จับควันพิษมาทำหมึกย้อมผ้า Air Ink นวัตกรรมแฟชั่นสุดล้ำ! ที่ดีต่อโลก โดดเด่นต่อแบรนด์

TEXT : กองบรรณาธิการ
PHOTO : Ari Ink, Pangaia





        ควันพิษในอากาศทั้งจากการเผาไหม้ท่อไอเสียรถยนต์ การผลิตไฟฟ้า และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ล้วนส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพร่างกายของผู้คนมากมาย
               

         แต่จะเป็นยังไงถ้าอยู่ดีๆ วันหนึ่งจากควันพิษที่แทบไม่มีประโยชน์อะไรเลย จะสามารถนำมาผลิตเป็นหมึกพิมพ์ผ้าได้ เพื่อช่วยแก้ปัญหามลภาวะทางอากาศ และยังช่วยสร้างความโดดเด่นและน่าสนใจให้กับสินค้าขึ้นมาได้แบบที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อนด้วย
               

         เรื่องราวดังกล่าวเกิดขึ้นมาจากแนวคิดของแบรนด์เสื้อผ้าสตรีทแฟชั่นที่มีชื่อว่า Pangaia” ซึ่งมีความพยายามที่จะคิดหาวิธีแสดงความจริงใจและช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน เพราะอย่างที่รู้ๆ กันดีอยู่แล้วว่าอุตสาหกรรมแฟชั่นเองนั้นก็มีส่วนร่วมในการสร้างผลกระทบให้กับสิ่งแวดล้อมมากเช่นกัน ตั้งแต่การบริโภคที่ฟุ่มเฟือย ทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากรการผลิต การใช้น้ำปริมาณมากเพื่อชะล้างสีย้อมผ้าจากเคมี พลังงานไฟฟ้า และอื่นๆ อีกมากมาย



               

       โดยแบรนด์ไม่ได้เป็นผู้ผลิตขึ้นมาเอง แต่เป็นการจับมือร่วมกับ “Graviky Labs” ห้องแล็บที่มีการวิจัยดักจับคาร์บอนหรือควันพิษในอากาศผลิตเป็นหมึกพิมพ์ลงบนวัสดุต่างๆ โดยมีชื่อว่า “Air Ink” ซึ่งก่อนหน้านี้เคยทดลองผลิตเป็นหมึกพิมพ์สำหรับใช้เขียนกับปากกาออกมาแล้ว ล่าสุดจึงได้มีการพัฒนาเพิ่มขึ้นจนได้เป็นสีสำหรับใช้ย้อมผ้าหรือสกรีนลงบนเนื้อผ้าขึ้นมา ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของโลกที่มีการนำหมึกคาร์บอนนี้มาใช้บนเสื้อผ้าและวงการแฟชั่น
               

        วิธีการเปลี่ยนควันพิษให้กลายมาเป็นหมึกได้ คือ ขั้นตอนแรกจะมีการดักจับอนุภาคเล็กจากควันพิษในชั้นบรรยากาศด้วยอุปกรณ์ที่มีชื่อเรียกว่า “Kaalink” ซึ่งมีรูปทรงคล้ายกระบอกลมติดตั้งเข้ากับท่อไอเสียรถยนต์ เครื่องปั่นไฟฟ้าพลังดีเซล หรือปล่องควันโรงงาน เพื่อดักอนุภาคคาร์บอนก่อนถูกปล่อยสู่บรรยากาศ


       จากนั้นจะถูกนำเข้าสู่ห้องแล็บเพื่อแยกโลหะหนัก ฝุ่น และสารก่อมะเร็งออก ให้คงเหลือแต่เพียงผงคาร์บอนเพื่อนำมาผสมกับตัวทำละลาย และผลิตเป็นหมึกออกมาในที่สุด มีการอ้างอิงว่าการใช้หมึก Air-Ink เพียงหนึ่งออนซ์เท่ากับลดมลพิษจากท่อไอเสียรถยนต์ที่ปล่อยออกมานานถึง 45 นาทีเลยทีเดียว



               

        หลังจากได้มีการทดสอบนำมาพิมพ์ลงบนเนื้อผ้าได้เป็นผลที่น่าพอใจแล้ว แบรนด์ Pangaia ก็นำมาพิมพ์เป็นลวดลายต่างๆ เช่น ดอกไม้ ตัวอักษรลงบนชุดเสื้อผ้าแฟชั่น และหมวกของแบรนด์ ภายใต้สโลแกนที่น่าสนใจว่า “อย่าหายใจเอามลพิษเข้าไป แต่จงนำมันมาสวมใส่แทน” จึงทำให้เกิดเสียงฮือฮาในวงการแฟชั่น เพราะยังไม่เคยมีผู้ผลิตรายใดนำหมึกชนิดดังกล่าวนี้มาใช้สินค้ามาก่อน
               

       โดยแม้ปัจจุบันนี้ต้นทุนของหมึก Ari Ink อาจแพงกว่าหมึกสีดำทั่วไปถึงสองเท่า แต่ดัวยลักษณะโดดเด่นที่ไม่เหมือนใคร แถมเฉดสีที่ได้ก็เป็นสีดำที่สวยงามแตกต่างจากที่มีในท้องตลาด แม้แต่บริษัทผลิตสีหลายแห่งก็ยังผลิตขึ้นมาได้ยาก เพราะนี่คือ สีจากคาร์บอนจริงๆ
               

       สินค้าคอลเลคชั่นนี้ของ Pangaia จึงเป็นเหมือนการยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว คือ นอกจากจะได้ช่วยลดมลภาวะในอากาศให้ลดน้อยลงได้แล้ว ยังเป็นการทำงานแบบนอกกรอบที่พยายามแสวงหานวัตกรรมใหม่ๆ น่าสนใจมาใช้กับการทำธุรกิจ งานนี้จึงเรียกว่าได้ทั้งความเท่ไม่ซ้ำใคร แถมได้ใจลูกค้าในการเป็นแบรนด์ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมไปแบบเต็มๆ ด้วย



 
 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

 

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน