อยากดิสรัปต์องค์กร ก่อนถูกโลก ‘ดิสรัปต์’ ต้องเริ่มจาก 3 หัวใจนี้



 
Main Idea
 
  • ประเทศไทยได้เปลี่ยนผ่านสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) โดยคาดว่ามีมูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัลกว่า 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นอันดับสองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย และมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง 
 
  • นั่นเองคือเหตุผลที่องค์กรต่างๆ รวมถึงผู้ประกอบการ SME ต้องรีบลุกขึ้นมาปรับตัวทำเรื่อง Digital Transformation  เพราะหากอยากอยู่รอด ต้องดิสรัปต์ตัวเอง ก่อนจะถูกโลกดิสรัปต์

 


     ความท้าทายของการทำธุรกิจในโลกยุคใหม่ คือความพร้อมในการปรับเปลี่ยนตัวเองอย่างรวดเร็ว เพื่อให้รับกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป สำหรับผู้ประกอบการ SME เรื่องนี้อาจไม่ใช่งานง่าย แต่เป็นสิ่งที่ต้องทำ เพราะถ้ายังทำอะไรแบบเดิม ไม่ปรับหรือขยับตัว ก็อาจถูกกลืนหายในโลกยุคใหม่ได้ 


     “อย่ามองว่าเทคโนโลยีเป็นแค่เทคโนโลยี แต่ให้มองว่าเทคโนโลยีส่งผลกระทบเชิงลึกอย่างไรบ้างต่อชีวิตและธุรกิจของเรา หากอยากอยู่รอด ต้องดิสรัปต์ตัวเอง ก่อนจะถูกดิสรัปต์” 




     นี่คือมุมมองของ “Jaspreet Bindra” ผู้ก่อตั้ง Digital Matters บริษัทให้คำปรึกษาเรื่อง Digital Transformation ผู้มีประสบการณ์ในการสร้างการเปลี่ยนแปลงรูปแบบองค์กรอย่างมีกลยุทธ์และชั้นเชิงทางธุรกิจ โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาเป็นตัวช่วย เพื่อให้สอดรับกับยุคสมัยที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว 


     โดยเขาย้ำว่า “ไม่มีองค์กรไหนที่จะสามารถพลิกโฉมธุรกิจได้โดยไม่ต้องใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยเข้ามาช่วย แต่ผู้นำองค์กรจะต้องเข้าใจกระบวนการทำ Digital Transformation ก่อนว่าการวางกลยุทธ์ทางดิจิทัล ไม่ใช่แค่เรื่องของการใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเพียงเท่านั้น หากองค์กรอยากจะปรับเปลี่ยนต้องตระหนักถึง 3 หัวใจสำคัญของ Digital Transformation ที่จะต้องทำงานสอดคล้องประสานกัน”



 
  • 3 หัวใจที่ว่า ประกอบด้วย


1. เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ส่งผลต่อโมเดลธุรกิจ (Business Model) 

     โดยผู้ประกอบการจะต้องรู้จักมองหาเทรนด์และทำความเข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้งถึงรูปแบบการใช้ชีวิต และความต้องการของพวกเขา เช่น การเติบโตของโมเดลธุรกิจแบบ Platform อันเกิดจากเทรนด์เศรษฐกิจแบบแบ่งปัน (Sharing Economy) ที่กำลังมาแรงในหมู่คนรุ่นใหม่ที่หันมาลงทุนกับประสบการณ์ที่เน้นการเช่า-ยืมแทนการครอบครอง เพื่อลดทรัพยากรส่วนเกิน (Excess Capacity) และจัดสรรให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพสูงสุด 


2. การให้ความสำคัญกับการสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้า (Customer Experience) 

     โดยผู้ประกอบการต้องรู้จักวิเคราะห์ Consumer Journey และทำการวางรูปแบบตลาดให้สอดคล้องกันทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ (Online & Offline Strategy) เพราะทุกวันนี้เราไม่สามารถแยกสองเรื่องนี้ได้ในการวางกลยุทธ์องค์กร เนื่องจากชีวิตของคนในปัจจุบันล้วนแล้วแต่ต้องเจอกับเรื่องออนไลน์และออฟไลน์ผสมผสานกันอยู่ตลอดเวลา 


3. คนและวัฒนธรรมขององค์กร (People and Culture) 

     คนและวัฒนธรรมองค์กรนั้น ถือเป็นแกนหลักที่สำคัญที่สุด จนอาจพูดได้ว่าการทำ Digital Transformation ได้ประสบความสำเร็จต้องประกอบด้วยหลายปัจจัย แต่การทำ Digital Transformation ที่ไม่ประสบความสำเร็จเป็นเพราะเหตุผลเดียวนั่นคือเรื่องของ “คน” ซึ่งนี่คือเรื่องของการเน้นการสร้างและปลูกฝังให้คนในองค์กรมีทักษะดิจิทัลที่จำเป็น ประกอบกับการมี Digital Mindset คือ ความกล้าลงมือทำ ไม่ยึดติด ไม่กลัวความล้มเหลว พร้อมเรียนรู้และปรับตัวอยู่ตลอดเวลา เพราะหากขาดกลยุทธ์และการวางแผนที่รอบคอบอาจกลายเป็นแค่การเปลี่ยนระบบการทำงานซึ่งเกิดประโยชน์น้อย




     ด้าน “อริญญา เถลิงศรี” กรรมการผู้จัดการ SEAC (Southeast Asia Center) ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน กล่าวว่า ประเทศไทยได้เปลี่ยนผ่านสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) โดยในปีนี้มีมูลค่าเศรษฐกิจดิจิทัลกว่า 1.6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นอันดับสองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซีย และมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่อง นั่นเองที่เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้องค์กรต่างๆ ต้องรีบลุกขึ้นมาปรับตัวทำเรื่อง Digital Transformation อีกทั้งเมื่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในการดำเนินชีวิตและธุรกิจในทุกแง่มุมอย่างปฏิเสธไม่ได้ ผู้ประกอบการจึงจำเป็นต้องเรียนรู้วิธีการใช้ชีวิตอยู่กับ Digital Transformation ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาความเข้าใจเทคโนโลยี ตีความ และประยุกต์ใช้งานได้ (Digital Literacy) และการพัฒนาทักษะในการใช้งานเทคโนโลยีเพื่อทำให้การทำงานของเราดีขึ้น สะดวกขึ้น สิ่งสำคัญคือผู้ประกอบการต้องเตรียมความพร้อมให้ตัวเองและธุรกิจ เพื่อขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างไม่มีสะดุด 
 

     SME ที่ไม่อยากตกยุค และอยากอยู่รอดอย่างแข็งแกร่งในโลกยุคใหม่ ลองเรียนรู้การดิสรัปต์ตัวเอง จาก 3 หัวใจ ที่กล่าวไปแล้วเหล่านี้ได้ 
 
 
ที่มา : SEAC 
 
 
 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน