แตกไลน์ธุรกิจยังไงให้รอดและรุ่ง ถอดกลยุทธ์อายิโนะโมะโต๊ะ แบรนด์อาหารกว่าร้อยปีหนีตายสู่ธุรกิจไอที

TEXT: วิมาลี วิวัฒนกุลพาณิชย์

 
 

        เมื่อเอ่ยถึงบริษัท “อายิโนะโมะโต๊ะ” เชื่อว่าเกือบทุกคนคงนึกถึงแบรนด์ผงชูรสซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ดังจากญี่ปุ่น แบรนด์ที่มีอายุเก่าแก่ถึง 112 ปีนี้ได้สร้างปรากฏการณ์ทำกำไรในช่วงการระบาดของโควิด-19 ทั้งที่ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหารที่บริษัทผลิต ไม่ว่าจะเป็นผงชูรส เครื่องเทศ หรือซอสต่างๆ ได้รับผลกระทบจากการที่อุตสาหกรรมร้านอาหารปิดบริการชั่วคราวหรือปิดกิจการจำนวนมาก
               

        อย่างไรก็ตาม การปรับตัวของอายิโนะโมโต๊ะในการหันมาจริงจังกับการผลิตฟิล์ม ABF (Ajinomoto Build-up Film) ซึ่งเป็นฉนวนไฟฟ้าของพื้นผิววงจรสำหรับหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) กลับกลายเป็นแหล่งรายได้สำคัญ และนำไปสู่ผลประกอบการที่กำไรในช่วงไตรมาสที่ 4 ที่ผ่านมา





       ชิเกโอะ นากามูระ หัวหน้าฝ่ายผลิตภัณฑ์เคมีของอายิโนะโมะโต๊ะให้สัมภาษณ์ว่าฟิล์ม ABF เป็นส่วนหนึ่งของชิปที่ติดตั้งภายในคอมพิวเตอร์เดสก์ท้อป และแล็ปท็อปที่ใช้งานทั่วไป ทำหน้าที่เชื่อมต่อชิปกับแผงวงจรหลัก และปกป้องเครื่องไม่ให้เกิดความเสียหาย นอกเหนือจากใช้งานในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ฟิล์ม ABF ยังเป็นส่วนประกอบในอุปกรณ์อื่นๆ อาทิ ดาวเทียม รถยนต์ไร้คนขับ และสถานีฐาน 5G อีกด้วย
               

       สิ่งที่เกิดขึ้นช่วงการระบาดของไวรัสโควิดคือความต้องการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีให้ดีกว่าเดิม ทำให้ชิปเป็นที่ต้องการมากขึ้นจนเกิดขาดตลาด ซึ่งหากอายิโนะโมะโต๊ะสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้รวดขึ้น ยอดขายฟิล์ม ABF ก็น่าจะมากกว่านี้มาก อย่างไรก็ดี ผลพวงของการมีธุรกิจสำรองได้ส่งให้หุ้นของอายิโนะโมะโต๊ะพุ่งสูงสุดในรอบ 5 ปี และในปีการเงินที่สิ้นสุดเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ธุรกิจรอง ได้แก่ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพก็ทำกำไรคิดเป็น 23 เปอร์เซ็นต์ของผลกำไรรวมจากการดำเนินการ
 


 
               
       เป็นเวลากว่า 100 ปีที่อายิโนะโมะโต๊ะได้ผลิตสินค้าเกี่ยวกับอาหาร รวมถึงเครื่องปรุงรสต่างๆ ซุปพร้อมปรุง ซุปผง ซุปก้อน และอาหารแช่แข็ง ย้อนกลับไปในอดีต บริษัทจะใช้เคมีสังเคราะห์เป็นส่วนผสมในอาหารเพื่อให้รสชาติแม่นยำในการผลิตคราวละมากๆ แต่ปัจจุบันหันมาใช้วัตถุดิบธรรมชาติ เช่น อ้อย และมันสำปะหลังในการผลิตเครื่องปรุงรส หลังจากที่หยุดในใช้เคมีสังเคราะห์ในปี 2516 ก็กลายเป็นจุดเริ่มต้นเริ่มของวิจัยพื้นฐานเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เคมีของกรดอะมิโนกับเรซินอีพ็อกซีและสารประกอบที่เคยเป็นส่วนผสมในเครื่องปรุงจนนำไปสู่การพัฒนาฉนวนขั้นสูงสำหรับพื้นผิวซีพียูในคอมพิวเตอร์ในที่สุด
               

          นั่นเป็นคำตอบที่ว่าอายิโนะโมะโต๊ะซึ่งเป็นผู้ผลิตอาหารได้เข้าสู่ธุรกิจเซมิคอนดัคเตอร์ได้อย่างไร เมื่อฟิล์ม ABF วางจำหน่ายในปี 2542 หรือเมื่อ 22 ปีที่แล้ว และมีลูกค้ารายแรกประเดิมอุดหนุน นับจากนั้นธุรกิจไฮเทคของอายิโนะโมะโต๊ะก็เติบโตอย่างรวดเร็ว แม้ไม่เปิดเผยว่าลูกค้าคือใครบ้าง แต่เชื่อว่าจะมีบริษัทอินเทล และบริษัทแอดวานซ์ ไมโคร ดีไวส์ (เอเอ็มดี) รวมอยู่ด้วย
               

         รายงานระบุยอดขายฟิล์ม ABF ช่วงปี 2008-2016 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะ แต่ไม่ใช่เกิดจากการใช้สมาร์ทโฟนอย่างแพร่หลาย แต่มาจากการใช้งานคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกอันเนื่องมาจากการศึกษา และการทำงานผ่านออนไลน์ ทำให้เกิดการสร้างศูนย์ข้อมูลสำหรับคลาวน์คอมพิวติงและสถานีฐานสำหรับเครือข่าย 5G



               

       นากามูระ ระ หัวหน้าฝ่ายผลิตภัณฑ์เคมีของอายิโนะโมะโต๊ะเผยว่าก่อนหน้านั้นลูกค้าบริษัทมีเพียงผู้ผลิตพีซี แต่ตอนนี้ฐานลูกค้าได้ขยายออกไปมากจนต้องเพิ่มกำลังการผลิตที่โรงงานในเขตกันมะ ทางเหนือของโตเกียว หนึ่งในลูกค้ารายใหญ่ได้แก่ บริษัทยูนิไมครอน ผู้ผลิตแผงวงจรพิมพ์จากไต้หวันที่มีแผนขยายการผลิตในช่วง 3 ปี ทำให้ยูนิไมครอนจองซื้อฟิล์ม ABF ของอายิโนะโมะโต๊ะยาวไปจนถึงปี 2568 คาดว่ายอดส่งออกฟิล์ม ABF จะเพิ่มเท่าตัวไปอีกหลายปีข้างหน้า
               

        ข้อมูลระบุหุ้นของอายิโนะโมะโต๊ะในช่วง 2 ปีครึ่งที่ผานมาพุ่งขึ้น 80 เปอร์เซ็นต์ บรรดานักลงทุนต่างโฟกัสไปที่ธุรกิจของบริษัทที่ไม่เกี่ยวข้องกับอาหาร โดยเน้นที่ฟิล์ม ABF รวมถึงผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภพ และเวชภัณฑ์ นักวิเคราะห์มองว่าในอีก 3 ปีข้าง ธุรกิจเหล่านี้จะสร้างกำไรราว 60 เปอร์เซ็นต์ของกำไรทั้งหมดของบริษัท  



              

         ตลอดเวลาที่ผ่านมา อายิโนะโมะโต๊ะพยายามแข่งขันกับเนสเล่ซึ่งเป็นผู้ผลิตอาหารยักษ์ใหญ่ระดับโลกโดยการซื้อกิจการบริษัทอาหารในประเทศต่างๆ อาทิ ตุรกี สหรัฐฯ และแอฟริกาใต้เพื่อเพิ่มยอดขายในตลาดต่างประเทศ แต่การลงทุนเหล่านั้นกลับไม่เป็นผลสักเท่าไร ทำให้ตัดสินใจปิดธุรกิจในต่างประเทศไปเกือบหมดในปี 2562
               

        ในตลาดเครื่องดื่มประเภทกาแฟ อายิโนะโมะโต๊ะยังเป็นรองเนสเล่ ในตลาดอาหารแช่แข็ง อายิโนะโมะโต๊ะก็ยังตามหลังนิชิเรอิ ผู้นำในตลาดญี่ปุ่น ขณะที่แผนกอาหารแห้ง นอกเหนือจากซุปคนอร์ก็ยังไม่มีอะไรแปลกใหม่เพิ่มเติม สำหรับตลาดต่างประเทศ บราซิล ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และไทยอาจเป็นตลาดทำเงิน แต่อายิโนะโมะโต๊ะก็เผชิญกับการแข่งขันที่สูงขึ้นจากบริษัทท้องถิ่น ส่งผลให้กำไรลดลงในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา
               

        อย่างไรก็ตาม นากามูระเผยว่าจะยังให้ความสำคัญกับทุกธุรกิจในเครือตั้งแต่การผลิตอาหารไปจนถึงธุรกิจเกี่ยวข้องกับไอที ความหลากหลายทางธุรกิจถือเป็นจุดแข็งของบริษัท ด้านมาโกะโตะ โมริตะ นักวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์ไดวะ ซีเคียวริตี้ส์ แสดงทัศนะว่าแต่ละบริษัทจำเป็นต้องทบทวนธุรกิจของบริษัทอยู่สม่ำเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาผู้ผลิตอาหารในญี่ปุ่นที่กำลังเผชิญกับความต้องการในตลาดที่ลดลงเนื่องจากการหดตัวของประชากรในประเทศ โมริตะแนะว่าเพื่อความอยู่รอดอย่างยั่งยืน อายิโนะโมะโต๊ะจะต้องสลับสับเปลี่ยนธุรกิจมากกว่านี้ดังเช่นบริษัทคู่แข่ง อย่าง เนสเล่ ดาน่อน และยูนิลีเวอร์กำลังทำ
 

       ที่มา : https://asia.nikkei.com/Business/Business-Spotlight/Century-old-food-giant-Ajinomoto-surprise-COVID-tech-boom-winner
 
 


 
 

ธุรกิจที่ใช้กลยุทธ์พลิกธุรกิจแล้วเอาตัวรอดมาก่อน นั่นก็คือ
 

  • ฟูจิฟิล์มเปลี่ยนจาก ธุรกิจกล้องและฟิล์มถ่ายรูป ไปสู่ ธุรกิจผลิตยาและเวชสำอาง
 
  • โอลิมปัสที่เคย ผลิตกล้องถ่ายรูป เป็นหลักแต่ปัจจุบันหันมาเอาดีด้านการ ผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น กล้องส่องอวัยวะภายในร่างกาย




 
 
 

 
www.smethailandclub.com
ศูนย์รวมข้อมูลธุรกิจเอสเอ็มอี

RECCOMMEND: ENTREPRENEUR

อย่างอาร์ต! MAMAD แบรนด์แฟชั่น X ศิลปะ วาดลวดลายสไตล์ Semi Abstract สร้างความแปลก ออกแบบ “ศิลปะที่สวมใส่ได้”

“Me As My Art Daily” ศิลปะคือส่วนหนึ่งของตัวตนเราในทุกวัน คือนิยามของแบรนด์แฟชั่นสุดอาร์ตอย่าง MAMAD ที่นำเอาศิลปะและแฟชั่นมาผสานกัน กลายเป็นกระเป๋า เสื้อผ้า และหมวกที่เต็มไปด้วยเอกลักษณ์ ความแปลกตา และสไตล์ที่ไม่ซ้ำใคร

Nyana Nyana Eco Fashion อดีตสถาปนิกนักสู้มะเร็ง สู่เจ้าของแบรนด์แฟชั่นออร์แกนิก เป็นมิตรต่อผู้สวมใส่ และสิ่งแวดล้อม

Nyana Nyana Eco Fashion แบรนด์แฟชั่นของอดีตสถาปนิกหญิงสิงคโปร์ที่ไม่ยอมแพ้ต่อโชคชะตา แม้พบว่าป่วยเป็นมะเร็ง แต่ “Clara Simanjuntak” กลับใช้เป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิต ทำสิ่งดีๆ รวมถึงการสร้างแบรนด์เสื้อผ้าจากผ้าออร์แกนิก

บ้านโอบอุ่น ธุรกิจเล็กๆ ของนักศึกษาพยาบาล ที่ทำให้คนแปลกหน้ากลายเป็นเพื่อนกัน

พาไปรู้จักบ้านโอบอุ่น ธุรกิจโฮมสเตย์เล็กๆ ที่ปลูกขึ้นกลางทุ่ง ของ อั้ม-พัชราภา อ่ำปั้นนักศึกษาพยาบาล ที่นั่งรถไฟจากพิษณุโลกไปเชียงดาวทุกสัปดาห์เพื่อมาทำโฮมสเตย์เล็กๆ ที่เปลี่ยนคนแปลกหน้าให้กลายเป็นเพื่อนกัน