โอกาส SME ทำตลาดส่งออก EXIM BANK พร้อมช่วยทั้งเงินและความรู้ แนะ 3 เทรนด์ธุรกิจโตในตลาดโลก



        ในวันที่เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 มีการคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะขยายตัวเพียงแค่ 1 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ขณะที่การท่องเที่ยวยังรอวันฟื้นตัว “การส่งออก” กลายเป็นพระเอกที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลัง 2564 จากภาพที่เห็นได้ว่าในช่วงครึ่งปีแรกขยายตัวถึง 15.5 เปอร์เซ็นต์ โดยได้รับอานิสงส์จากเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าที่ฟื้นตัว และเงินบาทอ่อนตัวลง และคาดว่าสิ้นปีนี้จะขยายตัวได้ไม่น้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์


          แต่แม้สถานการณ์ส่งออกของไทยจะดีขึ้น แต่เมื่อมองลงไปในรายละเอียดจะพบว่าจำนวน SME ในประเทศไทยที่สามารถส่งออกได้มีเพียงแค่ 1 เปอร์เซ็นต์จาก SME ในระบบประมาณ 3.1 ล้านราย ซึ่งดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) กล่าวว่า EXIM BANK พยายามดัน SME ให้ส่งออกได้มากขึ้น เพิ่มเป็น 5-10 เปอร์เซ็นต์ ให้ได้ ด้วยการส่งเสริมใน 4 ปัจจัย คือ



 

  1. พัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ ซึ่งกำลังเป็นเทรนด์ธุรกิจที่สามารถเติบโตได้ดีในเวทีโลก ธุรกิจเหล่านี้สามารถได้รับสินเชื่ออัตราพิเศษ นั่นก็คือ

 

  • ธุรกิจ Green หรือ Bio Circular Economy Green Model เช่น bio plastic, plant-based food

 

  • ธุรกิจ Digital ไม่ว่าจะเป็นอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือเกมส์

 

  • ธุรกิจ Health ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจ Health Care ธุรกิจที่เกี่ยวกับอุปกรณ์การแพทย์และ supply

 
 
         โดยมุ่งเน้นพัฒนา 2 P คือ Process และ Product
 

  • Process : ให้วงเงินสินเชื่อที่ถูกที่สุดในประเทศไทย คือ Transformation Loan คิดดอกเบี้ย SME แค่ 2 เปอร์เซ็นต์ ให้เอาไปทำ solar rooftop หรือเอาไปซื้อ computer software หรือเครื่องจักรที่ทันสมัย เป็นการทำให้สิ่งที่เคยเป็นโรงงานแบบเดิม ที่มีเครื่องจักรเก่าๆ และพนักงานเดินกันวุ่นวาย สิ่งเหล่านั้นไม่ใช่โรงงานของอนาคต โรงงานของอนาคตคือโรงงานที่ Smart & Hygienic ด้วย Automation และ Renewable Energy

 

  • Product : EXIM จะเป็นที่ปรึกษาทางการเงินภาครัฐ  เพื่อให้พัฒนาโปรดักต์ที่มีนวัตกรรม หรือมีเอกลักษณ์




 

  1. พัฒนา SME ให้เป็นผู้ส่งออกรายใหม่เพิ่มมากขึ้น โดย EXIM BANK พร้อมให้คำปรึกษาแนะนำและอบรมบ่มเพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในทุกระดับ ผ่านกิจกรรมของศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้าของ EXIM BANK (EXIM Excellence Academy : EXAC) รวมทั้งให้บริการทางการเงินรูปแบบใหม่ๆ ที่จะทำให้เอสเอ็มอีเข้าสู่ธุรกิจส่งออกได้ทันที อาทิ สินเชื่อเครือข่ายครบวงจร (EXIM Supply Chain Financing Solution) เพื่อเสริมสภาพคล่องให้ธุรกิจเอสเอ็มอีที่เป็น Suppliers ของผู้ประกอบการรายใหญ่โดยไม่ต้องใช้หลักประกันเพิ่ม





 

  1. สร้างแพลตฟอร์ม EXIM Thailand Pavilion นำสินค้าไทยออกสู่ตลาดโลก คอนเซ็ปต์คือ EXIM เช่าตลาดออนไลน์ให้ผู้ประกอบการไทย  เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการไทยรายเล็กซึ่งมีข้อจำกัดในการเข้าถึงช่องทางดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นวิธีการค้าขาย การโพสต์สินค้า ตลอดจนขีดจำกัดด้านเงินทุน มีโอกาสค้าขายกับคู่ค้าในต่างประเทศทางออนไลน์ได้อย่างประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ ยังมีโอกาสได้รับการสนับสนุนทั้งทางการเงินและไม่ใช่การเงินจาก EXIM BANK และหน่วยงานพันธมิตรควบคู่ไปด้วย




 

  1. ปกป้องและช่วยเหลือผู้ประกอบการในภาวะวิกฤต ด้วยมาตรการ “พักหนี้” และ “เติมทุน” ช่วยเหลือลูกค้าและผู้ประกอบธุรกิจส่งออกและเกี่ยวเนื่อง ผู้นำเข้า และนักลงทุนจากผลกระทบของโควิด-19 ตามนโยบายของกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยในพื้นที่สีแดงเข้ม 29 จังหวัดซึ่งมีระยะเวลา 2 เดือน (ก.ค.-ส.ค.)​ แต่ EXIM BANK จะขยายความช่วยเหลือจนถึงเดือนธันวาคมนี้นี้

 
 


 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

กว่าจะเป็น สุขกับป๊อกกี้ ร้านลับ ชื่อเท่ เมืองสัตหีบ ที่ใครมาก็ต้องได้ความสุขกลับไป

“สุขกับป๊อกกี้” คาเฟ่ & ร้านอาหารชื่อแปลกหู อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ที่แค่ฟังก็รู้ว่าต้องเป็นพื้นที่แห่งความสุข

บ้านอยู่ดีมีความสุข เกาะสีชัง กับแนวคิดทำธุรกิจให้มีขยะน้อยที่สุด

เราไม่สามารถลดขยะให้เป็นศูนย์ได้ แต่สามารถลดให้น้อยลงได้ แค่ลองตั้ง Mindset ค่อยๆ ลงมือทำไปทีละนิด ไม่ว่าใครก็ทำได้ เหมือนกับ “บ้านอยู่ดีมีความสุข” ที่พักเล็กน่ารักบนเกาะสีชัง จ.ชลบุรี ที่เริ่มต้นทำจากจุดเล็กๆ ไปทีละอย่าง

บ้านๆ น่านๆ ตำนานที่พัก+ห้องสมุด รายแรกของไทย ใช้สิ่งที่รักต่อยอดธุรกิจโตกว่าทศวรรษ

เพราะความรู้ ความบันเทิง ความรื่นรมย์ไม่ได้อยู่แค่ในหนังสือ แต่มันอยู่ในชีวิตเราทุกรูปแบบ นี่คือ เหตุผลที่ทำให้ "ชโลมใจ ชยพันธนาการ" (ครูต้อม) อดีตครูสอนวิชาภาษาไทยผันตัวมาเป็นเจ้าของที่พัก “บ้านๆ น่านๆ” ที่มีจุดขาย คือ มีห้องสมุดไว้สำหรับหนอนหนังสือเป็นรายแรกของไทย