เกาะกระแสคุยเรื่องกาแฟโลก – กาแฟไทย ไปกับ “วัลลภ ปัสนานนท์” นายกสมาคมกาแฟพิเศษไทย

TEXT : นิตยา สุเรียมมา

PHOTO : สุนันท์ ล้อสมทรัพย์

 

 


Main Idea

 
  • “Specailty Coffee” หรือ กาแฟพิเศษ เริ่มเป็นที่รู้จักในเมืองไทย เมื่อ 6 - 7 ปีก่อน พร้อมๆ กับการจัดตั้งสมาคมกาแฟพิเศษไทยขึ้นมา
 
  • กาแฟพิเศษ เป็นแนวทางการผลิตเมล็ดกาแฟคุณภาพ ซึ่งเหมาะกับการทำกาแฟอราบิก้าของไทย ที่มักผลิตได้ในปริมาณน้อย เมื่อเทียบกับการผลิตกาแฟของระดับโลก โดยจะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้ได้มากกว่าการเน้นผลิตเชิงปริมาณ
 
  • โดยในปีล่าสุด 2563 กาแฟพิเศษไทยสามารถทำคะแนนทดสอบรสชาติได้สูงถึง 90 คะแนน จากแหล่งผลิตหลายที่ด้วยกัน ซึ่งถือว่ามีอยู่จำนวนน้อยเพียงไม่กี่ตัวแม้ในตลาดโลกที่สามารถทำได้ อีกทั้งยังสามารถทำราคากาแฟประมูลได้สูงสุดถึง 27,000 บาทต่อกิโลกรัมเป็นประวัติการณ์ครั้งแรกของกาแฟไทยด้วย
 
 


     กำลังเริ่มต้นขึ้นสดๆ ร้อนๆ กับงาน Thailand Coffee Fest 2020 มหกรรมกาแฟที่ยิ่งใหญ่ประจำปีของไทยและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อช่วยส่งเสริมและผลักดันวงการกาแฟไทยให้เติบโตได้อย่างยั่งยืนทั้งในประเทศและระดับสากล
              




     โดยในช่วง 3 – 4 ปีที่ผ่านมานี้กาแฟไทยมีการพัฒนาคุณภาพและเป็นที่ยอมรับในตลาดโลกมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มของ “Specialty Coffee” หรือกาแฟพิเศษ ที่เริ่มได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น จนล่าสุดสามารถทำราคาประมูลได้สูงเป็นประวัติการณ์อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนถึงกิโลกรัมละ 27,210 บาท! พร้อมๆ กับปริมาณกาแฟพิเศษไทยที่นับวันจะยิ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกที


     เกาะกระแสกาแฟโลก-กาแฟไทย อัพเดตเรื่องราวเมล็ดพันธุ์ของเครื่องดื่มพิเศษนี้ไปพร้อมๆ กันกับ “วัลลภ ปัสนานนท์” นายกสมาคมกาแฟพิเศษไทยกับบทสัมภาษณ์แบบเอ็กคลูซีฟที่บุกไปถึงยอดดอยแหล่งปลูกกาแฟจาก SME Thailand
 




ภาพของตลาดกาแฟพิเศษไทย ณ ปัจจุบันเป็นอย่างไร

              

     ในด้านคุณภาพถือว่ามีการพัฒนาขึ้นมากอย่างเห็นได้ชัด ชัดเจนจนถึงขั้นที่ทุกวันนี้เรามี Score คะแนนจากการทดสอบรสชาติหรือคัปปิ้งกาแฟไทยจากคณะกรรมการระดับสากลสูงถึง 90 คะแนนแล้วอยู่ถึง 3-4 ตัวด้วยกัน ซึ่งถือว่าเป็นคะแนนที่สูงมากแม้แต่ในระดับสากลเองก็ยังมีไม่มากเลย แต่วันนี้กาแฟไทยไปถึงจุดนั้นแล้ว ซึ่งตัวเลขพวกนี้เราไม่ได้ทำกันขึ้นมาเอง แต่มีผู้เชี่ยวชาญในเวทีระดับโลกเป็นผู้คอยควบคุมดูแลและทดสอบด้วย 2-3 ปีมานี้ถือว่ากาแฟพิเศษไทยมีคุณภาพดีขึ้นมากเทียบชั้นได้กับกาแฟระดับโลกได้ ถึงจะยังไม่ได้เป็น Top 5 ของโลก แต่ก็อยู่ในมาตรฐานที่ได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นกาแฟที่มีคะแนนสูง และมีอยู่ไม่มากในระดับโลก
 

การที่กาแฟพิเศษไทยสามารถเดินทางมาจนถึงสามารถทำคะแนนได้สูงกว่า 90 คะแนน และเทียบชั้นกับกาแฟระดับโลกได้เป็นเพราะอะไร
              

     จริงๆ แล้วมาจากหลายส่วนด้วยกัน ซึ่งในระยะหลังเองเกษตรกรของไทยที่หันมาปลูกกาแฟก็เป็นคนรุ่นใหม่ค่อนข้างเยอะ เรียนจบมหาวิทยาลัย และมีองค์ความรู้ในการทำกาแฟแบบกว้างขวางเพิ่มมากขึ้น บวกกับการเติบโตขึ้นของเทคโนโลยีการสื่อสารต่างๆ ในโลกยุคปัจจุบัน ทำให้สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทั่วโลกได้มากขึ้น กาแฟไทยจึงถูกพัฒนาไปได้มากขึ้นกว่าที่ผ่านมา
 




ต้องใช้เวลานานเท่าไหร่ จึงจะดำเนินมาถึงจุดนี้ได้

              

     ประมาณ 5 - 6 ปี หลังจากที่ประเทศไทยเราเริ่มรู้จักกับคำว่า กาแฟพิเศษ รวมถึงมีการจัดตั้งสมาคมกาแฟพิเศษขึ้นมา พร้อมๆ กับความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน และผู้ประกอบการในวงการธุรกิจกาแฟเอง ซึ่งถือว่าไม่ช้านะ ค่อนข้างเร็วด้วยซ้ำ แต่เราก็ยังถือว่าเป็นน้องใหม่ในเวทีโลก ซึ่งก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดี คือ เราสามารถได้องค์ความรู้มาโดยที่ไม่ต้องลองผิดลองถูกเลย เพราะมีคนอื่นทดลองมาให้ก่อนหน้านี้แล้ว เราแค่เอาผลลัพธ์มาใช้ได้เลย จึงทำให้สามารถพัฒนาได้เร็วขึ้น และใช้เวลาน้อยกว่า แต่ข้อเสีย ก็คือ การที่เราเริ่มช้าและมาทีหลัง ทำให้การแข่งขันค่อนข้างยากลำบาก เพราะต้องพยายามแทรกตัวเข้าไปในตลาดซึ่งเขามีผู้เล่นอยู่แล้วจำนวนมาก ดังนั้นพื้นที่ของกาแฟพิเศษไทยในตอนนี้บนเวทีระดับสากล ก็ถือว่ายังแคบและน้อยอยู่มาก
              




     ซึ่งคงต้องใช้เวลาอีกสักพักหนึ่ง ทั้งในเรื่องความพร้อมของเกษตรกรเอง รวมถึงการสื่อสารออกไปให้ทั่วโลกได้รับรู้มากขึ้น ซึ่ง ณ วันนี้ถือว่ามีการคืบหน้าไปมาก เรามีการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อพยายามส่งเสริมกาแฟพิเศษไทยออกไปมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการจัดประกวด 10 สุดยอดกาแฟที่ทางสมาคมกาแฟพิเศษไทยเป็นผู้จัดขึ้นทุกปี นอกจากจะช่วยกระตุ้นให้เกษตรกรไทยหันมาเห็นความสำคัญกับการทำกาแฟในเชิงคุณภาพมากกว่าเชิงปริมาณเพียงอย่างเดียวมากขึ้น เพราะสามารถได้รับผลตอบแทนที่มากกว่าได้ ในฝั่งของเทรดเดอร์จากทั่วโลกเองก็เริ่มหันมาให้ความสนใจกาแฟพิเศษไทยมากขึ้นด้วย ซึ่งต้องพยายามแสวงหากาแฟคุณภาพดีจากแหล่งผลิตใหม่ๆ อยู่เสมอ นอกจากนี้การที่เราได้เข้าร่วมกับกิจกรรมระดับเวิล์ดคลาสต่างๆ มากขึ้น ก็ทำให้กาแฟไทยเป็นที่รู้จักและถูกยอมรับมากขึ้น โดยเชื่อว่าอีกไม่นาน  Coffee Map หรือแผนที่กาแฟโลกจะบรรจุกาแฟไทยลงอยู่ในนั้นด้วยแน่นอน
 




จริงๆ แล้วแนวทางการทำ
Specialty Coffee หรือกาแฟพิเศษ ใช่แนวทางที่เหมาะสมกับการพัฒนากาแฟไทยไหม
              

     ใช่ครับ แต่ในที่นี่เรากำลังพูดถึงกาแฟอราบิก้าไทยที่ปลูกอยู่ทางภาคเหนือ ไม่ใช่กาแฟโรบัสต้าทางใต้ ซึ่งด้วยปริมาณกาแฟที่สามารถให้ผลผลิตออกมาได้น้อยในแต่ละปีอยู่แล้ว การที่เราจะไปแข่งขันกับรายใหญ่ๆ เชิงระดับอุตสาหกรรมที่เขามีพื้นที่เพาะปลูกและสามารถทำได้ง่ายกว่าเรา มันเป็นไปได้ยากอยู่แล้ว ในส่วนตัวผมจึงมองว่าเราควรที่จะหนีในเชิงการทำให้ได้ปริมาณเยอะๆ และหันมาพัฒนาด้านคุณภาพดีกว่า ซึ่งทุกวันนี้เกษตรกรไทยหลายคนก็เริ่มมีความเข้าใจมากขึ้น คือ ส่วนที่ทำเชิงปริมาณก็ทำไป แต่ก็แบ่งส่วนหนึ่งไว้ทำเชิงคุณภาพด้วย ทำให้เกษตรกรมีทางเดินในการทำธุรกิจมากขึ้นด้วย
 



ต้องใช้เวลาอีกสักกี่ปีที่จะทำให้จากพื้นที่ยืนเล็กๆ ของกาแฟไทยในวันนี้ เป็นที่ยอมรับและถูกกล่าวขานในเวทีกาแฟพิเศษโลกได้มากขึ้น

              

     คิดว่าคงนานที่สุดคงไม่เกิน 10 ปีแน่นอน ที่พูดได้เป็นเพราะเรามีความมั่นใจในเกษตรกรชาวสวนกาแฟไทยที่มีการปรับตัวและพัฒนาตัวเองเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้เรายังเห็นความร่วมมือจากองค์กรต่างๆ ทั้งส่วนราชการ ภาคเอกชน สมาคมต่างๆ และผู้ประกอบการในธุรกิจกาแฟเอง ต่างพยายามเข้ามาช่วยกันพัฒนาและทำให้ตลาดกาแฟคุณภาพพิเศษตรงนี้สามารถเกิดขึ้นได้
 

มีทางเป็นไปได้ไหมที่วันหนึ่งกาแฟไทยจะเป็น Top 5 ของโลกได้
              

     เป็นไปได้นะ แต่แค่เมื่อไหร่เท่านั้นเอง เพราะการจะเป็น Top 5 ได้ต้องมีองค์ประกอบจากหลายๆ อย่าง
 


www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี
 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน