ผู้ผลิตต้องทำใจ ผู้ใช้ต้องระวัง วัตถุดิบหลักต่างขยับราคาขึ้นพรวด




        ตั้งแต่ปี 2563 สินค้าอุปโภคบริโภคบางรายการเติบโตขึ้นมากเพราะความต้องการของผู้บริโภคในช่วงโควิด-19 แต่เอาเข้าจริงบริษัทเหล่านี้กลับไม่สามารถสร้างรายได้หรือทำกำไรได้มากเท่าที่คิดเมื่อเทียบกับต้นทุนการผลิตที่พุ่งสูงขึ้น โดยเฉพาะสินค้าเหล่านี้

  • พลาสติก                  +200%
  • ถั่วเหลือง                 +60%
  • ข้าวสาลี (Wheat)     +10%
  • ข้าวโพด                   +67%
  • ไม้สำหรับแปรรูป      +200-300%

 



         ซึ่งราคาที่พุ่งสูงนั้นมาจาก 3 ปัจจัย นั่นก็คือ
 

         1. อัตราเงินเฟ้อ ราคาสินค้าจำนวนมากพุ่งขึ้นและคาดว่าจะยังคงสูงต่อเนื่องเพราะการหยุดชะงักของซัพพลายเชนทั่วโลกในช่วงการระบาด และเมื่อสถานการณ์คลี่คลายความต้องการของผู้บริโภคก็ฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็วจนเกินขีดความสามารถในการผลิต ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น บางสินค้าเพิ่มมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว
 


 

         2. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นความภักดีต่อแบรนด์ลดลง ต้องอยู่บ้านมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้บริโภค 25-40 เปอร์เซ็นต์ได้ลองใช้แบรนด์ใหม่ๆ ตั้งแต่โควิดเริ่มระบาด ซึ่งเห็นได้ว่าโปรโมชั่นมีความสำคัญในการดึงดูดให้ลูกค้าเปลี่ยนแบรนด์
 
 
         ขณะเดียวกันผู้ผลิตก็ต้องเปิดช่องทางออนไลน์ เพราะผู้บริโภคหันไปซื้อของทางนั้นมากขึ้น จะเห็นได้ว่าการค้าปลีกออนไลน์เติบโตมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ในบางหมวดหมู่
 

 

       3. ราคาตลาด จากข้อมูลของดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) สหรัฐอเมริกา แสดงให้เห็นว่าราคาอาหารสำเร็จรูปเพิ่มขึ้น 12 เปอร์เซ็นต์นับจากมกราคมปี 2555 ถึงมกราคม 2563 ซึ่งน้อยกว่าราคาสินค้าประเภทอื่นๆ ที่เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยถึง 17 เปอร์เซ็นต์
 
 
         จะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงของตลาดและผู้บริโภค ทำให้ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคต้องทบทวนกลยุทธ์กันใหม่ ทั้งการกำหนดราคา ลดต้นทุน ไปจนถึงตามให้ทันพฤติกรรมผู้บริโภค เพราะราคาก็เป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจซื้อ หากชะล่าใจไปแล้วล่ะก็ ผลิตสินค้าวางขายไปลูกค้าอาจจะส่ายหน้าเพราะแพงเกินไป
 

         ที่มา : www.mckinsey.com
 
 
 



www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน