เช็กด่วน! รวมมาตรการช่วย SME สู้โควิดระลอก 3

TEXT : กองบรรณาธิการ
 



         

      
     เรียกว่ากินเวลาลากยาวกันมาปีกว่าแล้ว สำหรับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาโควิด-19 ที่ทุกวันนี้อาจเรียกว่าเป็นระลอก 3 ในบ้านเราก็ว่าได้ แน่นอนว่าย่อมส่งผลกระทบไปทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคธุรกิจที่แม้จะผ่านการระบาดครั้งแรกและครั้งที่สองมาได้ แต่ด้วยกำลังใจกำลังกาย ไปจนถึงกำลังทรัพย์ที่มีอยู่จำกัด เรียกว่าแทบจะหมดไปตั้งแต่รอบแรกๆ ดังนั้นการจะฝ่าฟันศึกใหญ่ครั้งนี้ไปได้อีกครั้งอาจต้องงัดทุกกลเมล็ดออกมา ซึ่งในขณะนี้ก็มีหลายหน่วยงานออกมาตราการความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME ออกมามากมาย เพื่อช่วยให้ผ่านพ้นไปได้อีกครั้งวันนี้เราจึงเก็บรวบรวมมาฝากกัน
 

ธนาคารแห่งประเทศไทย
 
               
     มาตรการพักทรัพย์ พักหนี้ ออกนโยบายให้ธนาคารพาณิชย์และธนาคารรัฐ จัดทำมาตรการพักทรัพย์ พักหนี้ โดย ลูกหนี้ธุรกิจรายย่อยและรายเล็กสามารถนำทรัพย์สินที่มีไปตีโอนกับหนี้ที่มีอยู่ เพื่อล้างหนี้ได้ โดยทั้งนี้สินทรัพย์ที่นำมาใช้เป็นหลักประกันและตัวผู้กู้เองต้องเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินนั้นอยู่แล้วก่อนวันที่ 1 มี.ค. 2564 (ไม่เป็น NPL ณ วันที่ 31 ธ.ค. 2562) โดยให้สิทธิ์แรกกับผู้ประกอบการรายเดิมในการซื้อทรัพย์คืนภายในระยะเวลา 3 - 5 ปี ในราคาที่ตีโอนไปเพื่อลดภาระหนี้ของลูกหนี้ และในระหว่างนั้นลูกหนี้ยังสามารถเช่าเพื่อดำเนินกิจการ


     มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู สำหรับลูกค้าที่มีวงเงินสินเชื่อธุรกิจกับธนาคารต่างๆ ไม่เกิน 500 ล้านบาท ณ 28 กุมภาพันธ์ 2564 สามารถขอวงเงินสินเชื่อฟื้นฟูได้สูงสุด 30 เปอร์เซ็นต์ของวงเงินเดิม สูงสุดไม่เกิน 150 ล้านบาท (นับรวมกับวงเงิน Soft Loan เดิมที่เคยได้รับตาม พ.ร.ก.) และลูกค้าใหม่ที่ยังไม่เคยมีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงินใด สามารถขอสินเชื่อได้สูงสุด 20 ล้านบาท โดยนับรวมวงเงินจากทุกสถาบันการเงิน
 

สำนักงานประกันสังคม


     สำนักงานประกันสังคมออกมาตรการจ่ายสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัยกรณีโควิด-19 โดยจะทำการจ่ายเงินเยียวยาทดแทนกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัยในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวัน ระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน โดยลูกจ้างจะต้องเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ส่งเงินสมทบครบ 6 เดือนใน 15 เดือน ผู้ประกันตนไม่ต้องขึ้นทะเบียนว่างงานกับสำนักงานจัดหางานให้ยื่นเฉพาะคำร้องขอรับประโยชน์ทดแทน สามารถดาวน์โหลดและกรอกข้อมูลในแบบฟอร์ม ม สปส.2-01/7 บน www.sso.go.th


     ส่วนนายจ้างไม่ต้องแจ้งลาออกหรือเลิกจ้าง แต่ให้ส่งหนังสือรับรองว่าลูกจ้างไม่ได้ทำงานกี่วันไปยังสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ในที่ตั้งของสถานที่ทำงาน ส่งทางไปรษณีย์ (ลงทะเบียน) ภายใน 3 วันทำการ โดยให้แนบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของลูกจ้างและหนังสือรับรองการหยุดงาน พร้อมเบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้มาด้วย
 
 
บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม
               

     เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายธนาคารแห่งประเทศไทยที่ได้ออกมาตราการสินเชื่อฟื้นฟู เพื่อธนาคารต่างๆ นำไปปฏิบัติตาม บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) จึงได้จัดทำโครงการค้ำประกันสินเชื่อตามพระราชกำหนดให้ความช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบการธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไว้รัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2564 ไว้ดังนี้
 
  • วงเงินค้ำประกันสินเชื่อสูงสุดไม่เกิน 150 ล้านบาท/ราย/สถาบันการเงิน
 
  • ค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อ ร้อยละ 1.75 ต่อปี ในปีที่ 1 และ 2 โดยในปีที่ 3-6  คิดค่าธรรมเนียมค้ำฯ ร้อยละ 1 ต่อปีในปีที่7คิดร้อยละ 1.25 และปีที่ 8-10 คิดค่าธรรมเนียมค้ำฯ ร้อยละ 1.75 ต่อปี (รัฐบาลสนับสนุนค่าธรรมเนียม รวมร้อยละ 3.5)
 
  • ค้ำประกันสูงสุด 10 ปี
 
  • สิ้นสุดรับคำขอ 9 ตุลาคม 2566

     โดยสามารถรับคำขอจากสถาบันการเงินและเริ่มอนุมัติหนังสือค้ำประกันสินเชื่อได้ตั้งแต่วันที่ 27 เมษายน 2564 เป็นต้นไป




 
ลดค่าน้ำ ค่าไฟ
               

     คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติอนุมัติมาตรการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน โดยให้ความช่วยเหลือลดค่าไฟฟ้า และค่าน้ำประปาทั้งหมด 2 เดือน คือ พฤษภาคม และมิถุนายน 2564 ดังนี้
           
  • ค่าไฟฟ้า

     สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย และกิจการขนาดเล็ก ให้ใช้ค่าไฟฟ้าในช่วงเดือนเมษายน 2564 เป็นฐานในการคำนวณ


     1. บ้านที่อยู่อาศัยหรือกิจการขนาดเล็กที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วย จะได้สิทธิใช้ไฟฟ้าฟรี 90 หน่วยแรก
               

     2. บ้านที่อยู่อาศัยหรือกิจการขนาดเล็กที่ใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วย กรณีหน่วยการใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าหรือเท่ากับที่ใบแจ้งหนี้ของเดือนเมษายน 2564 ให้คิดค่าใช้ไฟฟ้าตามหน่วยการใช้ไฟฟ้าจริง แต่หากมีการใช้ไฟฟ้ามากกว่าใบแจ้งหนี้เดือนเมษายน 2564 ให้คิดค่าไฟฟ้าตามหน่วยการใช้ดังนี้


     ใช้ไม่เกิน 500 หน่วยต่อเดือน คิดค่าไฟฟ้าเท่ากับหน่วยการใช้ไฟฟ้าของใบแจ้งค่าไฟฟ้าเดือนเมษายน 2564


     ใช้มากกว่า 500 หน่วยต่อเดือน แต่ไม่เกิน 1,000 หน่วยต่อเดือน ให้คิดค่าไฟฟ้าเท่ากับหน่วยการใช้ไฟฟ้าของใบแจ้งค่าไฟฟ้าเดือนเมษายน 2564 บวกด้วยหน่วยการใช้ไฟฟ้าที่มากกว่าหน่วยการใช้ไฟฟ้าใบแจ้งค่าไฟฟ้าเดือนเมษายน 2564 ในอัตราร้อยละ 50


     ใช้มากกว่า 1,000 หน่วย ให้คิดค่าไฟฟ้าเท่ากับหน่วยการใช้ไฟฟ้าของใบแจ้งค่าไฟฟ้าเดือนเมษายน 2564 บวกด้วยหน่วยการใช้ไฟฟ้าที่มากกว่าหน่วยการใช้ไฟฟ้าขอใบแจ้งค่าไฟฟ้าเดือนเมษายน 2564 ในอัตราร้อยละ 70 โดยให้เป็นส่วนลดค่าไฟฟ้าก่อนการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม


     3 .กิจการขนาดเล็กจะได้สิทธิใช้ไฟฟ้าฟรี 50 หน่วยแรกของเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2564 (ไม่รวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ)
 
  • ลดค่าน้ำ

     ลดค่าน้ำประปาลง 10 เปอร์เซ็นต์ในประเภทของบ้านอยู่อาศัย ได้แก่ ที่อยู่อาศัยทุกประเภท ทั้งบ้าน คอนโด หอพัก บ้านเอื้ออาทร เป็นต้น และกิจการขนาดเล็ก ไม่รวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ สถานที่ที่มีการประกอบกิจการเล็ก เช่น กิจการร้านโชห่วย ร้านค้า หรือโรงแรมขนาดเล็ก เป็นระยะเวลา 2 เดือนสำหรับใบแจ้งหนี้ค่าน้ำประปาประจำเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2564


 
 
สิทธิพิเศษด้านสินเชื่อ
 
  • ไทยพาณิชย์
               
     สินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการรายย่อย (ยอดขายไม่เกิน 75 ล้านบาทต่อปี) สามารถพักชำระค่างวดสูงสุด 3 เดือน หรือ ปรับลดอัตราผ่อน และขยายระยะเวลาผ่อน

 
  • ทีเอ็มบี และธนชาต
          
 
     โครงการตั้งหลักเพื่อลูกค้าธุรกิจ
(มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 23 ตุลาคม 2563 ต่อเนื่องถึงปัจจุบัน)


     ลูกค้า SME วงเงินกู้ระยะยาว - พักชำระเงินต้นสูงสุด 3 เดือน และขยายระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 3 เดือน นับจากวันที่ลูกค้าได้รับอนุมัติเข้าร่วมโครงการ


     ลูกค้า SME วงเงินกู้เบิกเกินบัญชี (OD)/วงเงินสินเชื่อหมุนเวียน - แปลงวงเงินกู้เบิกเกินบัญชีหรือวงเงินสินเชื่อหมุนเวียนระยะยาว

 
  • กสิกรไทย


     สินเชื่อเงินด่วนแบบผ่อนระยะยาวเพื่อธุรกิจ (Xpress Loan – Long Term Loan) ออกมาตรการช่วยเหลือเพิ่ม 3 ทางเลือก 1. จ่ายเฉพาะดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 เดือน 2. ลดยอดผ่อนชำระ 30 เปอร์เซ็นต์เป็นเวลา 3 เดือน และ 3.พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 เดือน

 
  • ธนาคารกรุงเทพ


     สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ เพื่อฟื้นฟูท่องเที่ยวไทย ดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปี

 
  • กรุงศรี
               

     มาตราการช่วยเหลือลูกค้าผู้ที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรน่า 2019 ระยะที่ 2 (2564)


     ลูกค้าสินเชื่อธุรกิจรายย่อย (SME BB) พักชำระเงินต้นสูงสุดไม่เกิน 12 เดือน, พักชำระค่างวด (เงินต้นและดอกเบี้ย) สูงสุดไม่เกิน 6 เดือน, ปรับลดจำนวนเงินผ่อนชำระค่างวดสูงสุดไม่เกิน 50 เปอร์เซ็นต์ และไม่เกิน 12 เดือน


     ลูกค้าสินเชื่อธุรกิจ SME และ สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ พิจารณามาตราการช่วยเหลือตามผลกระทบที่ได้รับ ทั้งทางตรงและทางอ้อม รวมถึงความสามารถในการชำระหนี้เป็นรายกรณีไป




 
  • ออมสิน


     สินเชื่อเสริมพลังฐานราก วงเงินให้กู้สูงสุด 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 0.35 เปอร์เซ็นต์ต่อเดือน (คงที่) ผ่อนชำระสูงสุด 3 ปี ให้แก่พ่อค้า-แม่ค้า ผู้ประกอบการ/อาชีพอิสระ และผู้มีรายได้ประจำ ไม่มีหลักประกัน ไม่มีบุคคลค้ำ


     สินเชื่อสู้ภัย COVID-19 วงเงินสินเชื่อกำหนดให้รายละไม่เกิน 10,000 บาท อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 0.35 ต่อเดือน ไม่ต้องมีหลักประกันการกู้ ระยะเวลากู้ไม่เกิน 3 ปี ปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 งวดแรก โดยเริ่มจากผู้ที่ได้รับผลกระทบอยู่ในพื้นที่สีแดงเข้ม 6 จังหวัดก่อน ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี ชลบุรี สมุทรปราการ และเชียงใหม่ สามารถยื่นกู้ได้ทางแอป MyMo ในวันที่ 13 พ.ค. 2564 เป็นต้นไป หลังจากนั้นในระยะต่อไปจึงขยายให้บริการลูกค้าในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งจะเริ่มในวันที่ 20 พ.ค. 2564 เป็นต้นไป กำหนดสิ้นสุดระยะเวลาโครงการวันที่ 31 ธันวาคม 2564 หรือจนกว่าจะหมด

 
  • กรุงไทย
               

     ลูกค้าที่มีสินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจ วงเงินรวมกลุ่มไม่เกิน 500 ล้านบาท (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562) โดยพิจารณาเงื่อนไขตามความสามารถของลูกค้า


     พักชำระหนี้เงินต้น ชำระเฉพาะดอกเบี้ย


     สินเชื่อประเภท Term Loan สูงสุด 6 เดือน (สำหรับวงเงินกู้ไม่เกิน 20 ลบ.)


     สินเชื่อประเภท Term Loan สูงสุด 12 เดือน (สำหรับวงเงินกู้ 20 – 500 ลบ.)


     ขยายระยะเวลาชำระหนี้


     สินเชื่อประเภท P/N และ Trade Finance สูงสุด 6 เดือน


     ขอวงเงินสินเชื่อ Soft Loan เพิ่มได้อัตราดอกเบี้ย 2% ระยะเวลา 2ปี วงเงินสูงสุด 20% ของยอดคงค้างสินเชื่อ ณ 31 ธ.ค. 62

 
  • อาคารสงเคราะห์


     “โครงการ ธอส. รวมไทย สร้างชาติ ปี 2564” ออก 2 มาตรการช่วยเหลือ ได้แก่


     มาตราที่ 14 พักชำระเงินต้น และจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยรายเดือน ระยะแรกเป็นเวลา 3 เดือน (1 พฤษภาคม - 31 กรกฎาคม 2564) สำหรับลูกค้าที่มีสถานะบัญชีปกติ ครอบคลุมทั้งลูกค้าที่ไม่เคย หรือเคยใช้ หรืออยู่ระหว่างใช้มาตรการความช่วยเหลือเดิมของธนาคาร โดยต้องเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบด้านรายได้จาก COVID-19 รวมถึงยังไม่สามารถผ่อนชำระหนี้ได้ตามสัญญาเงินกู้


     มาตราที่ 14 พักชำระเงินต้นและจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยรายเดือน พร้อมลดดอกเบี้ยลงเหลือ 3.9 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ระยะแรกเป็นเวลา 3 เดือน (1 พฤษภาคม-31 กรกฎาคม 2564) สำหรับลูกหนี้ที่สถานะ NPL และลูกหนี้ NPL ที่อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งจะพ้นสิทธิการปรับโครงสร้างหนี้ที่ใช้อยู่หากใช้มาตรการที่ 14 โดยต้องเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการประกอบอาชีพ หรือทำธุรกิจ หรือการค้า เนื่องจาก COVID-19 และไม่สามารถผ่อนชำระเงินงวดให้ธนาคารได้ตามสัญญาเงินกู้หรือข้อตกลงปรับโครงสร้างหนี้หรือตามคำพิพากษา

 
  • Exim Bank


     มาตรการสินเชื่อ CLMV อุ่นใจ เป็นเงินทุนหมุนเวียนให้แก่ผู้ประกอบการไทยใน CLMV ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 วงเงินสูงสุด 20 ล้านบาทต่อราย อัตราดอกเบี้ยพิเศษ 3.99 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ระยะเวลาผ่อนชำระสูงสุด 3 ปีสามารถยื่นขอสินเชื่อได้ตั้งแต่บัดนี้ถึง 30 พฤศจิกายน 2564


     มาตรการเยียวยาธุรกิจไทยในเมียนมา สามารถพักชำระหนี้เงินต้นกรณีวงเงินกู้ระยะยาวสูงสุด 12 เดือนต่ออายุตั๋วสัญญาใช้เงินรวมสูงสุดไม่เกิน 180 วัน โดยแจ้งความประสงค์ได้ภายใน 30 กันยายน 2564
 


 
มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว
 

     โครงการเราเที่ยวด้วยกันเฟส 3 วงเงินกว่า 3.5 แสนล้านบาท เงื่อนไขใหม่การใช้สิทธิ์ประกอบด้วย เพิ่มจำนวนสิทธิห้องพัก 2 ล้านคืน/รูมไนท์ เปิดให้จองใช้สิทธิ์ตั้งแต่วันที่ 17 พ.ค. - 31 ส.ค.64 โดยต้องจองใช้สิทธิ์ล่วงหน้า 7 วัน ผู้ใช้สิทธิ์จะต้องแสกนใบหน้าเพื่อยืนยันตัวตน มีการปรับมูลค่า E-Voucher ทั้งวันหยุดและวันธรรมดาเหลือ 600 บาทต่อวัน


     โครงการทัวร์เที่ยวไทย วงเงิน 5,000 ล้านบาท โดยจะอนุมัติให้สิทธิ์กับผู้ที่ซื้อทัวร์ 3 วัน 2 คืน โดยเป็นทัวร์โปรแกรมที่ลงไว้กับเว็บไซด์ของ ททท. ซึ่งโปรแกรมที่จะมีการอนุมัติและตรวจสอบรัฐบาลจะช่วยอุดหนุนสูงสุดไม่เกิน 40 เปอร์เซ็นต์หรือ 5,000 บาทต่อราย ราคาทัวร์สูงสุดไม่เกิน 12,500 บาทต่อโปรแกรม โดยจะต้องเป็นโปรแกรมทัวร์ที่เดินทางในวันธรรมดาเท่านั้น และชำระเงินต้องผ่านโปรแกรมแอพเป๋าตังค์ ซึ่งเจ้าของบริษัททัวร์เองก็ต้องมีการโหลดแอพถุงเงินเพื่อรับเงินเพื่อเข้าร่วมโครงการนี้ด้วย



 
 
มาตรการกระตุ้นและส่งเสริมการใช้จ่าย
 

     คนละครึ่งเฟส 3 เพิ่มวงเงินให้ผู้มีสิทธิ์คนละไม่เกิน 3,000 บาท รัฐช่วยจ่ายให้สูงสุดไม่เกิน 150 บาท/วันเหมือนเช่นเคย เริ่มจ่ายเงินให้ในเดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป


     ม.33 เรารักกัน เพิ่มวงเงินให้ผู้ประกันตน อีกคนละ 2,000 บาท โดยจะจ่ายให้สัปดาห์ละ 1,000 บาท สามารถใช้จ่ายได้ถึง วันที่ 30 มิถุนายน 2564


     เราชนะ เพิ่มวงเงินอีกคนละ 2,000 บาท โดยจะจ่ายให้สัปดาห์ละ 1,000 บาทเหมือนเช่นเดิม และสามารถใช้จ่ายได้ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564


     บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3 สนับสนุนค่าครองชีพเพิ่มอีกเดือนละ 200 บาท เป็นระยะเวลา 6 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2564


     โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ โดยรัฐจะสนับสนุนค่าครองชีพเพิ่มให้อีกเดือนละ 200 บาทต่อคนเพื่อลดภาระค่าครองชีพให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ เป็นระยะเวลา 6 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2564
 

     ยิ่งใช้ ยิ่งได้ เป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจของรัฐบาลเพื่อกระตุ้นการบริโภคในประเทศผ่านผู้ที่มีกำลังซื้อและสนับสนุนผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยรัฐจะสนับสนุน e-Voucher ให้กับประชาชนที่ใช้จ่าย ซื้อสินค้า อาหาร เครื่องดื่ม และค่าบริการกับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่เกิน 5,000 บาทต่อวัน สูงสุดไม่เกิน 7,000 บาทต่อคน โดยจะเริ่มได้รับ e-Voucher ดังกล่าวตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2564 และสามารถเริ่มนำไปใช้ช่วงเดือนสิงหาคม - ธันวาคม 2564




 
www. smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

HEH ร้านอาหารย่านภูเก็ต เชฟใช้เวลาในครัวให้เหมือนอยู่ในสนามแข่ง ไม่อยากเป็นแค่ Just Another Restaurant

“HEH (เห)” ร้านอาหารสไตล์  Australian Contemporary กลางเมืองภูเก็ต สร้างเมนูอาหารให้มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพราะไม่อยากเป็นเพียง แค่ร้านอาหารร้านหนึ่ง

จงปังนมสด ร้านดังแห่งสุราษฎร์ธานี แจ้งเกิดเพราะแบรนด์ดิ้ง และไอเดียทำคอนเทนต์จนเป็นไวรัล

"จงปังนมสด" ร้านดังเมืองสุราษฎร์ธานี ที่กำลังโด่งเป็นไวรัลขณะนี้ จากคลิปตัดต่อที่นำเสียงของเจ้าของเจ้าของร้านขนมปังชื่อดังย่านกทม. อย่าง "มนต์นมสด" มาเป็นแรงบันดาลใจในการทำธุรกิจ