3 วิธีเพิ่มมูลค่าสินค้ามือสอง เปลี่ยนของเก่าให้เป็นขุมทรัพย์

TEXT : Rujrada W.
             


        ตลาดขายต่อเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายกำลังเฟื่องฟู คาดว่าภายในปี 2572 จะมีมูลค่ามากถึง 8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งนับได้ว่าเติบโตเป็น 2 เท่าของฟาสต์แฟชั่น เพราะสินค้าใช้แล้วกำลังเข้ามาแทนที่ในตู้เสื้อผ้า รวมถึงความคลั่งไคล้เฟอร์นิเจอร์ ของเก่าในราคาที่เอื้อมถึง แนวโน้มผู้บริโภคมีความภูมิใจที่จะซื้อสินค้ามือ 2 มากขึ้น ด้วย 2 เหตุผลหลัก คือ 1.ถูกกว่า 2. เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า
               

          ไม่กี่ปีก่อนสินค้ามือสองเคยขายกันในตลาดนัดและร้านขายของมือสองเป็นหลัก แต่ทุกวันนี้การซื้อขายส่วนใหญ่เปลี่ยนไปใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งอุตสาหกรรมแฟชั่นเป็นผู้บุกเบิกโมเดลการขายต่อ แต่เร็วๆ นี้เราได้เห็นแบรนด์เฟอร์นิเจอร์อย่าง IKEA ก็ได้เปิดบริการรับซื้อคืนสินค้า และนำไปขายเป็นสินค้ามือสองในร้านป๊อบอัพของแบรนด์
               

          เมื่อเกิดโรคระบาดขึ้น หลายคนคิดว่าผู้บริโภคจะเลิกซื้อสินค้าใช้แล้วด้วยเหตุผลด้านสุขอนามัย แต่ตัวเลขสถิติกลับบอกในสิ่งที่ตรงกันข้าม คาดว่าในปีการขายต่อแฟชั่นมากขึ้น 69 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับปี 2563 สวนทางกับภาคการค้าปลีกทั่วไปปหดตัวลง 15 เปอร์เซ็นต์





โอกาสทางธุรกิจ และเหตุผลที่แบรนด์ต่างๆ ต้องสนใจ Re-Commercce

               

         การซื้อ-ขายสินค้ามือสองไม่เพียงเกี่ยวกับศักยภาพของตลาดมือสองเท่านั้น ด้วยการสร้างโมเดลธุรกิจหมุนเวียน ธุรกิจต่างๆ สามารถสร้างมูลค่าใหม่ให้กับลูกค้าและโลกใบนี้ได้


          และนี่คือ 3 วิธีเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับของมือสอง และเพิ่มโอกาสให้กับธุรกิจได้ด้วย
 

  1. สร้างรายได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์มือสอง



         หรือที่เรียกกันว่า Upcycle พลิกโฉมสิ่งของที่ผ่านการใช้งานแล้วหรือบางชิ้นรอวันทิ้งเป็นขยะ เอากลับมาใช้ใหม่โดยอาศัยกระบวนการออกแบบให้เป็นของชิ้นใหม่ที่สวยและมีมูลค่ามากกว่าเดิม ตัวอย่างเช่น กระเป๋าผ้าจากแบรนด์ Madmatter ที่หยิบเอาเศษผ้าเหลือใช้มาผสมกับเนื้อผ้าอื่นๆ หรือผ้าที่ค้างสต็อคในโรงงานมาแปลงเป็นกระเป๋าผ้าสีสวย


         หรือแบรนด์ Kuon จากญี่ปุ่นที่เน้นผลิตสินค้าด้วยเทคนิคงานเย็บ ปัก ซ่อมแซมเสื้อผ้าแบบญี่ปุ่นที่เรียกว่า Boroจึงได้เสื้อผ้าที่โดดเด่นด้วยลวดลายด้ายปักมือกับผ้าที่ซ้อนทับปะติดปะต่อ จนกลายเป็นเสน่ห์หนึ่งของแบรนด์ไปแล้ว



 

  1. ใช้เทคโนโลยีมาปรับเปลี่ยนกระบวนการคืนสินค้าเก่าให้กลายเป็นโอกาสใหม่



          ในอุตสาหกรรมแฟชั่น ผู้ค้าปลีกกำลังใช้เทคโนโลยีเพื่อนำเสนอประสบการณ์คืนสินค้าที่ทั้งง่าย สะดวก และไม่เสียเงิน ซึ่งสินค้าที่ได้กลับมาก็กลายเป็นโอกาสให้กับธุรกิจได้ ยกตัวอย่าง Burberry หรือ Gucci ก็ร่วมมือกับบริการฝากขายอย่าง RealReal เพื่อรวบรวมและขายต่อผลิตภัณฑ์มือสองของแบรนด์ หรือแม้แต่การเกิดขึ้นของแพลตฟอร์มอย่าง Vestiaire Collective ที่ผู้บริโภคสามารถขายสินค้าฟุ่มเฟือยใช้แล้วได้โดยตรง


         หรือแบรนด์ Patagonia แบรนด์เสื้อผ้าเอาท์ดอร์สัญชาติอเมริกัน ที่ทำแพลตฟอร์มส่งเสริมการใช้สินค้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด Worn Wear เปิดโอกาสให้ลูกค้านำสินค้าเก่ามาขายต่อ โดยจะแลกเป็นสินค้า เงินสด หรือเครดิตสำหรับซื้อสินค้าครั้งถัดไปก็ได้



 

  1. จับมือพันธมิตร สร้างห่วงโซ่เศรษฐกิจหมุนเวียน



          บางทีจะลุกขึ้นมาหยิบของเก่ามาทำใหม่ด้วยตัวเองก็อาจจะยังไม่พร้อม ไม่มีเครื่องจักร หรือไม่แน่ใจว่าจะทำอย่างไร ลองมองหาคนรู้จักหรือพันธมิตรที่เขามีความรู้หรือเทคโนโลยีอยู่ในมือก็ได้ ยกตัวอย่างธุรกิจ Queen of Raw จับคู่ผ้าที่ไม่ได้ใช้ทั้งจากซัพพลายเออร์และผู้ซื้อมาใช้ใหม่ วิธีนี้ช่วยให้แบรนด์ประหยัดเงินได้หลายล้านเลยทีเดียว
 

         บทเรียนสำหรับธุรกิจคือการขายต่อ ซ่อมแซม นำกลับมาใช้ใหม่ หรือเอามารีไซเคิลเป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับการทำธุรกิจยุคนี้ไม่น้อย ตลาดมือสองกำลังเฟื่องฟูและเป็นช่องทางใหม่ที่สำคัญ ให้ประโยชน์กับทุกฝ่ายเพราะได้วัตถุดิบที่ถูกกว่าสำหรับธุรกิจ สินค้าราคาถูกสำหรับผู้บริโภค และโลกที่ยั่งยืนยิ่งขึ้นสำหรับทุกคน
 

         ที่มา : bmilab.com, Forbes.com


 


 
 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน