน ชะลอริ้วรอย ลดรอยกระ จุดด่างดำ เป็นต้น

     -อุปกรณ์และเครื่องออกกาลังกายที่เหมาะกับผู้สูงวัย

     -สถานบริการดูแลผู้สูงอายุ เพราะกลุ่มผู้สูงอายุที่เจ็บป่วย / ไม่สามารถดูแลตนเองได้/อาศัยอยู่คนเดียวหรืออยู่กับลูกหลานแต่ลูกหลานต้องไปทางานระหว่างงาน น่าจะมีสัดส่วนเป็นส่วนใหญ่ของประชากรผู้สูงอายุทั้งหมด
               
     -HealthTech หรือธุรกิจสตาร์ทอัพเพื่อสุขภาพ เป็นบริการล้ำ ๆ ในยุคดิจิทัลที่เข้ามาช่วยตอบโจทย์ความต้องการด้านการดูแลรักษาสุขภาพได้อย่างครอบคลุมมากขึ้น ซึ่งเป็นบริการที่ไม่ได้จากัดเพียงผู้สูงอายุหรือคนที่สุขภาพไม่แข็งแรง แต่ยังช่วยแบ่งเบาภาระของคนรอบข้างที่เป็นผู้ดูแลอีกด้วย อาทิ แอปพลิเคชั่นเตือนตารางนัดพบแพทย์ ระบบบันทึกการรักษาแบบออนไลน์ ระบบ Telemedicine สำหรับปรึกษาแพทย์ผ่านมือถือ และระบบแจ้งเหตุฉุกเฉินไปยังโรงพยาบาล เป็นต้น
 




                2.กลุ่มสินค้าและบริการเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน
               

     ซึ่งเกี่ยวข้องกับ กลุ่มผู้ผลิตและจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน ธุรกิจวัสดุก่อสร้าง ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และสิ่งอำนวย ความสะดวกด้านความปลอดภัย ธุรกิจขนส่งและอำนวยความสะดวก ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค เป็นต้น
               

     ซึ่งนอกจากประเด็นสุขภาพแล้ว สินค้าและบริการเพื่อสูงอายุยังต้องคำนึงถึงสรีระที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้สูงวัยด้วย เช่น สินค้าน้ำหนักเบา เปิดปิดง่าย ตัวหนังสือนำอการใช้ที่มีขนาดใหญ่ เป็นต้น มาดูกันว่าธุรกิจอะไรบ้างที่มีโอกาส

               
     -สินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ แปรงสีฟันที่มีขนอ่อนนุ่ม และผลิตภัณฑ์ติดฟันปลอม

     -เฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ช่วยเหลือกิจวัตรประจำวัน เช่น เตียงนอน/โต๊ะ/เก้าอี้ที่ปรับระดับได้ อุปกรณ์หยิบจับ ไม้เท้าที่สามารถบอกตำแหน่งที่อยู่ของผู้ใช้ได้ เก้าอี้เลื่อนไฟฟ้าหรือลิฟต์ในบ้าน





     -อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
ทั้งในส่วนของเทคโนโลยีที่ใช้ sensor detect และSmart Home เช่น กล้องวงจรปิดที่เชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนของลูกหลาน สวิตซ์ไฟ/หลอดไฟเปิดปิดอัตโนมัติ

     -ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยลดการเกิดอันตรายสาหรับผู้สูงอายุ เช่น พื้นกระเบื้องกันลื่น ราวจับพยุงการลุกนั่งเดิน

     -ธุรกิจบริการรถเช่า บริการรับส่งผู้สูงอายุ รวมทั้งธุรกิจที่เกี่ยวกับอุปกรณ์ในรถยนต์ด้วย โดยพาหนะต่างๆ ต้องมีการปรับให้ตอบสนองคนกลุ่มนี้เช่น สามารถนำรถวีลแชร์ขึ้นไปบนรถได้ เป็นต้น

     -ธุรกิจเดลิเวอรี่ อาทิ ธุรกิจอาหารเดลิเวอรี่ ธุรกิจรับส่งของ (อาจรวมถึงบริการติดตั้งให้ด้วย) ธุรกิจจัดส่งพนักงานทาความสะอาดบ้าน/ดูแลต้นไม้/ล้างรถ ธุรกิจรับจ้างซักรีด ธุรกิจเสริมสวย ธุรกิจช่างเบ็ดเตล็ดประจาบ้าน แต่ทั้งนี้ก็ต้องมาพร้อมด้วยความจริงใจและความซื่อตรงในการให้บริการด้วย
               

                3.กลุ่มสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความสุขทางกายและใจ


     ซึ่งธุรกิจที่เกี่ยวข้อง คือ ธุรกิจท่องเที่ยว โรงแรมและสันทนาการ และธุรกิจธนาคารและสถาบันการเงิน เป็นต้นเนื่องจากในวัยนี้ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะมีเวลาว่างและยินดีจะจับจ่ายเพื่อเป็นการให้รางวัลแก่ตัวเองและใช้ชีวิตให้มีความสุขมากขึ้น จึงเป็นโอกาสของธุรกิจและบริการต่างๆ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

               



     -ธุรกิจทัวร์สาหรับผู้สูงวัย ซึ่งโปรแกรมการท่องเที่ยวของผู้สูงวัยคงจะเป็นไปแบบเบาๆ กว่ากลุ่มคนหนุ่มสาว เช่น มีการพาไปตรวจเช็คสุขภาพหรือดูแลสุขภาพด้วยแพทย์ทางเลือก พาเข้าสปา ล้างพิษ นั่งวิปัสสนา ช้อปปิ้งผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ยาสมุนไพร พาชิมร้านอาหารดังในตานาน/ตลาดเก่า เป็นต้น แต่ที่สำคัญต้องมีความพร้อมทั้งสิ่งอานวยความสะดวกและผู้เชี่ยวชาญในการดูแลผู้สูงอายุ เพื่อดึงดูดให้กลับมาใช้บริการซ้ำอีก

     -ธุรกิจโรงเรียนสอนทักษะการใช้สื่อออนไลน์ เพราะเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจาวันมากขึ้นไม่เว้นแม้แต่ในกลุ่มผู้สูงวัย

     -โรงเรียนสอนงานฝีมือ/งานแฮนด์เมด ที่มาเติมเต็มความรู้สึกและก่อให้เกิดการใช้เวลาว่างอย่างมีคุณค่า หรืออาจเป็นอาชีพเสริมได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นงานวาดภาพสีน้ำงานเย็บกระเป๋า/พวงกุญแจผ้า หรืองานเย็บถักตุ๊กตา/ผ้าพันคอ เป็นต้น

     -ฟิตเนสที่เน้นการออกกาลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงวัย ไม่ว่าจะเป็นคลาสโยคะ เต้นแอโรบิก เต้นซุมบ้า เต้นลีลาศ เป็นต้น

     -ธุรกิจที่ปรึกษาวางแผนทางการเงินหลังเกษียณ เพื่อช่วยให้ผู้สูงวัยมีการเตรียมและวางแผนวางแผนทางการเงิน รวมถึงการบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสมด้วย
 




                คำนึงถึงราคา เพราะผู้สูงอายุส่วนใหญ่รายได้ไม่สูง

               
     อย่างไรก็ดี เนื่องจากผู้สูงอายุไทยส่วนใหญ่ยังมีรายได้ไม่สูงนัก ดังนั้น ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าและบริการเพื่อผู้สูงอายุคงต้องเลือกตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายให้ตรงจุด เป็นความท้าทายสำหรับภาคธุรกิจที่จะต้องคัดสรรและพัฒนาสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายให้ได้อย่างเหมาะสม
               

     โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์ว่า ในปี 2565 ผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปี ขึ้น ไป) ที่มีรายได้เฉลี่ยต่อปี ตั้งแต่ 300,000 บาทขึ้นไป ซึ่งถือเป็นรายได้ที่เกินระดับเพียงพอต่อการดำรงชีพ น่าจะมีจานวนรวม 5.7 แสนคน หรือมีสัดส่วนไม่ถึง 5 เปอร์เซ็นต์ ของผู้สูงอายุทั้งหมดที่คาดว่าจะมีจานวน 13.61 ล้านคน ขณะที่ผู้สูงอายุที่มีรายได้เฉลี่ยต่อปี ต่ำกว่า 300,000 บาท จะมีสัดส่วนสูงถึง 95-96 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ที่เดิมพึ่งพาลูกหลานในการเป็นแหล่งรายได้หลัก ก็อาจมีความสามารถที่จะพึ่งพาลูกหลานได้น้อยลงเมื่อเวลาผ่านไป เนื่องจากสังคมไทยมีแนวโน้มจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น และหลายครอบครัวก็เลือกที่จะไม่มีบุตรหรืออยู่เป็นโสด ทาให้ต้องพึ่งพารายได้จากการทางาน/เงินออมของตนเอง รวมทั้งสวัสดิการจากภาครัฐเพิ่มมากขึ้นและท้ายสุดอาจส่งผลกระทบต่อความ สามารถในการใช้จ่ายได้





     ดังนั้นการเจาะตลาดผู้สูงอายุไทย ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านราคาให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งหากเป็นกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางลงมาก็คงต้องเน้นไปที่สินค้าและบริการที่มีราคาย่อมเยา รวมถึงอาจจำเป็นต้องมีการติดต่อกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ส่วนตลาดผู้สูงอายุที่มีกาลังซื้อปานกลางขึ้นบน ซึ่งส่วนใหญ่ภาคธุรกิจน่าจะเน้นเลือกให้เป็นกลุ่มเป้าหมายของตน ทำให้สภาวะการแข่งขันจะมีความเข้มข้นมาก นั่นหมายความว่า สินค้าและบริการคงต้องเน้นไปที่ความคุ้มค่ากับการใช้จ่าย ความแตกต่างจากสินค้าและบริการของผู้ประกอบการรายอื่น และคุณภาพของสินค้าบริการในลักษณะ On Demand/Personalized หรือตอบความต้องการเฉพาะบุคคลเป็นหลัก


     ในส่วนของช่องทางการจำหน่ายก็ควรต้องหันมาขยายช่องทางออนไลน์เพิ่มขึ้น นอกเหนือจากช่องทางหน้าร้าน เพื่อเปิดโอกาสในการเข้าถึงและอำนวยความสะดวกให้กลุ่มผู้สูงวัยที่มีข้อจำกัดในด้านการเคลื่อนไหวและการเดินทางไปซื้อหาสินค้าและบริการด้วยตนเอง แต่ทั้งนี้จำเป็นที่จะต้องมีการออกแบบหรือปรับฟังก์ชั่นการใช้งานให้ง่าย/สะดวก/ไม่ซับซ้อนจนเกินไปสาหรับผู้สูงอายุ เช่น มีขนาดตัวอักษรหรือปุ่มรายการที่ใหญ่ เป็นต้น โดยการดาเนินการดังกล่าว ไม่เพียงจะสามารถตอบสนองกลุ่มผู้สูงอายุในยุคปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังสามารถที่จะรองรับกลุ่มประชากรที่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ดีซึ่งกำลังเตรียมที่จะก้าวเป็นผู้สูงอายุในอนาคตด้วย
 

     ตลาดคนรุ่นใหญ่วัยเก๋ายังเป็นโอกาสของผู้ประกอบการไทย ขอแค่ลงมาศึกษาอย่างจริงจัง ก็สามารถสร้างโอกาสธุรกิจได้อีกมากในอนาคต
 

ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
 

www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน